ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

พรีม่าอัดบัตรทองต้นเหตุใช้ยาเกิน สช.ดันปัญหาเข้า ครม.

by twoseadj @June,30 2010 15.01 ( IP : 202...244 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 290x300 pixel , 20,966 bytes.

พรีม่า ยัน หลักส่งเสริมการตลาดบริษัทยา ไม่มีผลต่อการใช้ยาเกิน อัดระบบบัตรทองเป็นสาเหตุหลัก ด้าน กพย.ชี้ หลักเกณฑ์ของพรีม่าไม่ครอบคลุมบริษัทยาได้หมด เหตุสมาชิกมีไม่มากนัก เผย สช.เตรียมชงยุทธศาสตร์ยุติการขายยาขาดจริยธรรม เข้า ครม.
      ภก.ธีระ ฉกาจนโรดม นายกสมาคมผู้วิจัยและผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ หรือ พรีม่า (PReMA) กล่าวในงานแถลงข่าวเรื่อง สัปดาห์รณรงค์จริยธรรมการขาย ระหว่างวันที่ 5-9 กรกฎาคม 2553 ว่า สมาคมให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการตลาดเภสัชภัณฑ์ ที่เน้นจริยธรรมมากขึ้น โดยปรับปรุงหลักเกณฑ์ทางการขายและการตลาด ฉบับที่ 8 พ.ศ.2551 เพื่อควบคุมการส่งเสริมการขายของบริษัทด้านอุตสาหกรรมยาที่เป็นสมาชิก ซึ่งหลักเกณฑ์โดยรวมนั้น มุ่งเน้นการยกระดับความรู้ทางการแพทย์ และคุณภาพการใช้ยาให้มีศักยภาพมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้จะต้องไม่นำความเสื่อมเสียมาสู่อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์
      ภก. ธีระ กล่าวด้วยว่า บทลงโทษบริษัทที่ละเมิดหลักเกณฑ์ทางการขายจะต้องถูกปรับครั้งละไม่เกิน 100,000 บาทหากทำผิดครั้งแรก และปรับไม่เกิน 500,000 บาทหากมีความผิดครั้งที่สอง หากบริษัทใดมีความผิดขั้นรุนแรง จะต้องถูกปรับพร้อมกับปลดผู้บริหาร
      นายกพรีม่า ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า การส่งเสริมการขายนั้นจะไม่ส่งผลต่อการใช้ยาเกินความจำเป็นแต่อย่างใด และอยากให้พึงรู้ และพิจารณาว่าปัญหาการใช้ยาเกินความจำเป็นนั้นอาจเกิดจากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ บัตรทอง ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ดูแลคนไทยส่งผลให้ทุกคนได้รับยากันหมด โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ผู้ป่วยที่ไปใช้บริการในโรงพยาบาลก็จะได้รับยากันหมด และคาดว่า สถานการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลต่องบประมาณด้านยาใน
      ด้าน พญ.กิติตมา ยุทธวงศ์ ประธานบริหารพรีม่า กล่าวว่า ประโยชน์จากการใช้หลักจริยธรรมทางการขายที่มีนั้น จะมีผลทั้งในผู้ใช้ยา คือ ได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับยาที่ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และในส่วนของผู้สั่งยานั้นจะมีการปฏิบัติงานโดยไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของประโยชน์ หรือสัมพันธ์กับภาพผู้แทนเวชภัณฑ์ ส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ของวิชาชีพที่ได้รับการไว้วางใจจากสังคม และสุดท้ายผู้ป่วยเองก็จะได้รับความมั่นใจจากการบริการของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งแนวทางในการจ่ายยารักษาโรคนั้นจะอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์
      ขณะ ผศ. นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) กล่าวว่า หลักเกณฑ์ดังกล่าวของพรีม่าไม่สามารถควบคุมบริษัทยาได้ทั้งหมด เนื่องจากมีสมาชิกไม่มากนัก ทั้งนี้ ในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเมื่อเดือน ธ.ค.2552 ที่ผ่านมา ได้มีมติขอให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) นำเสนอยุทธศาสตร์ยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรมต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อที่จะได้พิจารณาจัดตั้งคณะทำงานจากทุกภาคส่วน เข้ามาทำหน้าที่ออกเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยา และควบคุมไม่ให้ บริษัทยาประพฤติผิด ซึ่ง สช.จะนำเข้า ครม.เร็วๆ นี้

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง