บทความ

สิทธิผู้บริโภคเป็นอย่างไร

by twoseadj @July,11 2010 13.35 ( IP : 119...150 ) | Tags : บทความ

ผู้บริโภค คือใคร ?
ผู้บริโภค คือ คนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ ชาย หญิง ทุกเพศทุกวัย เพราะทุกคนต้องซื้อสินค้าหรือรับบริการทั้งสิ้น

สิทธิผู้บริโภคมีอะไรบ้าง ?

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 แก้ไข พ.ศ.2541 ซึ่งคุ้มครองทั้งเรื่องสินค้าและบริการ มาตรา 4 กำหนดว่า ผู้บริโภคทุกคนมีสิทธิได้รับความคุ้มครองใน 5 ประการ คือ

ข้อ 1 สิทธิในการรับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและพอเพียงเกี่ยวกับสินค้าและบริการ

ข้อ 2 สิทธิในการเลือกสินค้าและบริการอย่างอิสระ

ข้อ 3 สิทธิเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ

ข้อ 4 สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมจากการทำสัญญา

ข้อ 5 สิทธิในการรับการชดเชยความเสียหาย

นอกจากนี้ยังมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2551 ที่กำหนดสิทธิของผู้บริโภคไว้ใน มาตรา 51 **ว่าด้วยสิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค

ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย

ส่วนการคุ้มครองผู้บริโภคในแง่ของผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพจะมีหน่วยงานเฉพาะ คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รับผิดชอบโดยตรงในการกำกับดูแลและจะมีกฎหมายสารบัญญัติเฉพาะด้าน เช่น พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522  เป็นต้น

ล่าสุดที่เป็นการปฏิรูประบบคุ้มครองผู้บริโภค คือ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2551 มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 อันมีสาระสำคัญที่จะอำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคและมีความรวดเร็วในการพิจารณาคดี

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง