ไทยโพสต์แทบลอยด์ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 1 ส.ค.
บทสัมภาษณ์อาจารย์แพทย์จากภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ส่งข้อความถึงเพื่อนร่วมวิชาชีพที่ออกมาต่อต้าน พ.ร.บ. ค้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากบริการสาธารณสุข ว่าแพทย์หมดเกียรติยศศักดิ์ศรีขนาดนั้นแล้วหรือ? โดยเขาระบุว่ากรณีนี้จะโทษบุคลากรอย่างเดียวไม่ได้แต่ต้องโทษคนที่ให้ข้อมูลไม่หมด
หมายเหตุ เนื่องจากเห็นว่าเป็นบทสัมภาษณ์ที่ช่วยเพิ่มความเข้าใจประเด็น พรบ. คุ้มครองผู้เสยหายจากบริการสาธารณสุขซึ่งกำลังเป็นที่ถกเถีงกันอยู่ขณะนี้ ประชาไทจึงนำมาเผยแพร่ซ้ำโดยได้รับการอนุญาตจากผู้สัมภาษณ์
“ถามว่าได้อ่านกฎหมายไหมเขาบอกว่ามันไม่ดีเราก็เชื่อเขาเราก็ไปตามเขา เป็นกระแสมันกลายเป็นว่าหมอไม่ได้ดูหลักฐานความเป็นจริงเลยว่าอะไรคือข้อเท็จจริงเราใช้วิธีฟังต่อๆกันมามันกลายเป็นหลักกาลามสูตรคือเขาเล่าต่อๆกันมาก็เชื่อตรรกะมันเป็นไปได้ตามที่เขาเล่าก็เชื่อแพทยสภาออกมาพูดคนฟังดูน่าเชื่อถือก็เชื่อมันกลายเป็นอย่างนั้นไป...เราต้องถอดบทเรียนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตอนนี้ว่าตกลงวิชาชีพแพทย์เกิดอะไรขึ้นหรือมีความคิดอะไรเบื้องหลังสิ่งเหล่านี้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผมว่ามันมีสองส่วนส่วนหนึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติเขาบริสุทธิ์ใจเขามีความเชื่ออย่างนั้นจริงๆแต่อีกส่วนมันเกิดขึ้นด้วยmanipulateถูกกระตุ้นโดยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด”
“โทษบุคลากรไม่ได้ต้องโทษคนที่ให้ข้อมูลทำไมคนให้ข้อมูลให้ข้อมูลไม่หมดต้องให้ข้อมูลให้หมดว่าพ.ร.บ.นี้เกิดมาเมื่อ11เดือนที่แล้วตั้งแต่เข้ากฤษฏีกาวันแรกประเด็นอะไรเขาต้องถกกันทุกมาตรามาแล้วถึงตอนนี้แพ้โหวตเขาแล้วค่อยออกมามันเสียหายกับวงการวิชาชีพ...เมื่อมีกฎหมายฉบับนี้มันจะเกิดระบบfeedbackเมื่อเกิดปัญหาอย่างนี้โรงเรียนแพทย์จะช่วยเหลืออย่างไรกระทรวงฯต้องปรับปรุงอะไรฉะนั้นเขามองกว้างมองถึงระบบfeedbackที่จะทำให้เราพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขตามปัญหาที่เกิดขึ้นปัญหาก็จะค่อยๆลดลงเคสเก่าจะต้องไม่เกิดซ้ำ”
ในที่สุดร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขที่เดิมจะเข้าสู่สภาฯ ในเดือนนี้ก็มีอันต้องเลื่อนออกไปทั้งๆที่ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้คณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีการตรวจสอบพิจารณาอย่างต่อเนื่องมาเกือบปีแล้วโดยแพทยสภาเองก็ส่งตัวแทนเข้าไปติดตามให้ความเห็นร่วมมาโดยตลอด กระแสคัดค้านในห้วงเวลานี้ของบุคลาการทางการแพทย์(บางกลุ่ม)จึงถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นเพราะการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาชุดใหม่กำลังจะมีขึ้นในเร็วๆนี้หรือไม่
บุคลาการในวิชาชีพแพทย์กำลังตั้งคำถามกับกฎหมายฉบับนี้แต่ขณะเดียวกันสังคมก็ตั้งคำถามกลับไปเช่นกันว่านี่คือการเคลื่อนไหวเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองมากเกินไปหรือเปล่าเพราะหลักการของพระราชบัญญัติฉบับนี้มุ่งเน้นชดเชยความเสียหายให้แก่ผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์-ผู้ป่วยและพัฒนาระบบบริการรักษาพยาบาล
ที่น่ากังขามากไปกว่านั้นก็คือวิธีการแสดงออกต่อสาธารณะกระทั่งเพื่อนร่วมอาชีพด้วยกันเองอย่าง นพ.สุธีร์ รัตนมงคลกุล อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ ยังต้องส่งอีเมล์ถึงเพื่อนพ้องน้องพี่ในวิชาชีพเพื่อกระตุ้นเตือนว่านี่เราหมดเกียรติยศศักดิ์ศรีขนาดนั้นแล้วหรือ? กับดัก'มาตรฐาน'
"ก็รู้ว่าอาทิตย์นี้มันจะเกิดเหตุการณ์กระแสคัดค้านเกิดขึ้นเราก็คิดว่าถ้าอย่างน้อยเป็นการเตือนสติคนได้ก็นั่งเขียนตั้งแต่5ทุ่มและก็มาเขียนต่อตอน6โมงเช้าส่งไปสักร้อยกว่าเมล์"
สงสัยว่าเอาลิสต์รายชื่อจากไหน
"ก็listที่คุณหมอเชิดชู (แพทย์หญิงเชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานสมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแห่งประเทศไทย) เขาส่งเมล์ไปหาคนอื่นแล้วมันก็ติดมาถึงผมด้วยผมก็เอารายชื่อนั้นแหละส่งกลับไป"
ย้อนศรเลยนะนั่นหลังจากนั้นมีเมล์กลับมาต่อว่าแรงๆไหม
"ไม่มีเขาคงเห็นว่าเป็นอาจารย์มีแต่บอกว่าก็อาจารย์เป็นหมอด้านป้องกันโรคนี่วันๆ ไม่รับรู้ถึงสภาพที่เขาดูแลคนไข้เยอะๆแต่ว่าอย่างน้อยมันก็มีหมอที่ออกมาพูดเหตุผลที่ผมออกมาพูดก็คือว่าอย่างน้อยก็มีเสียงหนึ่งในวิชาชีพนะไม่ใช่ว่าคนทั้งวิชาชีพเฮโลเห็นไปอย่างนั้นทั้งหมดก็มีคนส่งอีเมล์ว่าระวังจะตกเป็นเครื่องมือของใคร (หัวเราะ) แต่เราวิเคราะห์ศึกษาพ.ร.บ.แล้วดูข้อที่เขาคัดค้านว่ามันมีคำอธิบายยังไง"
ย้อนไปหลายปีก่อนหมอสุธีร์ก็เป็นคนหนึ่งที่คัดค้านมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ "ตอนนั้นยังเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนก็เกิดเหตุการณ์อย่างนี้ตอนออกมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพก็ลงชื่อคัดค้านกับเขาด้วยแต่ตอนนั้นถามว่าหลายๆคนได้อ่านกฎหมายไหมก็ไม่ได้ อ่านไม่ได้รู้เรื่องรู้ราวอะไรเขาบอกว่ามันไม่ดีเราก็เชื่อเขาเราก็ไปตามเขาเป็นกระแสมันกลายเป็นว่าพวกหมอไม่ได้ดูหลักฐานความเป็นจริงเลยว่าอะไรคือข้อเท็จจริงเราใช้วิธีฟังต่อๆกันมามันกลายเป็นหลักกาลามสูตรคือเขาเล่าต่อๆกันมาก็เชื่อตรรกะมันเป็นไปได้ตามที่เขาเล่าก็เชื่อ
แพทยสภาออกมาพูดคนฟังดูน่าเชื่อถือก็เชื่อมันกลายเป็นอย่างนั้นไปเลยรู้สึกเศร้าใจกับวิชาชีพ" เหตุผลที่หมอออกมาคัดค้านมาตรา 41 ก็เพราะกลัวถูกคนไข้ฟ้อง "ผมว่าพวกหมอเป็นอาชีพที่ชื่อเสียงเป็นอะไรที่สำคัญมากกับวิชาชีพค่อนข้างจะ sensitive กับชื่อเสียงพอมาเจอว่าเมื่อไหร่คุณโดนฟ้องเมื่อนั้นชื่อเสยงคุณเสียหายอันนี้คือพื้นฐานและก็จะต้องไม่รู้สึกผิดอะไรแบบนี้ที่จริงแพทย์ก็มีโอกาสทำพลาดผมว่าทุกๆคนแหละไม่เฉพาะวิชาชีพแพทย์ความผิดพลาดมันผิดพลาดด้วยจงใจด้วยเผอเรอผิดพลาดด้วยระบบมันมีสาเหตุหลายๆอย่าง" แต่ก็พิสูจน์แล้วการฟ้องร้องไม่ได้เพิ่มขึ้น
"ใช่และคนไข้ก็ไม่ได้มาฟ้องร้องเพื่อเอาเงินเอาทองตรงนี้เลยผมว่าเราต้องถอดบทเรียนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตอนนี้ว่าเอ๊ะตกลงวิชาชีพแพทย์เกิดอะไรขึ้นหรือมีความคิดอะไรเบื้องหลังสิ่งเหล่านี้คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผมว่ามันมีสองส่วนส่วนหนึ่งมันเกิดขึ้นโดยธรรมชาติด้วยความรู้สึกที่เกิดขึ้นจริงๆแต่อีกส่วนก็คือมันเกิดขึ้นด้วยmanipulateไปทำให้เกิดการกระตุ้นส่วนหนึ่งเขาบริสุทธิ์ใจ เขามีความเชื่ออย่างนั้นจริงๆแต่อีกส่วนคือถูกกระตุ้นโดยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดซึ่งผมคิดว่าสังคมคงพอรู้คือคนที่เขาไปทำกฎหมายนี้แพทยสภาก็เข้าไปกระทรวงฯก็เข้าไปนักวิชาการก็ไปผ่านมาเกือบปีแล้วแต่ทำไมไม่เอามาเปิดเผยข้อมูลกับชาวบ้านจู่ๆวันดีคืนดีพอสู้กับเขาไม่ได้ในกฤษฎีกาก็เอาเรื่องนี้ออกมาคล้ายๆมาฟ้องประชาชนมาหาพวกมาสร้างกระแสก็ไม่อยากเรียกว่าขี้แพ้ชวนตี"
"ผมก็รู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์นี้ที่แพทย์ออกมาแต่งดำมันรู้สึกว่าวิชาชีพเราไม่ควรจะมาทำอะไรแบบนี้คือคนที่สังคมยอมรับพูดคำเดียวสังคมจะหยุดฟังฉะนั้นถ้าเราเชื่อว่าวิชาชีพเราบริสุทธิ์วิชาชีพเราเป็นที่เคารพนับถือเราก็น่าจะใช้วิธีที่เป็นบวกจัดสัมมนาจัดเสวนาวิชาการเอาประเด็นมาถกเถียงกัน ผมว่ามันจะทำให้ถึงจุดสุดท้ายแล้วคนจะฟังวิธีแต่งดำแบบนี้มันเป็นการเอา pressure ทางสังคมออก มาเพื่อหวังว่าคนที่เป็นคนออกกฎหมายจะฟังแต่ถ้าเรื่องนี้ถ้านักการเมืองไม่เล่นการเมืองจนเกินไป ผมว่าเขาก็ต้องฟังเหตุฟังผลและก็ดูว่าอะไรเป็นอะไร"
"ในฐานะที่เป็นอาจารย์แพทย์ต้องกลับมามองแล้วปรากฏการณ์แบบนี้และเราสอนลูกศิษย์ผลิตลูกศิษย์ไปแล้วไปเย้วๆแบบนี้ในอนาคตวงการแพทย์จะเป็นยังไงอีกอย่างผมเปรียบเทียบว่าเมื่อเราใช้ยาว แรงพอจะถอยว่าเอ้าเรามาจัดสัมนาคงไม่มีใครเขามาแล้วเมื่อทำอะไรแรงไปแล้วพอทำอะไรเบาๆ สังคมก็ไม่หันมาฟังแล้วคือถ้าหมอด้วยกันเขามองรู้ว่านี่มันไม่ใช่วิสัยของแพทย์ที่จะออกมาประท้วงกันออกนี้มันเป็น well organize มากไป"
กระบวนการให้ข้อมูลกับบุคลากรแพทยสภาควรจะทำนานแล้วไม่ใช่เวลานี้ "และมาปลุกกระแสตอนนี้เขาก็ไม่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับชาวบ้านกับหมอที่ผมส่งอีเมลล์ผมก็ร่อนไป ตาม maillist ผมก็ไม่รู้จักใครเขาก็ตอบกลับมาเหมือนกันเขาบอกว่าทำไมไม่ชะลอไปล่ะจู่ๆก็ เข้ามาไม่รับฟังความคิดเห็นเลยผมก็ยังไม่มีเวลาตอบกลับเขาไปว่าเรื่องมันไม่ใช่เพิ่งเกิดมันเกิดมาเกือบปีแล้วคนเกี่ยวข้องทำไมถึงไม่ทำหน้าที่แพทยสภาก็ไปให้ข้อมูลคุณก็ไม่สามารถ convince กฤษฎีกาให้มีน้ำหนักมากพอที่จะเชื่อแล้วทำไมเพิ่งจะมาทำตอนนี้"
เมล์ที่ส่งกลับมาชี้ชัดว่าบุคลากรทางการแพทย์เองก็ไม่รู้ถึงรายละเอียดในกฎหมาย
"ผมว่าไปโทษบุคลากรไม่ได้ต้องโทษคนที่ให้ข้อมูลทำไมคนให้ข้อมูลให้ข้อมูลไม่หมดต้องให้ข้อมูลให้หมดว่าพ.ร.บ.นี้เกิดมาเมื่อ11 เดือนที่แล้วตั้งแต่เข้ากฤษฏีกาวันแรกประเด็นอะไร คือ เขาคงต้องถกกันทุกมาตราและบางมาตรามี วรรค1 วรรค2 วรรค3 ก็ต้องไล่กันที่ละวรรคไปเลยทำไมไม่เอาตั้งแต่ตอนนั้นมาถึงตอนนี้แพ้โหวตเขาแล้วค่อยๆออกมามันเสียหายกับวงการวิชาชีพถ้าเทียบกัน
เมื่อเห็นข่าวกลุ่มหนึ่งแต่งดำเผาดอกไม้จันทร์อีกกลุ่มหนึ่งมาจุดเทียนเข้าพรรษามันคนละ feeling กันเลยคุณแต่งชุดขาวเป็นแพทย์แต่ว่าจิตใจทำไมคิดในเชิงลบอีกกลุ่มหนึ่งเขาเรียกร้องเชิงสัญลักษณ์ มีแสงสว่างมันเป็นภาพบวกผมดูข่าวแล้วมัน contrast กันมากมันสะท้อนอะไรผมเลยคิดว่าแพทย์เราไม่ได้สอนเรื่องการคิดแบบเชิงวิพากษ์วิเคราะห์กันหรือเปล่าเราก็เลยเชื่ออะไรแบบเชื่อตามๆกัน"
"บุคลาการแพทย์ถือว่ามีต้นทุนทางสังคมสูงวิธีนี้เหมือนพวกเรากำลังเลียนแบบภาพใหญ่ในสังคมที่สู้ในสภาไม่ได้แล้วก็ลงมาสู่บนท้องถนนมันสะท้อนใจและมันไม่ครจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้เลยถ้าคุณวุฒิภาวะที่ดีคุณก็ต้องต่อสู้แบบนักวิชาการแบบผู้ที่มีบารมีทางสังคมจัดเวทีวิชาการเอามาวิพากษ์ทีละประเด็นๆและก็ convince ว่าประเด็นนี่นะร่างของรัฐบาลมีปัญหาเพราะอย่างนี้ๆมีหลักฐานอย่างนี้ๆเอาตัวเลขเอาข้อมูลมาว่ากันที่ผ่านมาต่างประเทศเป็นยังไงประเทศเราเป็นยังไงมันไม่มีข้อมูลอันนี้ตอนนี้มันใช้อารมณ์อย่างเดียวเลยผมอยากยกตัวอย่างทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาของ อ.ประเวศ มันมีองค์ความรู้มีกฎระเบียบและก็การเคลื่อนไหวทางสังคมเวลานี้เขาใช้แค่มุมเดียวหวังว่าการเคลื่อนไหวทางสังคมจะไปสร้างผลกระทบและไม่ให้ พ.ร.บ.นี้เกิดที่จริงแล้วการเคลื่อนไหวอะไรก็แล้วแต่มันต้องมีมุมฐานความรู้มันจะต้องแข็งก่อนคุณถึงจะเอามุมฐานความรู้ไปเคลื่อนทางด้านประชาชนและก็ไปเคลื่อนทางด้านนโยบายถ้ามันไม่มีพื้นฐานมุมของความรู้มันจะเคลื่อนไม่ออกแนวร่วมมันน้อยและเคลื่อนไปก็จะตันพอฝ่ายหนึ่งพอเขาดต้กลับมาก็เถียงเขาไม่ออกมันก็จะกลายเป็นใช้อารมณ์และสุดท้ายมันจะกลายเป็นความแตกแยกในสังคมระหว่างวิชาชีพกับคนไข้ผมก็เชื่อว่าคนที่ออกมาไม่ได้เยอะหรอกครับแต่พูดอย่างนั้นก็ไม่เชิงถ้าเรามองทฤษฎีภูเขาน้ำแข็งมันอาจจะเป็นยอดภูเขาน้ำแข็งเราก็ไม่รู้แต่ก็มีอีกส่วนหนึ่งที่เขาเมลล์กลับมาว่าอ้าวเหรอไม่เห็นรู้เลยว่ามันมีตั้ง 6-7 ร่าง คือ เขาไม่รู้แบล็คกราวน์เขาเลยตอบกลับมาว่าขอบคุณที่ส่งข้อมูลให้เขารู้"
หมอสุธีร์ชี้ว่าหากได้ศึกษากฎหมายให้ละเอียดจะพบว่าประเด็นที่ยกมาคัดค้านมีคำตอบทุกประเด็น "มันตอบได้ทุกประเด็นเลยและหลายฝ่ายก้ได้ตอบไปหลายครั้งแล้วด้วยมีประเด็นหนึ่งที่ตอบไม่ได้แต่ไม่ใช่ความผิดของฝ่ายมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์คือในมาตรา 6 เขาระบุว่าความเสียหาย พ.ร.บ.นี้ จะไม่จ่ายในกรณีต่อไปก็คือในกรณีที่มันเกิดขึ้นโดยธรรมชาติอย่างคุณเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายมันก็ต้องเสียชีวิตอย่างนี้มันเป็นธรรมชาติไม่ต้องจ่าย ข้อที่สองก็คือหลีกเลี่ยงมิได้จากการให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพก็อย่างคนไข้น้ำคร่ำขึ้นสมองเราบริการถูกต้องแล้วแต่ก็ยังเกิดอยู่อีกอย่างนี้เขาจะไม่จ่ายแต่พอเขียนตรงนี้ขึ้นปุ๊บพอแพทย์ได้ยินคำว่ามาตรฐานว่าชีพเมื่อไหร่เมื่อนั้นแพทย์รู้สึกว่าเฮ้ยเขาจะมาตรวจสอบเราหรือเปล่าว่าเราเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพไหมคนจะมานั่งเพ่งเล็งหรือเปล่าพอเจอข้อนี้ปุ๊บก็รู้สึกว่าเป็นข้อที่sensitiveซึ่งจริงๆแล้วมาตรานี้ในร่างของภาคประชาชนที่เสนอไปเขาไม่ได้ต้องการข้อนี้เพราะว่าถ้าใส่ข้อนี้มาก็ต้องไปนั่งพิสูจน์กันหมอก็ ต้องdefendว่าฉันเป็นไปตามมาตรฐานคนไข้ก็บอกว่าไม่เป็นตามมาตรฐานข้อนี้ในร่างอีก 5-6 ฉบับก็ไม่มีข้อนี้แพทยสภาเป็นคนใส่เข้าไปเองซึ่งเป็นอะไรที่น่าเศร้าและแพทยสภาก็เอาข้อนี้ไปขายเอาไปโฆษณาว่าคุณต้องเป็นไปตามมาตรฐานซึ่งมันบิดเบือนเขาไม่ได้ต้องการเขาอยากได้แค่ no – fault claim คือผิดถูกไม่สนใจเมื่อมีความเสียหายสำหรับฝ่ายที่คัดค้านมาตรา 6 มันเป็นคำที่แรงมากนะคำว่ามาตรฐานพอเป็นเรื่องเกียรติยศศักดิ์เลยสู้กันจนไม่ลืมหูลืมตา"
อย่างนี้แพทยสภาก็วางยาน่ะสิ
"อันนี้คุณพูดเองนะ(หัวเราะ) ลองดูร่างของคนอื่นสิครับและผมมาดูมันก็ใช่ด้วยที่เขาบอกว่ามันไม่มีข้อนี้ใส่ไปและแพทยสภาใส่ไปทำไมแพทยสภาไปบอกให้กฤษฎีกาใส่และก็กลายเป็นข้อที่จุดชนวน คือ ข้ออื่นผมไม่คิดว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นมันมีข้อนี้ข้อเดียวที่เราบอกว่าเป็น no – fault claim และเมื่อมีข้อนี้มันไม่ใช่ no – fault แล้วมันก็คือผิดถูกจริงๆแล้วคำว่าตามมาตรฐานมันก็ไม่ใช่ว่าต้องผิดเสมอไปอย่างเช่นบอกว่าอ้าวทำไมคุณไม่ให้น้ำเกลือล่ะบอกว่าตามมาตรฐานต้องให้น้ำเกลือเราก็บอกจริงๆแล้วคนไข้ตอนนี้น้ำมันเกินอยู่เราก็ไม่ให้คำว่ามาตรฐานมันเป็นแค่ guideline แนวทางกว้างๆแต่ถ้าเมื่อไหร่ที่คนไข้มีสถานการณ์ที่เราไม่สามารถทำตามมาตรฐานตรงนั้นได้ก็ต้องให้เหตุผลและมีการจดบันทึกเอาไว้"
นี่คือมาตราที่หมอกลัวที่สุด
"หมอพอเจอคำนี้ก็กลัวผมก็อ่านและฟังใครมาก็บอกว่าเป็น no – fault แล้วมันมีข้อคัดค้านตรงนี้มาได้ยังไงอันนี้ผมว่าเป็นข้อเดียวเลยที่เป็นประเด็นส่วนข้ออื่นที่พูดกันมากๆคือการจ่ายเงินเข้ากองทุนผมว่าถ้าอยู่โรงพยาบาลรัฐต้องไปกลัวอะไรคือรัฐก็จ่ายอยู่แล้วเงินเป็นของรัฐไม่ใช่หมอต้องควักกระเป๋าเมื่อไหร่ผมว่าประเด็นนี้มันจะsensitiveกับคนที่อยู่โรงพยาบาลเอกชนมากกว่าต้องถามว่าระหว่างโรงพยาบาลชนชบทที่เป็นโรงพยาบาลชุมชน10เตียง30เตียงกลับไม่มีการประท้วงโรงพยบาลที่ประท้วงคือโรงพยาบาลใหญ่ถามว่าเกิดอะไรขึ้นความเสี่ยงตรงนี้ใครเสี่ยงมากกว่ากันระหว่างโรงพยาบาลใหญ่กับโรงพยาบาลเล็กโรงพยาบาลเล็กใช่ไหมหมอก็มีแต่หมอจบใหม่อุปกรณ์ก็ไม่พร้อมบุคลาการก็ไม่พร้อมแต่เขากลับไม่ออกมาคัดค้านโรงพยาบาลใหญ่ที่ทุกอย่างเพียบพร้อมแต่ออกมาค้านมันเป็นเพราะอะไรผมว่าโรงพยาบาลชุมชนถึงเขาอาจจะเสี่ยงมากกว่าแต่เขาอาจจะเห็นว่ากฎหมายรี้มาช่วยเขามากกว่าก็ได้"
กฏเกณฑ์การส่งเงินเข้ากองทุนก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ถูกวิจารณ์
"มันขึ้นอยู่กับจำนวนคนไข้คณะกรรมการจะออกเกณฑ์อีกครั้งหนึ่งขึ้นอยู่กับขนาดโรงพยาบาลจำนวนผู้รับบริการความถี่ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเพราะฉะนั้นถ้าคุณทำคนมีปัญหาเยอะๆคุณก็อาจจะจ่ายเยอะขึ้นไม่ได้สร้างความเสียหายก็อาจจะจ่ายน้อยลงก็ได้อย่างกองทุนในมาตรา 41 เขาตั้งเพดานไว้ 2 แสน คนไข้ถ้าเขาเป็นหัวหน้าครอบครัวและต้องดูแลผมว่าเดือนสองเดือนที่เขาต้องรักษาตัวก็หมดแล้วนี่คือเหตุผลว่าทำไมมีพ.ร.บ.ฉบับนี้ขึ้นมาช่วยทำให้มาตรา41มาเวิร์คเพราะมันไม่มีผู้บริหารจัดการกองทุนสปสช.จ่ายไปไม่มีใครมาประเมินว่าที่เหมาะสมควรจะเป็นเท่าไหร่และให้มันสมน้ำสมเนื้อ" ป้องกันผิดซ้ำซาก
ความจำเป็นอีกประการหนึ่งของการมีพ.ร.บ.ฉบับนี้ก็คือมาตรา 41 ของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติคุ้มครองเฉพาะผู้มีสิทธิบัตรทองซึ่งมีอยู่ประมาณ48ล้านคนไม่คุ้มครองกรณีเป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายประกันสังคม "ไม่ครอบคลุมประกันสังคมรวมทั้งข้าราชการก็ตามไม่สามารถที่จะไปเอาจากกองทุนมาตรา 41 ได้และถ้าจะฟ้องเพื่อเอาจากกองทุนต้องจ้างทนายขึ้นศาลไม่รู้กี่ครั้งหรือกว่าจะขึ้นศาลก็ต้องผ่านแพทยสภาก่อนซึ่งก็ยื้อไปเรื่อยๆจนกระทั่งหมดอายุความผมว่าถ้าได้กองทุนตามพ.ร.บ.นี้มาเขาจ่าย 2 อย่าง อันที่หนึ่งคือจ่ายช่วยเหลือเบื้องต้นไปก่อนเลยโดยที่ยังไม่ได้สนใจว่าจะต้องชดเชยเท่าไหร่ แล้วค่อยมาดูประเมินความสูญเสียจึงจ่ายเชยซึ่งมันทันการณ์และเหมาะสมมากกว่าคือกฎหมายเน้นการเยียวยามากกว่าชี้ถูกผิดผมว่าหมอน่าจะดีใจว่าเออถึงแม้เมื่อไหร่เราพลาดไปยังไงคนไข้ของเราก็มีคนดูแลอย่างเช่นที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นผู้อำนวยการบอกว่าถ้าพ.ร.บ.นี้ออกมาเมื่อปีที่แล้วเขาจะดีใจมากเพราะคนไข้เขาจะได้รับการดูแลที่มากกว่าที่เขาสามารถให้ได้ตอนนี้" เรียกได้ว่าเป็นโมเดลตัวอย่าง "สถาบันพระปกเกล้าเขาถอดโมเดลมาแล้ว อาจารย์วันชัย วัฒนศัพท์ วันนี้สังคมก็พูดกันว่าน่าจะเป็นโมเดลที่เอามาใช้ในการดูแล
แต่มีปัญหาหนึ่งตอนนี้ก็คือที่โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในภาคใต้ผ่าตัดคนไข้แล้วเสียชีวิตซึ่งมันเป็นผลกระทบต่อวงกรแพทย์อย่างมากเขาผ่าตัดไส้ติ่งโดยหมอใช้วิธีบล็อคหลังการให้ยาข้างหลังข้อเสียข้อหนึ่งก็คือว่ายาไม่ได้อยู่เฉพาะหลังมันขึ้นมาที่สมองพอขึ้นสมองมันก็ไปกดการทำงานของสมองหายใจไม่ออกหมอช่วยเหลือไม่ทันการณ์คนไข้เสียชีวิตซึ่งตอนนั้นที่ผมได้ข่าวมาก็คือว่ามีอาจารย์ผู้ใหญ่พยายามเข้าไปช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยกันเรียบร้อยบอกเออเดี๋ยวจะไปงานศพไปพูดคุยกับญาติคนไข้แต่ปรากฏว่าพอถึงวันงานศพก็มีหมอผู้ใหญ่ชุดหนึ่งลงไปจากกรุงเทพฯบอกว่าอย่าไปนะ ถ้าคุณไปแสดงความเสียใจมันบ่งบอกว่าคุณทำผิดนะเดี๋ยวเขาจะมาฟ้องร้องเอาทีหลังญาติคนไข้ซึ่งเขาได้รับการสัญญาแล้วว่าหมอจะมางานศพจะมาพูดคุยตรงผิดสัญญาผมว่าเป็นสิ่งที่ญาติเขารับไม่ได้เขาเลยฟ้องแพ่งฟ้องอาญาแต่รู้สึกว่าสุดท้ายต้องไปลงคดีอาญาและศาลก็ตัดสินโทษจำคุกซึ่งเป็นเคสที่สะเทือนใจและกระทบกระเทือนวงการแพทย์อย่างมากคือพอบอกว่าหมอติดคุกนี่มันสะเทือนมากเพราะคนจะติดคุกมันจะต้องเจตนาและนี่แพทย์เนี่ยไม่มีแพทย์คนไหนเจตนาให้คนไข้เสียชีวิตหรอกตอนหลังมีอาจารย์แสวงจากธรรมศาสตร์ลงไปช่วยไปทำความเข้าใจตอนนี้ล่าสุดเขาอุทธรณ์และก็น่าจะเคลียร์ไปแล้วเพราะตอนนี้หมอคนนั้นก็มาเรียนต่อหมอโรคผิวหนังไม่เอาทางด้านรักษษที่ต้องมาเสี่ยงอีกเลยและหมอทุกคนที่โดนฟ้องก็เข็ดไปเหมือนกันชื่อเสียงมันเสียหายหมอจะsensitiveกับเรื่องชื่อเสียง"
เคสนี้หากย้อนไปแล้วถ้าหมอได้พูดคุยทำความเข้าใจกับญาติคนไข้ก็ไม่น่าจะเกิดปัญหา
"ก็เหมือนอย่างขอนแก่นที่มีทีมพยาบาลผู้อำนวยการซึ่งมีจิตใจที่ดีอยู่แล้วมันก็ approach ไปในทางที่ดีซึ่งกรณีผ่าตัดตาแล้วตาบอดนี่ตั้งสิบกว่ารายอีกส่วนหนึ่งผมว่าก็อาจจะเป็นวัฒนธรรมคนอีสานซึ่งมีน้ำใจไมตรีอยู่แล้วและคนที่ไปขึ้นศาลถามว่าเขามีความสุขไหมคนไข้ก็ไม่มีความสุขหรอกถ้าตัวเขาเองเป็นข่าวว่าร้องเรียนหมอแล้ววันหนึ่งต้องไปรักษาหมอก็เกร็งคนไข้ก็เกร็งคนไข้เขาก็ไม่ได้มีความสุขหรอกที่เขาจะต้องไปฟ้องร้องซึ่งเคสโรงพยาบาลที่ภาคใต้มันส่งผลทำให้หมอไม่ผ่าตัดในโรงพยาบาลชุมชนจะส่งต่อเคสมันก็ไปอออยู่ที่โรงพยาบาลจังหวัดสมมติคนไข้จะผ่าไส้ติ่งมาตอนนี้ผมส่งไปโรงพยาบาลจังหวัด2ทุ่มเคสที่มาตั้งแต่ตอนกลางวันสมมติเป็นร้อยเอ็ดมีสิบกว่าอำเภอแค่ส่งอำเภอละรายก็เต็มแล้วเคสหนึ่งผ่า1-2ชั่วโมงปรากฏว่าแพทย์เขาผ่าเที่ยงคืนเขาก็หมดแรงแล้วก็ต้องไปผ่าเช้าและไส้ติ่งถ้าทิ้งไว้นานมันก็แตกปรากฏตอนนี้ไส้ติ่งแตกกันเป็นระนาวเลยเป็นเพราะโรงพยาบาลต้องส่งต่อมันเป็นผลกระทบต่อมาคือเคสนั้นมันเกิดจากการฟ้องร้องแต่ถ้าเรามีพ.ร.บ.นี้ถ้าเขาได้รับการชดเชยผมว่าเขาคงไม่ฟ้องหรอกคนไข้เขามีทางออก"
ในกรณีเดียวกันแต่อีกฝ่ายหนึ่งมองว่าเพราะการฟ้องร้องหมอทำให้โรงพยาบาลชุมชนไม่กล้าผ่าตัด
"มองคนละด้านเลยนักศึกษาแพทย์คนหนึ่งก็บอกว่ามันเหมือนมีอะไรมาบังตาอีกอย่างผมว่าการมีคนกลางมาประสานอย่างกลุ่มคุณอุ้ย (ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา) คุณสารี อ๋องสมหวัง พอเข้าไปคุยกับเขาผมว่าเขาไม่ได้น่ากลัวอะไรเลยไม่ใช่ว่าเขาจะจ้องจับผิดหมออะไร"
ส่วนหนึ่งก็วิตกว่าสังคมไทยจะกลายเป็นวัฒนธรรมการฟ้องร้องระบบสาธารณสุขเหมือนในต่างประเทศ
"ผมมองตรงกันข้ามนะการฟ้องน่าจะลดลงเพราะคนไข้เขามีทางออกเขาได้รับการชดเชยถ้าไม่มีพ.ร.บ.เขาก็ต้องไปผ่านขั้นตอนเข้าแพทยสภาและก็อย่างที่คุณสารีว่าคือแพทย์สภาคุยกันเองพูดกันเองคุณฟังกันเองคุณอาจจะเข้าข้างกันแค่นี้คนไข้ก็ไม่ไว้ใจแล้วเพราะมีแต่หมอที่ไปนั่งตัดสินทำไมไม่มีคนกลางไปร่วมฟังด้วยพอเขาไม่ได้รับความเป็นธรรมเขาก็ยิ่งรู้สึกแค้นเฮ้ยพวกนี้มันเข้าข้างกันความคัยแค้นมันสะสมเรื่อยๆสุดท้ายไปขึ้นศาลพอขึ้นศาลมันไม่ใช่เรื่องของการเจรจาการพูดคุยแล้วเดินผ่านกันยังไม่อยากจะมองหน้ากันเลยมันก็สะสมผมว่ามันจะยิ่งหนักขึ้นแต่ถ้ามีกองทุนตามพ.ร.บ.นี้คนที่เขาต้องการเรียกร้องแค่เอาไปดูแลญาติที่เขาต้องสูญเสียไปเขาก็คงไม่มาฟ้องแล้วหละ"
"มีการเก็บข้อมูลจากสวีเดนมาแล้วนะสวีเดนเขาก็มีพ.ร.บ.เหมือนเราเขาพบว่าจำนวนคนฟ้องไม่ได้เพิ่มคนที่เพิ่มขึ้นคือคนที่มาclaimซึ่งถ้าเรามองโลกในแง่ดีก็หมายความว่าแต่เดิมคนเหล่านี้เขาสูญเสียและเกิดความเจ็บช้ำสะสมความไม่ดีในจิตใจเกิดความรู้สึกลบต่อวิชาชีพแพทย์แต่พอเขาได้สิ่งเหล่านี้ไปแล้วก็จะรู้ว่าเออมันมีอะไรที่จะมาทำให้เขาไม่รู้สึกรุนแรงมากขนาดนั้นผมว่ามันน่าจะมามองมุมนี้นะแทนที่จะไปมองว่าจะมีคนมาฟ้องเพิ่มขึ้นมีคนบางคนออกมาพูดว่าเดี๋ยวคนไข้กำลังจะตายก็เอามาโรงพยาบาลเพื่อที่จะมาclaimกับหมอความเป็นมมนุษย์มันมีอยู่นะไม่ใช่จู่ๆญาติเราจะตายยายเรากำลังจะตายแล้วเฮ้ยเอาไปโรงพยาบาลเดี๋ยวเราจะได้claimผมว่าความเป็นมนุษย์มันไม่มีใครทำอย่างนี้หรอกความเป็นความตายมันเป็นเรื่องใหญ่กว่าที่จะเอามาทำเพื่อเงินไม่กี่บาทคือตอนนี้ผมว่ามันอยู่ในช่วงของการdefendคือคนไม่พอใจอะไรก็แล้วแต่หยิบขึ้นมาเป็นประเด็นหมดมันเป็นมุมที่มันไม่ใช่พูดไปแล้วมันก็ไม่มีพื้นไม่มีฐาน"
ความสัมพันธ์ระหว่างหมอกับคนไข้ของเมืองไทยก็ต่างจากเมืองนอก
"สังคมไทยเราเคารพหมอจากข้างในจริงๆอย่างไปหาหมอนี่คนไข้ยกมือไห้ไม่ว่าคุณจะอายุมากอายุน้อยเราจะรู้สึกเป็นบุญเป็นคุณถ้าไม่ถึงที่สุดจริงๆเขาไม่ฟ้องหมอหรอกยิ่งถ้าคุยดีๆผมว่าเขารู้ข้อจำกัดปัญหาหนึ่งที่เรายังแก้ไม่ได้ก็คือมันก็มีแพทย์กลุ่มหนึ่งเหมือนกันที่อาจจะมีปัญหาในเชิงประมาทเลินเล่อในเชิงที่ไม่ได้ใส่ใจผมว่ามันก็มีซึ่งตรงนั้นผมว่าเราก็ต้องมากวาดบ้านเรากันเองด้วยเราถึงจะลดสิ่งเหล่านี้ลงไปและให้เหลือเฉพาะความผิดพลาดที่มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ความผิดพลาดที่เกิดจากระบบที่มันไม่สมบูรณ์ความผิดพลาดที่เกิดจากทำงานหนักอย่างเช่นสมาธิพอทำงานครบ8ชั่วโมงชั่วโมงที่ 9,10,11 มันเบลอแล้ววันนี้มันเกิดขึ้นเพราะหมอเราขาดแคลนสมัยอยู่ร้อยเอ็ดโรงพยาบาลชุมชน 10 เตียงผมต้องอยู่เวร 24 ชั่วโมงซึ่งคนไข้เขาก็เข้าใจคนไข้วันละ 120 รายเขาก็ต้องนั่งรอฉะนั้นถ้าทำให้คนไข้เข้าใจและพูดคุยดีๆผมว่าไม่มีคนไข้คนไหนที่เขาอยากจะฟ้องหรอก"
"นอกจาก พร.บ.นี้แล้วมันก็ควรจะหันกลับมาว่าแล้วจะปรับปรุงพัฒนาระบบบริการยังไงดีตั้งแต่ปรับปรุงระบบ input เรามีอุปกรณ์พอไหวแพทย์พอไหมบุคลากรพอไหมมาปรับปรุง process กระบวนการดูแลคนไข้เราดีแล้วหรือยังแลพตัวชี้วัดว่าโรงพยาบาลจะดีจะมีตัวชี้วัดอะไรเราก็มาปรับปรุงซึ่งในกระบวนการปรับปรุงการทำงานมาตรฐานตอนนี้เรามีหน่วยงานที่ชี้วัดสรพ.สถาบันพัฒนารับรองคุณภาพโรงพยาบาลทำอยู่แต่ในกระบวนการinputเรายังทำได้ไม่ค่อยดีแพทย์ก็ยังขาดแคลนอยู่อัตราส่วน 1:1,000 1:7,000 ก็มีแพทย์ก็หมุนเวียนเหมือนส่งพลทหารออกไปจบแล้วส่งออกไปแล้วถามว่าเขาจะเอาศักยภาพอะไรมาประสงการณ์ก็ยังไม่มีพอครบ 3 ปีก็หมุนเวียนกลับมาอยู่ในเมืองมันก็เกิดปัญหาขาดแคลนอย่างนี้ทุกปีคือขาดทั้งคนขาดทั้งประสบการณ์ทักษะต้องไปฝึกเอาในพื้นที่และก็เอากลับเข้ามาที่เขาเรียกว่า learning curve ช่วงแรกๆผ่าตัดก็ต้องมีผิดพลาดมีอะไรพอนานๆทักษะก็มากขึ้นจนกระทั่งอยู่ในโรงเรียนแพทย์"
"แล้วปรากฏว่ามีอะไรครับ medicalhub ก็ดึงเอาคนที่ทักษะดีๆมาอยู่ในโรงพยาบาลเอกชนถูกซื้อตัวไปเพราะerrorมันจะน้อยลงแล้วโรงพยาบาลรัฐก็จะตกอยู่ในสภาวะอย่างนี้ไปเรื่อยๆเพราะคนที่มีประสบการณ์มี skill ก็จะถูกซื้อตัวยิ่งตอนนี้เอกชนกำลังร่วมกับรัฐบาลสร้าง medicalhub อีกยิ่งแล้วใหญ่มันจะยิ่งดูดคนที่สำคัญคือดูดคนจากต่างจังหวัดหมอเก่งๆจากต่างจังหวัดแรกๆอาจจะมาอยู่ในโรงพยาบาลรัฐในเมืองนานๆเข้าก็โดนซื้อมาอยู่ในภาคเอกชนมันก็หมุนเวียนเป็นวงจรไม่ได้แก้ปัญหาเพราะฉะนั้นพ.ร.บ.นี้จะให้สมบูรณ์มันต้องมาพร้อมกับการแก้ปัญหาทั้งระบบก็คือมี input ที่ดีมีระบบที่ดีและก็แรงจูงใจที่จะให้บุคลากรยังอยู่ในโรงพยาบาลรัฐต้องให้สมน้ำสมเนื้อซึ่งไม่ใช่แค่แพทย์ต้องให้สมดุลกับเจ้าหน้าทางการแพทย์อื่นๆด้วยแพทย์เองเขาก็ต้องคิดถึงการใช้ชีวิตของเขาด้วยลูกเขาจะเรียนที่ไหนอะไรยังไง"
ถ้าให้หมอลองเอาตัวเองไปยืนอยู่อีกฝ่ายหนึ่งจะมีเหตุผลไหนที่ต้องกลัวกฎหมายฉบับนี้
"คงกลัวข้อที่ระบุเรื่องมาตรฐานนี่แหละเพราะมันต้องพิสูจน์ว่าได้เป็นไปตามมาตรฐานหรือเปล่าซึ่งวิชาชีพแพทย์เป็นภาษาที่เรียกว่าautonomyคือความเป็นวิชาชีพมันจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคนปฏิบัติวิชาชีพนั้นมี autonomy จะจ่ายยาตัวใดตัวหนึ่งอำนวยการมาบังคับว่าเอ๊ะคุณต้องเอาตัวนี้ไม่จ่ายตัวนี้ไม่ได้หรืออาจารย์ยังมาบังคับหมอลูกศิษย์ไม่ได้เลยว่าจะจ่ายยาตัวไหนๆมันเป็น autinomy เมื่อ autonomyมันถูกรุกล้ำด้วยการมาส่องดูมาตรฐานก็รู้สึกว่าเอ๊ะเราไม่เป็นอิสระเราจะโดนตรวจสอบมันก็รู้สึกไม่ดี" แต่ไม่ได้ไปถึงขั้นถอนใบประกอบวิชาชีพ "แค่ถูกมองถูกบอกว่าคุณรักษาไม่ได้มาตรฐานมันเป็นคำที่sensitive เป็นเหมือนตราบาปติดตัวผมว่านี่เป็นจุดสำคัญที่เขาคัดค้านและก็การฟ้องร้องที่มันไปถูกmanipulateถูกใส่สีตีไข่ทำให้บอกว่าจะถูกฟ้องร้องมากขึ้นและอีกข้อหนึ่งก็คือมาตรา34ที่บอกว่าหากผู้เสียหายหรือญาติไม่ตกลงยินยอมรับเงินชดเชยและได้ฟ้องร้องต่อศาลก็ให้ยุติการดำเนินการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้จะกลับมารับจากกองทุนไม่ได้อีกแล้วนะเพราะฉะนั้นคนไข้จะต้องชั่งน้ำหนักว่าจะฟ้องไหมที่ต้องรออีก2ปีเสียค่าทนายอีกเท่าไหร่ไม่รู้จะแพ้หรือจะชนะคนไข้ก็ต้องคิดแล้วว่าของที่อยู่ในมือกับของที่ยังไม่รู้อนาคตจะเอายังไงแล้วยังมีที่เขียนเป็นคุณอีกต่างหากระบุว่าในกรณีที่ถ้าแพทย์ได้ช่วยเหลือทำให้คนไข้ได้รับกองทุนแล้วสามารถเอาไปเรียกร้องต่อศาลอีกต่างหากว่าสสามารถลดหย่อนผ่อนโทษไปได้เขาเขียนช่วยเหลืออย่างมากเลยนะทางนี้กลับมาไม่ได้แล้วนะและคนที่จะมาพิจารณาก็ไม่ใช่มีแต่หมออย่างเดียวซึ่งอันนี้ก็ถูกบิดเบือนอีกบอกว่าคระกรรมการชุดนี้ไม่มีบุคลากรทางการแพทย์มีสถานพยาบาลตั้ง3คนถามว่าฝ่ายออกกฎหมายเอามาทำไมเพราะมันเป็น no – fault claim ใช่ไหมจะเอามาทำไมเพราะเราไม่ได้ตรวจสอบอยู่แล้วพทย์ที่เอามาก็ดูให้มันสมน้ำสมเนื้อว่าเป้นตัวแนบุคลากรได้ผมว่าแค่นั้นพอส่วนที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์คือกรรมการชุดย่อยคือคณะกรรมการว่าด้วยการเยียวยาชุดนี้จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญทางนิติเวชพิสูจน์ว่าอาการนี้มันเกิดจากโรคจริงหรือเปล่วมีทั้งทางด้านแพทย์มีทั้งด้านคุ้มครองผู้บริโภคกลุ่มนี้ต่างหากที่จะมาพิจารณาอย่างละเอียดว่าใช่หรือไม่ใช่หรือจะเยียวยามากน้อยแค่ไหนแต่คณะกรรมการชุดใหญ่มีหน้าที่ว่าคุณต้องบริหารให้ได้และอีกหน้าที่หนึ่งก็คือจะต้องเอาข้อมูลที่เกิดขึ้นไปปรับปรุงพัฒนาระบบริการ"
"ผมว่าจุดนี้น่าจะเป็นจุดที่น่าจะได้ประโยชน์มากกว่าการชดเชยคือเราต้องเอากรณีศึกษที่เกิดขึ้นไปชี้ว่ามันมีเคสอย่างนี้ๆกระทรวงสาธารณสุขต้องแก้ไขตรงนี้นะแพทยสภาคุณต้องแก้ไขตรงนี้นะโรงเรียนแพทย์ต้องแก้ไขตรงนี้ถ้าเราคิดว่าจะจ่ายทุกวันๆเงินกองทุนมันก็ไม่พอแต่มันต้องมีระบบ feedback ระบบเอาข้อมูลที่ได้กลับคืนไปใครมีหน้าที่ผลิตบัณฑิตหมอปัญหาอย่างนี้โรงเรียนแพทย์จะช่วยเหลือยังไงกระทรวงสาธารณสุขต้องปรับปรุงอะไรอย่างถ้าคุณจะให้คนไข้ดมยาคุณต้องมีเครื่องวัดออกซิเจนนะที่เสียชีวิตคือคนไข้หายใจไม่ออกออกซิเจนต่ำแต่ถ้ามีเครื่องมืออันนั้นก็วัดได้ว่าคนไข้ออกซิเจนต่ำแล้วนะหมอต้องalertแล้วถ้ามันมีเครื่องไม้เครื่องมือที่เพียงพอก็สามารถทำได้ฉะนั้นผมว่ากฎหมายฉบับนี้เขามองกว้างเขามองถึงระบบfeedbackที่จะทำให้เรามาพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขตามปัญหาที่เกิดขึ้นปัญหามันก็จะค่อยๆลดลงเรื่องๆเคสเก่าจะต้องไม่เกิดซ้ำ"
ทุกครั้งที่มีการดีเบทฝ่ายคัดค้านมักจะแย้งว่าเป็นกฎหมายที่เกินความจำเป็น
"เขาไม่ได้เจอสถานการณ์เมื่อไหร่ที่เขาเจอสถานการณ์เมื่อนั้นแหละเขาจะไม่พูดคำนี้แต่บังเอิญแพทย์ก็เป็นstatusในสังคมที่ไม่ค่อยได้เจอสถานการณ์นี้แต่เขาคงไม่ในเรื่องการรักษาแต่เขาอาจจะเจอในฐานะที่อยู่ในชีวิตประจำวันอย่างผมเจ้าหน้าที่ที่ดินรู้เห็นเป็นใจกับเจ้าของสร้างบ้านไม่ได้มาตรฐานไปร้องเรียนก็ไม่ชนะสักทีมันก็เป็นความที่เราด้อยอำนาจไม่ใช่ด้อยอำนาจในทางการแพทย์แต่ด้อยอำนาจในด้านอื่นหรือในมหาวิทยาลัยที่ออกกฏระเบียบอะไรมาที่ไม่เป็นธรรมกับพนักงานฉะนั้นเมื่อไหร่ที่เขาได้เจอเมื่อนั้นผมว่าเขาจะรู้ซึ้งถึงความเดือดร้อนความด้อยอำนาจแต่บังเอิญเป็น status ที่ไม่เห็นถึงปัญหาตรงนี้"
สังคมไทยเดินมาสู่จุดที่เริ่มเกิดดุลอำนาจระหว่างหมอ-คนไข้ "ที่จริงเรื่องอำนาจในวงการแพทย์นักสังคมวิทยาเขามมองมานานแล้วอีกอำนาจหนึ่งที่มันซ่อนเร้นก็คือแพทย์พยายามไปบอกว่าอาการทุกอย่างที่เกิดกับร่างกายคนเป็นโรคอย่างเช่นช่วงระยะมีประจำเดือนอาจจะมีอาการหงุดหงิดก็ไปกำหนดว่านี่คือโรคที่มอจะต้องเข้าไปรักาาไปจัดการนักสังคมวิทยามองว่าสิ่งเหล่านี้คือภาวะปกติของร่างของความเป้นมนุษย์การคลอดเป็นความปกติไม่ต้องมีหมอคนก็คลอดได้รอดตายมาได้จนถึงปัจจุบันแต่หมอพยายามบอกว่าสิ่งเหล่านี้มันเป็นabnormalityมันจะต้องมีการดูแลและฉันจะต้องอุปโลกน์เป็นผู้มีอำนาจที่จะเข้าไปดูแลสิ่งเหล่านี้นี่คือสิ่งที่นักสังคมวิทยาเขามองแพทย์อย่างนี้ว่าไปสร้างอำนาจโดยใช้วิชาชีพอันนี้เป็นระดับที่คนทั่วไปอาจจะมองไม่ออกแต่นักสังคมวิทยาเขาจะมองด้านหนึ่งที่มองเห็นชัดๆเลยคือว่าคุณ 30บาทจะได้ยาไม่ได้ยาจะได้ยาดีไม่ดีขึ้นอยู่กับหมอเพราะฉะนั้นอย่าทำอะไรที่หมอไม่พอใจ"
"ก็มีเสียงสะท้อนมาเหมือนกันว่าก็คุณไม่ได้รักษาคนไข้นี่คุณก็พูดได้ตอนนี้คนที่คัดค้านเขามองว่าคนที่ออกมาพูดสนับสนุนกฎหมายนี้คือคนที่ไม่ได้ตรวจโรคแต่ปัญหาคือคนเขาตรวจโรคก็ไม่มีเวลามาอ่านรายละเอียดกฎหมายให้มันรู้ซึ้งว่าจริงๆแล้วมันคืออะไรหรือมองอีกมุมมองหนึ่งว่าคนที่เขาเห็นด้วยคนที่เขาสนับสนุนเขาคิดยังไง"
"บ้านเรากว่ากฎหมายจะผ่านแต่ละฉบับมากนานเหลือเกินดังนั้นเมื่อมาถึงขั้นนี้แล้วอยากให้ผ่านเข้าสภาไปก่อนแล้วรายละเอียดไปถกในวาระสองเรื่องนี้มันทำมาเกือบปีแล้วแล้วทำไมไม่มีคนมาคัดค้านพอมีคนไปสร้างกระแสก็มาคัดค้านและก็ต้องการชะลอไปอีกแล้วจะชะลอถึงเมื่อไหร่ในสภาวะที่รัฐบาลยังง่อนแง่นอย่างนี้มันก็จะมีปัญหาเรายังมีโอกาสในวาระสองที่จะมาพูดคุยกันก็เอาเลยยิงทีละประเด็นๆและตอนนี้เป็นเวทีส.ส.ด้วยไม่ใช่เวทีนักกฎหมายคือเวทีนักกฎหมายเขาจะมองอะไรที่มันมีช่องมีเหลี่ยมที่คุณจะไปลบช่องลบเหลี่ยมไม่ได้แต่เวทีส.ส.มันเป็นpoliticalผลประโยชน์หมอต่อรองกับส.ส.ได้ฝ่ายประชาชนก็มาต่อรองว่าถ้าคุณทำอย่างนี้จะเกิดอย่างนี้ผมว่ามันยืดหยุ่นกว่าเวทีกฤษฎีกานะ"
มัวแต่ทะเลาะกันสุดท้ายผลประโยชน์ตกที่นักการเมือง
"มันก็เป็นการหาเสียงไว้ล่วงหน้ารูปแบบหนึ่งถ้าจะผลักดันเรื่องนี้หรือคัดค้านเรื่องนี้มันก็จะเป็นบุญคุณกันฝ่ายหมอที่คัดค้านก็อาจจะไปเข้าหาวิปรัฐบาลตอนนี้ทุกคนก็ต้องวิ่งเข้าหาผู้มีอำนาจตอนนี้มันเป็นอำนาจของนักการเมืองกลายเป็นสุดท้ายคุณก็ต้องไปพึ่งนักการเมือง" แต่ตอนนี้นายกฯให้เลื่อนไปก่อน
"ผมว่าสังคมส่วนใหญ่สนับสนุนนะปัญหาตอนนี้อยู่ที่กำลังภายในของแพทยสภาที่เป็นบิ๊กๆอิทธิพลเขามากนะไม่ใช่ว่าเขาเป็นหมอธรรมดาเราก็ไม่รู้ว่าจะผ่านอะไรก็ไม่รู้ที่เขาคุยกันได้ผมว่าหมอที่เห็นด้วยกับพ.ร.บ.ยังออกมาน้อยเกินไปส่วนหนึ่งก็คือกลัวเจ็บตัวไม่กล้าเพราะถ้าเปิดเผยออกมาเราก็ต้องมีเพื่อนซึ่งไม่เห็นด้วยกับเรา"
การเคลื่อนไหวของวิชาชีพแพทย์ที่ผ่านมามักได้เครดิตจากสังคมเพราะเป็นการตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่น
"แต่กรณีนี้ถูกมองว่าเป็นผลประโยชน์ตัวเองเราก็ต้องกลับมาดูตัวเราเองในฐานะอาจารย์ที่เราสอนลูกศิษย์ตอนนี้ก็มีวิชาcritical thinking ให้เขาคิดเชิงวิพากษ์ให้มากขึ้นคุณมองอะไรคุณอย่าเพิ่งเชื่อตัดประเด็นๆพวกนี้ออกไปก่อนbiasใช่ไหมเป็นเพราะมีปัจจัยที่สามไหมอะไรไหมแล้วค่อยเชื่อ"
ในช่วงความขัดแย้งทางการเมืองหมอจำนวนไม่น้อยก็กระโดดเข้าร่วมหมอสุธีร์เองก็เป็นแกนนำในการล่ารายชื่อของ มศว. ในหลายวาระ
"เราไม่ใช่ไปประท้วงแต่เราต้องมีหลักวิชาการมาเป็นตัวอิงการเคลื่อนไหวมันจะสร้างปัญญาให้กับคนมากกว่าอย่าล่าสุดก็คัดค้านเรื่องแพทย์นานาชาติซึ่งคนจะทำก็คือคณบดีคือผมว่าข้อดีของการเป็นอาจารย์ก็คือเราสามารถทักท้วงนโยบายที่มันไม่เหมะสมได้แต่ถ้าผมอยู่โรงพยาบาลชุมชนปลัดฯบอกว่าคุณไปรณรงค์เรื่องนั้นเรื่องนี้เราก็ต้องทำเพราะมันคือระบบราชการก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมไม่อยากอยู่ในระบบที่ต้องทำตามนโยบายอย่างเดียว"
ตอนนั้นถือว่าหนุนพันธมิตร
"มันก็เป็นประเด็นเป็นเรื่องๆเหมือนกันนะช่วงหลังตั้งแต่ที่เขาไปยึดสนามบินก็เริ่มรู้สึกว่ามันไม่ใช่แล้วเราก็เริ่มกลับมาคิดแล้วไม่ว่าใครทำอะไรที่มันเริ่มผิดเพี้ยนเราก็ต้องมองคือผมว่าเหตุการณ์สีเหลืองสีแดงมันทำให้เรากลับมาคิดเหมือนกันนะว่าวันที่เราสนับสนุนสีเหลืองอะไรๆเราก็เฮไปพอสีแดงกลับมาทำอันนี้มันก็ลอกเลียนแบบมาทุกอย่างเลยนี่ตอนนั้นทำไมเราถึงสนับสนุนสีเหลืองมันเป็นกระจกสะท้อนเรามากกว่าพอเห็นสีแดงแล้วทำให้เราคิดว่าเออนี่เราเป็นกลางจริงหรือเปล่าเราเป็นกลางได้ไหมเราเห็นสีแดงแล้วเรารู้สึกไม่ชอบตั้งแต่ตอนต้นและการกระทำของเขาบางอย่างก็ไม่ต่างจากสีเหลืองเลยยกเว้นว่าอาจจะรุนแรงจนเกินการควบคุมมันก็ทำให้ได้คิดว่าเราน่าจะได้บทเรียนเรียนรู้ผมก็เห็นใจเขานะเสื้อแดงผมก็เป็นหมออยู่ร้อยเอ็ดมาหลายปีผมเข้าใจพวกเขานะว่าเขาเข้ามาก็ได้รับสิ่งที่เขาถูกกระทำจากภาครัฐบ้างโดยเฉพาะกรมที่ดินที่เบอร์หนึ่งเลยพอได้รับสิ่งเหล่านี้ ทางออกไม่มีในเมื่อมีคนมาให้ช่องทางที่จะมาเรียกร้องได้ก็มาถ้าไม่มีระเบิดไม่มีเรื่องรุนแรงผมว่าเขาก็ชอบธรรมในการที่จะไปประท้วงแต่บังเอิญมันมีปัจจัยความรุนแรงเข้ามาด้วย"
//////////////////////// ขอนแก่นโมเดล การฟ้องร้องแพทย์คือประเด็นที่กลุ่มคัดค้านพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการทางสาธารณสุขยกมาอ้างมากที่สุดแต่จากการถอดบทเรียนความผิดพลาดจากการผ่าตัดรักษาคนไข้ต้อกระจกที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้ผู้ป่วย11คนต้องติดเชื้อจากการผ่าตัดโดยมีผู้ป่วยจำนวน 7 คนต้องสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรแต่ทางโรงพยาบาลให้ความช่วยเหลือเบองต้นแก่ผู้เสียหายได้เป็นอย่างดีซึ่งเอื้อต่อการเจรจาขอความเห็นใจจากคนไข้และทำให้สถานการณ์ร้ายแรงคลี่คลายลงได้ด้วยดีนอกจากคนไข้และญาติจะไม่ฟ้องร้องเอาผิดแล้วยังกลับเห็นใจแพทย์และโรงพยาบาลด้วย
นี่คือกรณีศึกษาที่พิสูจน์ว่าการฟ้องร้องบุคลาการทางการแพทย์จะไม่เกิดขึ้นหากมีกระบวนการไกล่เกลี่ยเยียวยาที่มุ่งเน้นสร้างความสัมพันธ์กับผู้ป่วยอย่างแท้จริงเมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นแล้วแสดงความรับผิดชอบรวมทั้งต้องเปิดเผยความจริงให้ผู้ป่วยและญาติรับรู้ในช่วงที่มีการออกมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ก็มีการคัดค้านจากกรมการแพทยสภาซึ่งสถานการณ์ในวันนี้ก็ไม่ผิดอะไรกับการฉายหนังซ้ำที่มีการแต่งดำไว้ทุกข์และอ้างว่าจะทำให้คนไข้ฟ้องร้องหมอมากขึ้นแต่หลังจากบังคับใช้พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯมาแล้ว 8 ปีปรากฏว่ามีการจ่ายชดเชยค่าเสียหายไปเพียง 2,600 กว่ารายและคิดเป็นเงินที่จ่ายไปไม่ถึงร้อยละ 0.05 ของเงินกองทุนจากที่ตั้งไว้ร้อยละ 1.0 OPT 1.50
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)