ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

ลูกพรุนอบแห้ง หวาน อันตรายมีโซเดียมไซคลาเมตตกค้าง

by twoseadj @July,10 2010 12.29 ( IP : 202...248 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 450x297 pixel , 57,780 bytes.

ปัจจุบันสารให้ความหวาน นับเป็นส่วนผสมสำคัญอีกชนิดในการผลิตอาหาร ประเด็นแรก คือ การใช้สารให้ความหวานจะมีต้นทุนในการผลิตน้อยกว่าน้ำตาลทราย ประเด็นที่สอง คือ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ที่ไม่ต้องการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลทรายมากเกินไป เนื่องจากกลัวอ้วนหรือต้องการควบคุมน้ำหนัก

นอกจากนี้ ยังสามารถนำมาพัฒนาเป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานอีกด้วย

สาร ให้ความหวานแทนน้ำตาลนั้นมีหลายชนิด มีทั้งชนิดที่สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติ และสังเคราะห์ด้วยวิธีทางเคมี ส่วนจะเลือกใช้ชนิดไหนนั้นแล้วแต่ผู้ผลิต  โซเดียมไซคลาเมต เป็นสารให้ความหวานหรือรสหวานชนิดหนึ่งที่มีมานาน

สำหรับ ประเทศไทยไม่อนุญาตให้ใช้ในการผลิตอาหารที่ขายในประเทศ แต่จะอนุญาตให้ใช้ได้กับอาหารที่ผลิตส่งออกเท่านั้น ซึ่งหากผู้ผลิตรายใดต้องการเติมโซเดียมไซคลาเมตลงในอาหารจะต้องขออนุญาตจาก อย.ก่อน จึงจะสามารถใช้เติมลงในอาหารได้

โซเดียมไซคลาเมต มีความหวานกว่าน้ำตาลไม่มากเมื่อเทียบกับสารตัวอื่นๆ คือ หวานกว่าน้ำตาล 30-50 เท่า เหมาะกับการใช้ในผลิตภัณฑ์ผลไม้ เพราะจะช่วยเสริมรสชาติของผลไม้และตัดรสเปรี้ยว จึงไม่แปลกที่วันนี้คอลัมน์มันมากับอาหารจะสุ่มตรวจสารชนิดนี้ในลูกพรุนอบแห้ง

ลูกพรุนอบแห้ง เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีธาตุเหล็ก โปแตสเซียม วิตามินบี และวิตามินซี อีกทั้งยังมีกากใยธรรมชาติจำนวนมาก ช่วยระบายและรักษาอาการท้องผูก เมื่อบ้านเรายังไม่สามารถหาลูกพรุนสดกินได้ จึงต้องซื้อแบบอบแห้งมารับประทานแทน หวังว่าร่างกายจะได้รับสารอาหารที่มีอยู่ในลูกพรุน แต่ตรงกันข้าม เมื่อผลวิเคราะห์ออกมาชัดเจนว่า วันนี้ผู้ผลิตเติมสารโซเดียมไซคลาเมต ลงในลูกพรุนอบแห้งเพื่อเพิ่มความหวาน

สถาบันอาหาร ได้ทำการสุ่มตัวอย่างลูกพรุนอบแห้ง จาก 5 ยี่ห้อในตลาดทั่วกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาการตกค้างของสาร โซเดียมไซคลาเมต

ผลปรากฏว่า ทุกตัวอย่างตรวจพบโซเดียมไซคลาเมตตกค้าง  คำอธิบายภาพ : pic4c3805847f820

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง