เมื่อวันที่ 8 ส.ค. รศ. ทัศนีย์ ประธาน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยผลการสำรวจ"หาดใหญ่โพล " ซึ่งจัดทำโดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดสงขลา เกี่ยวกับ ร่าง พรบ.คุ้มครองความเสียหายจากการบริการสาธารณสุข โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,198 ตัวอย่าง และใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 5-6 สิงหาคม 2553 สรุปผลการสำรวจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 82.5 เห็นด้วยให้มี พรบ.คุ้มครองความเสียหายจากการบริการสาธารณสุข มีเพียงร้อยละ 17.5 ที่ไม่เห็นด้วยให้มี พรบ. คุ้มครองความเสียหายจากการบริการสาธารณสุข นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 61.4 เห็นว่าหากมีการใช้พรบ. คุ้มครองความเสียหายจากการบริการสาธารณสุข ประชาชนจะเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุด รองลงมา คือ ผู้เสียหายและเครือญาติ และบุคลากรทางการแพทย์ คิดเป็น ร้อยละ 32.4 และ 6.1 ตามลำดับ
ส่วนความคิดเห็นต่อความขัดแย้งของประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ หากมีการใช้พรบ. คุ้มครองความเสียหายจากการบริการสาธารณสุข พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 79.4 เห็นว่าจะเกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ โดยที่ประชาชนร้อยละ 51.6 เห็นว่าจะเกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ระดับมาก และร้อยละ 27.8 เกิดความขัดแย้งระดับน้อย มีเพียงร้อยละ 20.6 เห็นว่าจะไม่เกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์
ประชาชนร้อยละ 51.6 ไม่เห็นด้วยที่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ เรียกร้องไม่ให้มีการฟ้องคดีอาญาอันเนื่องจากการประกอบวิชาชีพ และร้อยละ 48.4 เห็นด้วยไม่ให้มีการฟ้องคดีอาญากับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 64.4 ไม่เชื่อว่าจะเกิดสถานการณ์ผู้ป่วยหนักมาเข้ารับการรักษาเพื่อขอรับเงินชดเชย มีเพียงร้อยละ 35.6 ที่คาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นหากมีการใช้ พรบ.ฉบับนี้
ส่วนแนวโน้มหากมีการใช้ พรบ. คุ้มครองความเสียหายจากการบริการสาธารณสุข พบว่า ประชาชน คิดว่าคุณภาพในการรักษาผู้ป่วย มีแนวโน้มจะดีขึ้น มากที่สุด รองลงมา ผู้ป่วยได้รับการคุ้มครองและชดเชย รวดรวดขึ้น และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ มีแนวโน้มจะดีขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ประชาชนคิดว่าการฟ้องร้องบุคลากรทางการแพทย์ มีแนวโน้มลดลงแต่ไม่เด่นชัดมากนัก ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน พบว่า ประชาชนมีความวิตกกังวล คาดว่ามีแนวโน้มค่ารักษาพยาบาลเพิ่มสูงขึ้น
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)