เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ภาคเหนือจัดเวทีสมัชชาประชาชน องค์การอิสระผู้บริโภคและคุณภาพชีวิตของประชาชน หลักประกันที่รัฐไม่อาจละเลย หวังให้รัฐบาลเร่งคลอด องค์การอิสระผู้บริโภคในสภา
Consumerthai – 24 ก.พ. 53 เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ภาคเหนือ ประกอบด้วยศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค 12 จังหวัด ประกอบจังหวัดเชียงราย พะเยา ลำปาง และจังหวัดเชียงใหม่ ฯ จัดเวทีองค์การอิสระผู้บริโภคและคุณภาพชีวิตของประชาชน หลักประกันที่รัฐไม่อาจละเลย ณ โรงแรมแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 200 คนเข้าร่วมงาน
นายสวัสดิ์ คำฟู ผู้ประสานงานกลไกศูนย์คุ้มครองสิทธิภาคเหนือกล่าวถึงการจัดงานครั้งนี้ว่าการเป็นการเพิ่มเติมข้อมูลการเคลื่อนไหวเพื่อผลักดันให้เกิดองค์การอิสระผู้บริโภคให้กับกลไกภาคเหนือเพราะหลายคนได้เข้าชื่อเสนอกฎหมายเข้าไปว่าตอนนี้อยู่ในขั้นตอนไหนแล้ว รวมถึงเป็นการจำลองการทำงานขององค์การอิสระผู้บริโภคที่ขณะนี้ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา
“เราช่วยกันร่างและนำเสนอ พ.ร.บ.องค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภค ไปตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552 จนปัจจุบัน กฎหมายก็ยังอยู่ในการพิจารณาของรัฐสภา พวกเราจึงคิดหาทางออกร่วมกันด้วยว่าจะทำอย่างไรให้เกิดองค์การอิสระผู้บริโภค โดยเวทีวันนี้มีข้อเสนอว่าจะส่งไปรษณียบัตรสนับสนุนให้เกิดมีการพิจารณาองค์การอิสระผู้บริโภคโดยเร็ว รวมถึงลงรายมือชื่อสนับสนุนองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน และอยากให้ร่าง พ.ร.บ.ตัวนี้ผ่านสภาโดยเร็ว” ผู้ประสานงานกลไกศูนย์คุ้มครองสิทธิภาคเหนือ กล่าว
การจัดเวทีจำลององค์การอิสระผู้บริโภคครั้งนี้พบว่ามีปัญหาโดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มนั่นคือ
1. ปัญหาด้านสินค้าและบริการ รวมแล้ว 183 กรณี
2. โฆษณาเกินจริง
3. ไม่ติดป้ายราคา สินค้าหมดอายุ สินค้าไม่มีคุณภาพ
4. การแจ้งรายละเอียดสินค้าไม่ครบ
5. สินค้าที่มีปัญหามากที่สุด คือเครื่องสำอาง อาหารเสริม
6. รถโดยสารสาธารณะ ไม่มีการจัดระเบียบ จอดไม่เป็นที่ ขับรถเร็ว ราคาไม่เป็นมาตรฐานไม่มีป้ายราคา พนักงานไม่สุภาพ รับผู้โดยสารเกินจำนวนที่นั่ง รถโดยสารจำนวนไม่พอกับความต้องการ บางสายไม่มีรถโดยสารวิ่งประจำทาง รถไม่ปลอดภัย-มีควันดำ
7. โรงแรม พนักงานไม่สุภาพ ที่นอนไม่ดี อาหารไม่สะอาด การนับเวลาการให้บริการลูกค้าที่แตกต่างกัน
8. ค่าที่จอดรถ ไม่เป็นธรรม
9. ปัญหาบรรษัทข้ามชาติ/ค้าปลีกขนาดใหญ่ ที่เข้ามาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยขายสินค้าที่ไม่มีคุณภาพหรือลอกเลียนแบบแต่ราคาถูก
ปัญหาสาธารณูปโภคพื้นฐาน 183 ราย 1. ค่าไฟฟ้าที่แพง 2. เสียค่าบริการช้าและถูกเรียกเก็บเงิน 3. ไฟฟ้าสาธารณะในชุมชนมีน้อย 4. จนท.เช็คมิเตอร์ไฟฟ้าไม่มีมาตรฐาน เวลามาเช็คมิเตอร์ไม่มีใครรู้ว่าถูกต้องหรือไม่อย่างไร 5. คิดค่าน้ำแพง น้ำไม่สะอาดไม่มีคุณภาพ 6. น้ำสำหรับการเกษตรไม่เพียงพอ 7. น้ำดื่มต้องซื้อ ไม่สะอาดไม่เพียงพอ 8. ถนนสาธารณะในหมู่บ้านขาดคนดูแล ไม่มีผู้รับผิดชอบเวลาเสียหาย/ซ่อมแซม
ปัญหาด้านสุขภาพ 163 กรณี 1. รอรับบริการนาน ส่งต่อล่าช้า การวินิจฉัยโรคไม่ชัดเจนพอ 2. ความเหลื่อมล้ำในมาตรฐานการรักษาของแต่ละระบบหลักประกันสุขภาพ (ข้าราชการ-ประกันสังคม-บัตรทอง-แรงงานต่างด้าว) การเข้าถึงการรักษาของกลุ่มชาติพันธุ์ยาก 3. ขาดข้อมูลความรู้ ความเข้าใจเรื่องการใช้ยา ได้ยาที่ไม่มาตรฐาน การถูกโฆษณาชวนเชื่อเรื่องอาหารเสริม 4. การรักษาที่ไม่ได้คุณภาพและมาตราฐานของแพทย์ที่มีความแตกต่างระหว่างในเมืองกับชนบท แพทย์ที่เก่งจะอยู่ในเมืองใหญ่และโรงพยาบาลเอกชนเป็นหลัก 5. หมอวินิจฉัยโรคช้าและไม่ถูกต้อง-ไม่มีมาตราฐาน ทำให้คนไข้ได้รับการรักษาไม่ดี 6. นโยบายของประเทศที่เปิดการค้าเสรีทำให้การแพทย์กลายเป็นสินค้าทางเลือกสำหรับชาวต่างชาติ?????? แทนที่จะตอบสนองปัยหาของประชาชน
ปัญหาด้านโทรคมนาคม 153 กรณี 1. SMS กวนใจ ทั้งวันทั้งคืน เสียเงินโดยไม่ใช้บริการ 2. คุณภาพของการให้บริการ สายพันกัน เสียงสะท้อนเวลาใช้โทรศัพท์คุยกัน โทรติดยากช่องสัญญาณเต็ม 3. บัตรเติมเงิน มีเงินแต่ใช้ไม่ได้เพราะวันหมดอายุ 4. อินเทอร์เน็ต ไม่มีคุณภาพ ความเร็วไม่ตามกำหนด 5. บิลไม่แจ้งรายละเอียดค่าโทร 6. เสาสัญญาณอยู่ใกล้บ้านกลัวปัญหาด้านสุขภาพ 7. ตู้โทรศัพท์สาธารณะว่างเปล่า
5.สะท้อนปัญหาประเด็นอื่นๆ 1. ปัญหาด้านการเมือง กรณี การตรวจสอบอำนาจนักการเมือง 2. ค่าแรงต่ำกว่าที่ควรจะเป็น 3. ด้านพลังงาน-ราตาน้ำมัน ค่ารถโดยสารและค่าไฟฟ้าที่แพงมาเกิน 4. ด้านสิ่งแวดล้อม อาหารที่มาปลอดภัยมีสารปนเปื้อน ปุ๋ยปลอม หมอกควันเผาหญ้ามีฝุ่นละออง 5. ปัญหาสัญญาที่ไม่เป็นธรรม –ไม่ได้อ่านรายละเอียด - จ่ายเงินไม่ครบตามสัญญาที่กำหนด มีเงื่อนไขมากกว่าที่บอกตอนแรก - โกงไม่ดำเนินการตามสัญญา - บริษัทบ่ายเบี่ยงไม่จ่ายเงินในกรณีพรบ.รถสาธารณะ - ไม่ยอมให้เห็นเอกสารสัญญาที่ชัดเจน
6. ปัญหาสิทธิ –ทำอย่างไรให้มีช่องทางการร้องเรียนที่มากขึ้น ที่ทำให้คนเข้าถึงได้ง่ายและสะดวก
- ทำอย่างไรให้สื่อเป็นตัวแทนของประชาชนในการสะท้อนปัญหามากขึ้น
- สิทธิของพี่น้องชนเผ่าและกลุ่มเข้าถึงยาก
-
7. ควรมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับผู้บริโภค ควรมีนักวิชาการที่มาสนับสนุนให้ความรู้กับประชาชนที่มากกว่านี้
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)