มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับชมรมแพทย์ชนบท ชมรมเภสัชชนบท และเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ได้ร่วมจัดการแถลงข่าวขึ้นในหัวข้อ "พูดกันให้ชัด ทำไมต้องมี... พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข" เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2553 ณ สำนักงานชั่วคราว มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
โดยมีนายแพทย์วีรพันธ์ สุพรรณไชยมาศ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น นายแพทย์วชิระ บถพิบูลย์ ชมรมแพทย์ชนบท เภสัชกรหญิงศิริพร จิตร์ประสิทธิศิริ ชมรมเภสัชชนบท เข้าร่วมการแถลงข่าว โดยสามารถสรุปใจความสำคัญของการแถลงข่าวครั้งนี้ โดยอ้างอิงร่วมกับเอกสารแจกของนายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ได้ดังนี้
เนื่องจากเป็นเพราะใกล้จะถึงช่วงหาเสียงเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา ทำให้มีแพทย์กลุ่มหนึ่ง ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้าน ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองความเสียหายจากการรับบริการทางสาธารณสุข ซึ่งกำลังจะถึงคิวเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร โดยเหตุผลสำคัญที่มีการหยิบยกขึ้นมาคัดค้านคือ
กฏหมายนี้จะทำให้มีการฟ้องร้องแพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุขมากขึ้น
รัฐและคนไข้ทั่วไป จะเสียเงินจำนวนมากเพื่อจ่ายเป็นค่าเสียหาย ให้แก่ผู้ป่วยที่ฉวยโอกาสจากกฏหมายฉบับนี้
คนไข้ โดยเฉพาะคนไข้ที่มีอาการหนักมาก จะเข้ารับการรักษาที่โรงพย่าบาลมากขึ้น เพื่อหาผลประโยชน์จากกฏหมายฉบับนี้ ทำให้โรงพยาบาลต้องรับภาระมากขึ้น และคนไข้ที่จำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาลจะประสบความยากลำบากมากขึ้น
ที่ น่าสงสัยว่าการเคลื่อนไหวเรื่องนี้จะเกี่ยวโยงกับการหาเสียงเลือกตั้ง กรรมการแพทยสภาเพราะร่างกฏหมายฉบับนี้ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้เสนอต่อประธานรัฐสภาตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552 หลังจากนั้นมีร่างฉบับอื่นอีก 3 ฉบับ เสนอเข้าไปประกบตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2552 และมี 2 ฉบับ คือ ของนายเจริญ จรรย์โกมล และคณะ เสนอไปตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2551 และฉบับของนายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ และคณะ เสนอตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ร่างพระราชบัญญัติฯเหล่านี้ คณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีการตรวจพิจารณาอย่างต่อเนื่องกันมาเป็นเวลากว่าครึ่ง ปีแล้ว โดยแพทยสภาได้ส่งตัวแทนเข้าไปติดตามให้ความเห็นร่วมกับคณะกรรมการกฤษฎีกามา โดยตลอด การที่มีการออกมาคัดค้านในช่วงนี้ แม้จะมีเหตุผลเพื่อสกัดมิให้กฏหมายเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร แต่ก็มีเหตุชวนสงสัยว่าน่าจะเกี่ยวโยงกับการหาเสียงเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา เป็นสำคัญด้วย
แต่ที่น่าผิดหวังก็คือเหตุผล สำคัญที่มีการหยิบยกขึ้นมาคัดค่านร่างกฏหมายฉบับนี้ทั้ง3 ข้อ โดยเฉพาะข้อแรก คือเรื่องที่จะทำให้แพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขถูกฟ้องร้องมากขึ้นนั้น เป็นความเท็จทั้งสิ้น เพราะแท้จริงแล้วกฏหมายฉบับนี้ นอกจากจะให้ความเป็นธรรมและบรรเทาความเดือดร้อนแก่คนไข้ที่ได้รับความเสีย หายแล้ว ยังมีหลักการสำคัญเพื่อลดคดีการฟ้องร้องแพทย์และโรงพยาบาลลงด้วย
กฏหมายฉบับนี้ รัฐบาลได้เสนอร่างเข้าประกบด้วย ซึ่งปรากฏในบันทึกหลักการและเหตุผลชัดเจนของร่างกฏหมายฉบับนี้ของรัฐบาลว่า
" โดยที่ปัจจุบันความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขยังไม่ได้รับการแก้ไข เยียวยาอย่างเป็นระบบให้ทันท่วงทีทำให้มีการฟ้องร้องผู้ให้บริการทั้งทาง แพ่งและอาญา และทำให้ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้รับและผู้ให้บริการสาธารณสุขเปลี่ยนไป จากเดิม อันส่งผลร้ายมายังผู้รับและผู้ให้บริการสาธารณสุข ตลอดจนกระทบถึงการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมถึงระบบบริการสาธารณสุขด้วย สมควรจะได้แก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อให้ผู้ได้รับความเสียหายได้รับการแก้ไขเยียวยาโดยรวดเร็วและเป็นธรรม
โดย การจัดตั้งกองทุนเพื่อชดเชยความเสียหาย ส่งเสริมให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง ผู้รับและผู้ให้บริการสาธารณสุขทั้งให้ศาลอาจใช้ดุลยพินิจในการลดโทษและไม่ ลงโทษผู้ให้บริการสาธารณสุขในกรณีที่ถูกฟ้องคดีอาญาข้อหากระทำการโดยประมาท ด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้"
อัน ที่จริง กฏหมายนี้มิใช่กฏหมายที่ใหม่เลยเสียทีเดียว แต่เป็นการขยายการคุ้มครองผู้เสียหายจากกฏหมายเดิม 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยกฏหมายทั้ง 2 ฉบับนี้ ได้ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขอยู่ แล้ว แต่ยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ
พ.ร.บ.ความรับผิดฯ คุ้มครองเฉพาะเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น ไม่คุ้มครองกรณีการเข้ารับบริการในโรงพยาบาลเอกชน โดยกฏหมายกำหนดให้โรงพยาบาลเป็นผู้รับผิดชอบต่อค่าเสียหายแทนเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดเฉพาะกรณีที่เป็นการจงใจทำให้เกิดความเสียหายหรือ ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
ส่วนมาตรา 41 แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คุ้มครองเฉพาะผู้มีสิทธิบัตรทองซึ่งมีอยู่ราว 47-48 ล้านคน ซึ่งเท่ากับร้อยละ 75 ของประชากรทั้งประเทศเท่านั้น ไม่คุ้มครองกรณีเป็นผู้ประกันตนตามกฏหมายประกันสังคม และข้าราชการกับพนักงานรัฐวิสาหกิจ
โดยในครั้งที่มีการออก พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น ก็มีการคัดค้านจากกรรมการแพทยสภา โดยมีการใช้ลูกเล่น "ไว้ทุกข์" และมีการข่มขู่ว่า กฏหมายมาตรานี้จะทำให้มีการฟ้องร้องโรงพยาบาลมากขึ้น แต่จากการบังคับใช้พ.ร.บ. หลักประกันฯมาเป็นเวลา 8 ปี มีการจ่ายชดเชยค่าเสียหายไปเพียง 2,600 กว่าราย และจ่ายเงินไปไม่ถึงร้อยละ 0.05 ของเงินกองทุน จากที่ตั้งไว้ร้อยละ 1.0
กรณีที่ชัดเจนก็คือ กรณีคนไข้ผ่าตัดตาที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ซึ่งมีคนไข้ได้รับความเสียหายถึงขั้นตาบอดไปถึง 10 ราย มาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันฯ ได้ช่วยให้โรงพยาบาลสามารถให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้เสียหายได้เป็น อย่างดี ซึ่งเอื้อต่อการเจรจาขอความเห็นใจจากคนไข้และทำให้สถานการณ์ร้ายแรงคลี่คลาย ลงได้ด้วยดี นอกจากคนไข้และญาติจะไม่เอาความกับแพทย์และโรงพยาบาลแล้ว ยังเห็นใจแพทย์และโรงพยาบาลอย่างมากด้วย
เรื่องการฟ้องร้องแพทย์ กฏหมายฉบับนี้ก็ไม่มีมาตราใดที่จะเปิดช่องให้ฟ้องแพทย์หรือโรงพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่อื่นในโรงพยาบาลเลย ตรงกันข้ามกลับจะช่วยแพทย์และโรงพยาบาลอย่างมาก เพราะร่างมาตรา 34 ฉบับของรัฐบาล กำหนดว่า "หากผู้เสียหายหรือญาติไม่ตกลงยินยอมรับเงินชดเชย และได้ฟ้องร้องผู้ให้บริการสาธารณสุข หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายเป็นคดีต่อศาล ให้สำนักงานยุติการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ผู้เสียหายหรือทายาทไม่มีสิทธิ์ที่จะยื่นคำขอตามพระราชบัญญัตินี้อีก"
กฏหมาย ฉบับนี้จึงเป็นกฏหมายที่ดีที่สุดฉบับหนึ่งที่จะช่วยเยียวยาความเสียหายให้ แก่ประชาชนและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนไข้กับหมอ โดยเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่อื่นๆ และต่อโรงพยาบาล ทั้งของรัฐและเอกชน
ตัวอย่างความเสียหายทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
คดี นี้สืบเนื่องจากเมื่อต้นเดือนเมษายน 2545 เมื่อคุณบังอร มีประเสริฐ มีอาการอึดอัด แน่นท้อง และท้องโตขึ้นเรื่อยๆ แต่เนื่องจากนเองทานยาคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาประมาณ 9 ปีเศษ โดยไม่มีประจำเดือน จึงไม่แน่ใจว่าตนเองตั้งครรภ์หรือไม่
จึง ตัดสินใจไปสถานีอนามัยเพื่อตรวจวินิจฉัยโรค แต่สถานีอนามัยไม่มีอุปกรณ์ตรวจปัสสาวะเพื่อทดสอบการตั้งครรภ์ จึงใช้การคลำท้อง พบว่ามีก้อนเนื้อภายในท้อง แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเนื้องอกหรือการตั้งครรภ์ จึงแนะนำให้ไปตรวจที่โรงพยาบาลแทน ทั้งนี้โรงพยาบาลได้ตรวจด้วยชุดทดสอบการตั้งครรภ์ ซึ่งให้ผลเป็นลบ แพทย์จึงวินิจฉัยว่าเป็นเนื้องอก จึงทำการผ่าตัดผู้ป่วย ผลปรากฏว่าการผ่าตัดคราวนั้น ทำให้เจอเด็กแฝดในเวลาต่อมา
23 พฤษภาคม 2545 คุณบังอร ได้ขอใช้สิทธิในการยื่นเรื่องต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้พิจารณาค่าสินไหมตาม พ.ร.บ.ความรับผิดฯ เนื่องจากถูกผ่าท้องฟรี และวิตกกังวลว่า การผ่าท้องจะส่งผลกระทบต่อทารกแฝดในครรภ์หรือไม่
5 พฤศจิกายน 2545 ผลการสอบของสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ตั้งคณะทำงานพิจารณาเรื่องนี้และแจ้งว่า การผ่าตัดของแพทย์ถือว่าได้มาตรฐานและเหมาะสมแล้ว เพราะการผ่าท้องเป็นการวินิจฉัยโรค ไม่ใช่การรักษาโรค จึงเป็นเหตุให้คุณบังอร เข้าร้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งของสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข และขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้กับคุณบังอร เป็นเงินรวม 500,000 บาท กับให้ร่วมกันรับผิดชอบค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทน
18 มีนาคม 2546 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้อง ในข้อหาขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชอบชดใช้เงิน แต่รับพิจารณาเฉพาะคำฟ้องในข้อหา จึงขอให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของสำนักงานปลัดกระทรวงฯ
31 พฤษภาคม 2549 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากกระบวนการในการออกคำสั่งของสำนักงานปลัดกระทรวงฯนั้นชอบด้วยกฏหมาย แล้ว จึงใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดต่อไป
29 มิถุนายน 2549 ยื่นอุทธรณ์คดีต่อศาลปกครองสูงสุด
15 สิงหาคม 2550 ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาว่า เป็นการกระทำละเมิด และให้โอนคดีกลับไปยังศาลยุติธรรม ทั้งนี้โดยศาลจังหวัดสมุทรสงครามมีคำสั่งว่า คดีนี้ศาลปกครองได้โอนสำนวนมายังศาลจังหวัดสมุทรสงคราม เนื่องจากคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรสงคราม
9 กรกฎาคม 2551 นายเฉลิมพงศ์ กลับดี ทนายโจทก์ พร้อมคุณบังอร มีประเสริฐ ได้เดินทางไปไกล่เกลี่ยในคดีที่คุณบังอร มีประเสริฐ ยื่นฟ้องสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นจำเลย ที่ศาลจังหวัดสมุทรสงคราม ผลการไกล่เกลี่ย คู่กรณีตัวแทน พญ.รุจิรา กระแสร์ลาภ คือ ทพ.ธีรเทพ กระแสร์ลาภ และผู้แทนสำนักงานปลัดฯ ไม่มีข้อโต้แย้งในข้อตกลงครั้งก่อน คือพญ.รุจิรา กระแสร์ลาภ พร้อมยินดีช่วยเหลือเยียวยาค่าทุนการศึกษาบุตรชายทั้งสองของนางบังอร โดยไม่เกี่ยวกับคดีจำนวน 140,000 บาท โจทก์พอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีกับผู้ใดในกรณีนี้อีกและจะถอนฟ้องจำเลย คดีเป็นอันสิ้นสุด
นสพ.มติชน 30/07/53
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)