………. ต้องยอมรับว่าขนมกับเด็กเป็นของคู่กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงมีผู้ประกอบการมากมายที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับขนมเด็ก จึงเกิดการแข่งขันกันอย่างรุนแรงของธุรกิจและมีการกระตุ้นการบริโภคด้วยหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะด้วยความรู้ หรือความไม่รู้ ก็ตามที ทำมีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคขนมของเด็กที่มีความรุนแรงของปัญหามากขึ้น มีเด็กเป็นโรคอ้วนให้เห็นจนเป็นเรื่องปรกติ เด็กฝันผุเป็นเรื่องธรรมดา แต่ว่าเด็กเป็นโรคเบาหวานและเป็นโรคไต คงจะไม่ธรรมดาเสียแล้วกระมัง ปัญหาดังกล่าวที่เราพบเห็นจนคิดว่าเป็นเรื่องปรกติ แต่ส่งผลรุนแรงต่ออนาคตของประเทศชาติ จึงเป็นที่มาของสภาผู้บริโภคจังหวัดสงขลา ครั้งที่ 3 เรื่อง “ ขนมเด็ก.....เรื่องเล็กจริงหรือ ” ในวันเสาร์ ที่ 22 กันยายน 2550 ณ โรงแรมไดอิชิหาดใหญ่ จ.สงขลา ด้วยความสนใจของเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคจังหวัดสงขลา เครือข่ายอย.น้อย โซนคาบสมุทร และเครือข่ายครูศูนย์เด็กเล็กเทศบาลตำบลพะวง รวมถึงผู้ที่สนใจประเด็นของเด็กๆ ปัญหาและทางออกที่มีการแลกเปลี่ยนในเวทีดูจะสอดคล้องกับการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “ พฤติกรรมการบริโภคขนมเด็ก ในทัศนะของผู้ปกครอง ” โดย สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ พบประเด็นปัญหาที่ไม่แตกต่างจากภาพรวมของประเทศ และปัญหาที่เป็นปัญหาเดิมๆดังนี้
• ขนมเด็กในท้องตลาดยังขาดการตรวจสอบควบคุมแบบครบวงจรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากยังพบขนมที่หมดอายุตั้งแต่ปี 2004 อยู่ในรถเข็นขายขนมหน้าโรงเรียน ทำให้ถั่วเป็นเชื้อราอาจส่งผลเป็นสารก่อมะเร็งได้
• นอกจากเรื่องสีสันน่ากิน สารเคมีเป็นพิษ รวมถึงมีแต่แป้งและผงชูรสที่พบโดยทั่วไปแล้ว สุขภาพเด็กถูกคุกคามจากการกินขนมถุง โรคอ้วนในเด็ก 20% ในพื้นที่เกิดกรณีเด็กเป็นโรคไตจากการกินบะหมี่ซองที่มีผงชูรสและรสเค็มที่หมู่บ้านบางดาน มีโอกาสเป็นไตวายเรื้อรังค่าใช้จ่ายสูงพ่อแม่ต้องดูแลตลอดชีวิต
• ปัญหาภาพกว้าง ตั้งแต่เรื่อง ฉลากที่ขาดความชัดเจน ตัวเล็กมาก ได้แก่ คำเตือน เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบและคนท้องห้ามกิน หรือ ควรกินแต่น้อย
• เด็กเชื่อสื่อมากกว่าพ่อแม่และครู โดนครอบงำด้วยสื่อโฆษณาผ่านดารา ที่แทรกอยู่ในรายการการ์ตูนเด็ก เกมส์ ในปริมาณ และความถี่สูง
จากการระดมความคิดเห็น มีการเสนอแนวทางและการเคลื่อนต่อ
- การตรวจสอบของหน่วยงานในพื้นที่ได้แก่ สคบ.(สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) สสจ.(สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด) ควรร่วมมือและดำเนินการตรวจสอบผู้ค้ารายย่อย โดยเฉพาะรถเข็นขนมหน้าโรงเรียน
- การควบคุมกำกับฉลากก่อนออกจำหน่ายในตลาด ให้มีความชัดเจนเป็นภาษาไทยอ่านเข้าใจง่าย ทั้งคำเตือน อันตราย รวมถึงฉลากโภชนาการทีต้องระบุสารปรุงแต่งให้ชัด
- การควบคุมการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ได้แก่ ลดการโฆษณาจาก12นาทีเป็น 8 นาทีต่อชั่วโมง
- การสนับสนุนทางเลือกเพื่อการบริโภคที่ดีในโรงเรียน และชุมชน เช่นมีมาตรการที่ชัดเจนเรื่องโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม
- เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดสงขลา เครือข่ายอย.น้อย จะร่วมผลักดันมาตรการขนมเด็กทั้งในระดับนโยบาย และปฏิบัติการของพื้นที่ในการกำหนดรูปแบบฉลากที่เหมาะ คัดกรองขนมได้โดยง่ายว่าชนิดใดควรบริโภคเฉพาะกลุ่มและห้ามในกลุ่มใดบ้าง รวมถึงการติดตามผ่านสภาผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับทิศทางการจัดตั้งองค์การอิสระผู้บริโภคตามมาตรา 61 ในรัฐธรรมนูญปี 50
เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคจังหวัดสงขลา กลุ่มผู้บริโภคเข้มแข็งสงขลา กลุ่มพิทักษ์สิทธิคุ้มครองผู้บริโภคบ้านพรุ ชมรมส่งเสริมและคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดสงขลา กลุ่มไทรงาม โครงการบริโภคเพื่อชิวิตสงขลา เครือข่าย อย.น้อยแหลมทอง
วันที่ 22 กันยายน 2550
Relate topics
- รณรงค์เลิกใช้โฟม
- รายการสงขลามหาชน ตัวอย่างอาหารของแม่ ตอน " บทบาทของพ่อ " อาหารของแม่ สร้างความอบอุ่นของครอบครัวกับมื้ออร่อยที่แม่บรรจงปรุงเพื่อลูก
- ข่าวดีจะดัง ตอนที่ 265 โรงเรียนสุขภาพดี ของ อบต.ควนรู( http://youtu.be/KsuLA7Fguy8 )
- ข่าวดีจะดัง ตอนที่ 265 โรงเรียนสุขภาพดี ของ อบต.ควนรู(7 เม.ย 5…: http://youtu.be/KsuLA7Fguy8 )
- รายการอาหารของแม่ ตอน " อาหารคือภาคีและพื้นที่ " เปิดอร่อยด้วย ยำบัวบก สูตรสมุนไพรภูมิปัญญาถิ่น อบต.ท่าข้าม ของป้ายุพา ผลชนะ