กิจกรรม

เสวนา " แสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่าง ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ............

by wanna @August,19 2010 10.56 ( IP : 202...245 ) | Tags : กิจกรรม
  • photo  , 392x294 pixel , 53,971 bytes.
  • photo  , 392x294 pixel , 51,159 bytes.
  • photo  , 392x294 pixel , 54,250 bytes.
  • photo  , 392x294 pixel , 48,745 bytes.
  • photo  , 444x592 pixel , 66,162 bytes.
  • photo  , 392x294 pixel , 59,862 bytes.
  • photo  , 444x592 pixel , 67,367 bytes.
  • photo  , 392x294 pixel , 46,858 bytes.
  • photo  , 444x592 pixel , 58,431 bytes.

"ผู้เกี่ยวข้องรู้น้อย ส่งผลให้ตีความต่าง ปัญหาร่างเลยไปกันใหญ่"

กิจกรรมเสวนาร่วม : แสวงหาจุดร่วม สงวนจุดร่วม ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.... เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ที่ผ่านมา เวลา 13.00-16.30 น. ณ ห้อง ข-ลา โรงแรมเอเชี่ยน หาดใหญ่ จัดโดย สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ (สจรส.มอ.)  แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คคส.) และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค มีผู้เข้าร่วมประมาณ 50 คน บรรยากาศในงานนี้ค่อนข้างคึกคักเนื่องจากเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ
เริ่มต้นด้วยการนำเสนอ ภาพรวมและเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ฉบับนี้โดย นายแพทย์พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สจรส.มอ.) ที่กล่าวถึงหลักการและเหตุผล ที่มาของร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯว่า
1.สืบเนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับคนไข้แปรเปลี่ยนไป เป็นแพทย์เชิงพานิชย์ แนวคิดเรื่องสิทธิและการคุ้มครองผู้บริโภค ภาระงานและข้อจำกัดเรื่องการสื่อสารกับคนไข้ ส่งผลให้สถานการณ์การฟ้องร้องมากขึ้น ความเสียหายส่วนใหญ่มาจากปัญหา เรื่อง ระบบมากกว่าความประมาทเลินเล่อของบุคลากร(แม้จะมีระบบบริการดีเลิศแล้ว)

2.ระบบเยียวยาในปัจจุบัน(ยกเว้น มาตรา 41) จะกระทำได้ต้องมีการพิสูจน์ความรับผิด ต้องฟ้องร้องทางแพ่งและอาญาเท่านั้น โดยกระบวนการดังกล่าวต้องใช้เวลาที่ยาวนานและต้นทุนสูง และมีการสร้างสันนิษฐานว่า หากมีการช่วยเหลือแสดงว่า มีการกระทำความผิด

หากปล่อยให้สถานการณ์การฟ้องร้องมากขึ้นอย่างนี้ ย่อมส่งผลให้เกิดความแตกแยกมากขึ้นระหว่างคนไข้กับแพทย์ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการพัฒนากลไกบางอย่างออกมาโดยมีหลักสำคัญ คือ
เน้น ความรวดเร็ว ไม่คำนึงถูก-ผิดไม่ต้องไปใช้กฎหมายแพ่ง ให้ครอบคลุมเหตุสุดวิสัย –ความผิดพลาดด้วย ยกเว้น การตายเนื่องจากสาเหตุพยาธิสภาพของโรค
3.สำหรับการชดเชยจะมีการจัดตั้ง กองทุนชดเชยเยียวยา ซึ่งจะมีแหล่งที่มาของเงิน อันประกอบด้วย เงินสมทบจากสถานพยาบาลเอกชน เงินสมทบจากสถานพยาบาลของรัฐและสภากาชาดไทย เงินสมทบจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 41 (ถ่ายโอนมายังกองทุนใหม่) ซึ่งอัตราเงินทดแทนจะมีความสัมพันธ์กับความเสียหาย ที่ผ่านมาพัฒนาการของร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ถูกปรับเปลี่ยนมาเป็นระยะ  เช่นการเพิ่มกลไกไกล่เกลี่ยเข้ามา การเปลี่ยนชื่อของร่าง พ.ร.บ. องค์ประกอบของคณะกรรมการ หลักในการยกเว้นความรับผิดชอบ

อ.ชะโลม เกตุจินดา ผู้แทนภาคประชาชนจังหวัดสงขลา

การมี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯมีแนวความคิดมาจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มาเป็นฐานคิด พัฒนาการจนกระทั่งในปัจจุบันที่ผ่านมา เรามีกลไกเยียวยาบางส่วน คือ มาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ก็ขาดความครอบคลุม และยังมีอีกหลายร่างกฎหมายที่รอการผลักดัน เช่น ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข

ที่ผ่านมามีกรณีศึกษาที่ดีด้านการเยียวยาผู้ป่วย เช่น ขอนแก่นโมเดลที่ช่วยเหลือเยียวยาคนไข้ที่ตาบอด เนื่องจากการเข้ารับการผ่าตัดตา

ความเข้าใจผิดและความขัดแย้งที่ผ่านมา คือ การที่หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ได้อ่านและศึกษารายละเอียดของเนื้อหาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ

นพ.อมร รอดคล้าย จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 12 จ.สงขลา

การที่มาคุยกัน ถือเป็นโอกาสในการเรียนรู้และทำความเข้าใจกัน แต่ก่อนอื่นตอนนี้ทุกฝ่ายเป็นทุกข์จากระบบ แต่สิ่งที่อยากให้ภาคประชาชนนำเสนอคือ พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาวะ ให้เป็นร่าง พ.ร.บ.เดียว อันจะสามารถครอบคลุมทุกคน  ความเป็นจริงการที่มี มาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ส่งผลให้ผู้ให้บริการไม่ทุกข์ แต่เนื้อหาของ มาตรา 41 นั้นยังใช้ไม่หมด

ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯมีเนื้อหาความยาวมาก ย่อมส่งผลต่อความคลาดเคลื่อน ย่อมมีมากขึ้น น่าจะมีการยกร่างเพิ่มเติมให้ครอบคลุมมากขึ้นกว่านี้ โดยมีผลครอบคลุมสิทธิของด้านอื่นด้วย เช่น ราชการ ประกันสังคม เป็นต้น

สำหรับมุมมองของ นายแพทย์อมร รอดคล้าย มองเห็นว่า ควรต้องรับฟังทุกเสียงสะท้อนจากผู้รับบริการและผู้ให้บริการ มองหาสาเหตุของปัญหา แก้ไขที่สาเหตุของปัญหาก่อนในมุมมองเห็นว่า ต้องแก้ไขที่การปฏิรูประบบสาธารณสุข ต้องทำความเข้าใจอย่างรอบด้าน

นายแพทย์เพิ่มบุญ จากโรงพยาบาลสงขลา

ได้กล่าวแสดงความคิดเห็นเรื่อง ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ โดยกล่าวถึง มาตรา 7 ในเรื่องสัดส่วนและที่มาของคณะกรรมการเยียวยา การตัดสินต้องอาศัยความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ คำถามคือ “เชี่ยวชาญจริงหรือเปล่า”
มาตรา 25 เรื่องอายุความในการของเยียวยาความเสียหายที่กำหนด 3 ปี นับตั้งแต่รู้ความเสียหาย แต่ไม่เกิน 10 ปี ตั้งแต่เกิดความเสียหาย ขอตั้งข้อสังเกตว่า การจะรับรู้อาจต้องใช้เวลานานมากก็ได้ ส่งผลให้การเก็บเวชระเบียน ที่ต้องมีระบบเก็บรักษาที่ดี ในมุมมองของนายแพทย์เพิ่มบุญ รู้สึกว่า การมองคนไข้เปลี่ยนไป ความไม่วางใจหมอมีมากขึ้น รู้สึกท้อแท้ ขณะนี้ โรงพยาบาลชุมชนจะพยายามหลีกเลี่ยงการรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ พยายามส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลจังหวัด เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยง

อยากเห็นคนออกกฎหมาย ออกกฎหมายดีๆๆ...ไม่ทำลายจิตวิญญาณของคนให้บริการ อีกประเด็นที่ หมอเพิ่มบุญให้ความเห็นไว้น่าสนใจและแสดงความห่วงใย คือ ความโปร่งใสในการบริหารงานกองทุน

นายแพทย์ธรนินทร์ โรงพยาบาลหาดใหญ่

หากยังคงยืนยันในหลักการที่ว่า “เยียวยาผู้รับบริการ และสร้างความสัมพันธ์อันดีของผู้ให้บริการ ” ดังนั้น ควรให้ความสมดุลของเนื้อหากฎหมายที่ต้องมีบทบาทส่งเสริมทั้งสองส่วน เช่น หากเข้าสู่หลักเกณฑ์ของร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ก็ต้องให้การฟ้องร้องสิ้นสุดลง

ชื่อกฎหมาย ก็เห็นว่าไม่เป็นมงคลแล้ว ไม่ควรดูทีละมาตรา เพราะจะส่งผลให้ทะเลาะกัน โดยส่วนตัวเคยเป็นกรรมการตาม ม.41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เห็นว่าแนวโน้มการฟ้องร้องจะไม่ลดลง รัฐบาลอาจทำหน้าที่จ่ายเงินในช่วง 5 ปีแรกหากมีการบังคับใช้ มองเห็นว่าเป็นลักษณะสังคมสงเคราะห์ โดยตั้งเพดานให้รัฐเป็นคนจ่าย คณะกรรมการควรเป็นคนนอก เพื่อลดการมีส่วนได้เสีย ในส่วนเรื่องความรู้ทางเทคนิคนั้นเห็นว่า สามารถตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ความเห็นได้ ในส่วนตัวเห็นว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้มีการหมกเม็ดมาตั้งแต่ต้น

อาจารย์ นงนุช คณะพยาบาลศาสตร์

ขณะนี้กลายเป็นการทะเลาะกันอยู่ระหว่างผู้รับบริการ-ผู้ให้บริการ ขอตั้งข้อสังเกตว่า กลไกที่กำลังจะสร้าง

ขึ้นนี้จะสามารถสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้เสียหายได้จริงหรือ

ความโปร่งใสในการบริหารงบประมาณของกองทุน

อัยการเลอศักดิ์ ดุกสุกแก้ว รองอัยการสำนักงานอัยการจังหวัดสงขลา

ในเวทีวันนี้อยากเห็นประชาชนผู้เข้าร่วมเวทีได้ซักถามโต้แย้งในทีละประเด็นในมุมมองของอัยการ คิดว่า กฎหมายที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภค ผู้รับบริการมาก คือ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ซึ่งเริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2551 ที่ผ่านมา  ซึ่งกฎหมายตัวนี้แพทย์จะถูกฟ้องมากกขึ้น ง่ายขึ้น ส่งผลให้แพทย์ไม่ปลื้ม

พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯฉบับนี้จะเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยหมอ หลายคนที่กังวลในเรื่องสัดส่วนของคณะกรรมการนั้น ก็เห็นว่าสามารถไปว่ากันได้ในภายหลังว่าจะมีสัดส่วนเท่าไร

มาตรา 25 ที่กำหนดเรื่อง อายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้นั้น คือ  3 ปีนับตั้งแต่รู้ความเสียหายแต่ไม่เกิน 10 ปีนับแต่ความเสียหายเกิดขึ้น หลายท่านกลัวเรื่อง การเก็บเวชระเบียน ซึ่งในเรื่องนี้มิใช่สาระสำคัญของปัญหา

หากมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมส่งผลดีต่อการพิจารณาลงโทษของศาลได้ ในส่วนหลักเกณฑ์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่ยังไม่ชัดเจน ในขณะที่ภาคประชาชนเห็นว่า การมีกระบวนการไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความ อาจส่งผลต่อการเยียวยาได้

อาจารย์จุมพล ชื่นจิตต์สิริ อาจารย์คณะนิติศาสตร์

ได้ให้ความเห็นและตั้งคำถามต่อร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯว่า

1.ควรมองและแก้ไขที่สาเหตุของความผิดพลาด

2.ขณะนี้เรามีกลไกที่เพียงพอแล้วหรือไม่ต่อการเยียวยาปัญหาทางการแพทย์ที่มันผิดพลาด

3.ควรทำความเข้าใจของสภาวิชาชีพว่า ที่ผ่านมาหมอถูกฟ้อง หรือ หน่วยงานถูกฟ้อง

4.ในส่วนตัวเห็นว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากเหตุสุดวิสัย ที่ผู้ป่วยฟ้องส่วนมากน่าจะมีปัญหาจากส่วนบุคคลมากกว่า

สรุปภาพรวมของการเสวนา

ได้เห็นมิติของการถกเถียงกัน แสดงเหตุผล จุดยืนของแพทย์ที่ยืนยันท่ามกลางเวทีคือ ไม่มีการล้มร่าง พ.ร.บ.นี้แน่นอน แม้แพทย์จะมาร่วมเวทีน้อยกว่าภาคประชาชน ส่วนแนวทางการขับเคลื่อน ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้คือ

1.ควรมีเวทีแสดงความคิดเห็นแบบนี้หลายครั้ง แต่ต้องเป็นเวทีที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มิได้เป็นเวทีของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากเกินไป

2.การพูดคุยควรเน้นประเด็น เนื้อหาของกฎหมายที่มีความไม่ไว้วางใจ หรืออาจส่งผลกระทบในเชิงลบ

3.แต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องมีส่วนได้เสียกับร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ต้องมีที่ปรึกษาด้านความรู้ด้านข้อกฎหมาย เพื่อลดความเป็นมิจฉาทิฐฐิจากความเข้าใจไม่ถูกต้อง

สรุปประเด็นโดย เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ ผู้ประสานงานวิชาการศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสงขลา

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง