ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

"หมอ-รพ."ช็อก ! กม.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสธ. ลากหมอติดคุก-จ่ายค่าสินไหม โทษแรงกว่าในสหรัฐ

by twoseadj @July,05 2010 19.07 ( IP : 117...83 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 640x384 pixel , 28,320 bytes.

นายแพทย์-โรงพยาบาล ช็อก !พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข ลากหมอติดคุก-จ่ายสินไหม เลิกปรองดอง โทษแรงกว่าในสหรัฐ

ผู้สื่อข่าว"มติชนออนไลน์" รายงานว่า  เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา ในคอลัมน์ ถามตอบกับมีชัย ในเว็บไซต์ www.meechaithailand.com ของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตประธานวุฒิสมาชิก  ได้มีผู้ใช้นามแฝงว่า "หมอใต้ผู้ร่วมชะตากรรม "  ได้ถามปัญหาข้อกฎหมายเรื่อง  พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ฉบับที่ผู้เสียหายเป็นผู้ร่าง

"หมอใต้ผู้ร่วมชะตากรรม "  เปิดประเด็นว่า  เมื่อไม่นานมานี้ ได้ไปประชุมที่ส่วนกลาง ไปเห็น ร่าง พ.ร.บ.ฉบับหนึ่ง เมื่ออ่านแล้วตกใจ คิดว่าอาจารย์มีชัย คงเคยเห็น สาระสำคัญ มีดังนี้ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหาย จากการรับบริการ สาธารณสุข ฉบับ ที่ผู้เสีย หายเป็นผู้ร่าง ได้ผ่าน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 7 เมษายน 2553 และนำเข้าสู่สภา ผู้แทนราษฎร เมื่อเดือน พฤษภาคม 2553 แต่ยังไม่ถูกนำ มาพิจารณาเนื่องจากเกิด  เหตุการณ์ไม่สงบทางการ เมืองใน กรุงเทพ เสียก่อน สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ คือ

  1. สถานพยาบาล ที่ถูกร้อง ได้แก่  โรงพยาบาลของรัฐ ทุกแห่ง ทุกกระทรวง ทบวงกรม  โรงพยาบาลเอกชน คลินิกเอกชน สถาน พยาบาล สถานีอนามัย (Lab และ ร้านขายยา น่าจะอยู่ใน ข่ายด้วย)

  2. ผู้ให้บริการที่ถูกร้อง ได้ แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักเทคนิคการแพทย์ เภสัชกร และเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขอื่น ๆ

  3. คณะกรรมการ มี 21 คน มี รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน กรรมการโดย ตำแหน่ง คือ ปลัด และอธิบดี หลายกระทรวง 6 คน ตัวแทน สถานพยาบาล  3 คน ตัวแทน NGO 8  คน ไม่มีตัวแทนสภาวิชาชีพ แม้แต่คนเดียว และ เลขาฯ คือ อธิบดีกรมสนับสนุน และ เจ้าหน้าที่ 3 คน

  4. ตัดสินถูกผิด ชี้ขาด โดย เสียงข้างมาก ไม่เอาความเห็นด้านวิชาการมาร่วม พิจารณา

  5. กองทุนเงินชดเชย มาจาก    ​1. โอนมาจาก มาตรา 41 ของ สปสช.    2. สถานพยาบาลจ่ายสมทบ จะเพิ่มขึ้นอีกถ้าถูกร้องบ่อย  3. เงินอุดหนุนจากรัฐ บริหารโดย คณะกรรมการ 21 คน นี้

  6. ผู้เสียหาย ขอเงินชดเชย ได้ ใน 3 ปี นับแต่วันที่รู้ ว่ามีผลเสียต่อร่างกายจาก  การรักษา และขอได้อีกหลังจากนั้น ถ้าเกิด อาการใหม่ ไม่จำกัดครั้ง ใน 10 ปี

  7. จ่ายเงินชดเชย ขั้นต้น ภายใน 7 วัน ขั้นต่อมา พิสูจน์ ถูกผิด และตัดสินแล้ว จ่ายใน 30 วัน

  8. ถ้าผู้เสียหายพอใจ รับ เงิน และทำสัญญาประนี ประนอมยอมความ ถ้าไม่พอใจ มี 2 ทาง คือ อุทธรณ์ขอเงิน เพิ่ม ใน 30 วัน หรือ ฟ้องคดี อาญา แล้วขอรับเงินนี้ภาย หลังได้

  9. ฟ้องคดีอาญา แล้วชนะ - ผู้ ร้อง จะได้    1. เอาผู้ให้ บริการเข้าคุก    2. ได้เงิน สินไหมทดแทนทางแพ่ง

    เอาหมอติดคุก  แรงกว่า สหรัฐ

ขณะที่ผู้ถูกร้อง จะได้    1. ติด คุก  2. จ่ายเงินสินไหมทดแทนทาง แพ่ง จำนวนมาก  ​3. ถูกยึดใบ ประกอบวิชาชีพ ทำงานไม่ ได้  4. ถูกให้ออกจาก ราชการ ผิดวินัยร้ายแรง ไม่มีบำเหน็จบำนาญ  5. เข้า รับราชการอีกไม่ได้ เพราะ เคยถูกตัดสินคดีอาญา    ข้อ 3 ,  4 และ 5 มีผล อัตโนมัติ จาก การถูกตัดสินคดีอาญาผู้แพ้คดีและครอบครัวจาก การถูกฟ้องคดีอาญาเพียง ครั้งเดียว ก็ล้มละลาย ทั้งชีวิต  ใน ประเทศอินเดีย อังกฤษ อเมริกา และแคนนาดา ไม่มี การฟ้องคดีอาญาผู้ให้  บริการการรักษาช่วยชีวิต ผู้ป่วยมีเพียงฟ้องแพ่ง เท่านั้น

ร่างพ.ร.บ. ฉบับเต็ม เข้าดูได้ใน we b แพทย์สภา www.moph.go.th หรือ www.tmc.or.th ซึ่งจะมีฉบับร่างของ กระทรวงสาธารณสุขที่ทำมา 3 ปี รอเข้า ครม. ให้เปรียบ เทียบด้วย

" ..ผมในฐานะผู้ให้บริการอยู่ชนบทห่างไกลความเจริญ อยู่ด้วยความจริงใจต่อกันระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ มาด้วยดีมาตลอด เห็นอกเห็นใจกันอยู่ร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน...ถ้า  พ.ร.บ. ฉบับนี้ผ่านบังคับใช้ ผมมิอาจคาดเดาเลยว่าความเป็นคนไทยที่เอื้ออารีต่อกันจะเป็นอย่างไร  การมีความคุ้มครองผู้บริโภคนั้นเป็นสิ่งดีมาก แต่ควรเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย...ไม่เช่นนั้นจะเกิดมี พ.ร.บ..ฉบับผู้ให้บริการเป็นผู้ร่าง แล้วมันจะทะเลาะ ความปรองดองจะเกิดใด้อย่างไร....."

อาจารย์คิดว่าพอมีทางออกใดบ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย (ดูเหมือนว่าผู้ร่วมร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้มีอคติกับแพทย์และผู้ให้บริการมากเกินเหตุ)  ประเทศไทย เรากำลังจะปรองดองกันน่าจะมีทางออกที่ยอมรับกันได้บ้าง

มีชัย แนะ สภาวิชาชีพ ผลึกกำลังสู้

นายมีชัย ตอบคำถาม ผู้ใช้นามแฝงว่า "หมอใต้ผู้ร่วมชะตากรรม "  ว่า    สำหรับร่างกฎหมายที่เล่ามานั้น ผมไม่เคยเห็น ฟังจากที่คุณหมอเล่ามาก็น่าเป็นห่วงไม่น้อย ทุกวันนี้คนไทยลอกเลียนแบบฝรั่งมามากขึ้นทุกวัน เมื่อลอกมาแล้วก็ทิ้งสิ่งดี ๆ ของคนไทย หรือบางทีก็เอามาแทนที่ความดีงามที่มีอยู่ แต่เวลาเอาของเขามานั้น ไม่ได้เอามาทั้งหมด หากแต่เอามาแต่เฉพาะส่วนที่คิดว่าตนจะได้รับประโยชน์ บ้านเมืองจึงเสื่อมโทรมลงทุกที

ที่สำคัญก็คือ เราไม่อาจพึ่งพาสภาได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะสภาก็มัวแต่ยุ่งกับการชิงไหวชิงพริบกันในทางการเมือง โดยไม่มีใครดูรายละเอียดของกฎหมายที่จะผ่านสภา ถ้าปล่อยไปเฉย ๆ กฎหมายก็คงออกมาอย่างที่ NGO บางกลุ่มต้องการ เพราะสภาอาจนึกว่าการเอาใจกลุ่มคนเหล่านั้นจะทำให้ดูดี และได้คะแนนเสียง

ดังนั้น ทางแก้ก็คือ สภาวิชาชีพทั้งหมด ควรจะหารือกันแล้วออกมาบอกว่าร่างกฎหมายนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างไรกับสังคมในอนาคต และต้องทำในลักษณะผนึกกำลังกันให้เห็นว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ บางทีรัฐบาลและสภาอาจจะรอบคอบมากขึ้นก็ได้

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง