นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากการสำรวจสุขภาวะเด็กไทยอายุ 6-15 ปี ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 พบว่าเด็กไทยส่วนใหญ่นิยมบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพร่างกาย เช่น พบว่านิยมดื่มน้ำอัดลม น้ำหวานสูงถึงร้อยละ 97.54 ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก ในขณะเดียวกันก็นิยมรับประทานขนมกรุบกรอบสูงถึงร้อยละ 97.6 ซึ่งพฤติกรรมการบริโภคลักษณะนี้ที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคอ้วน นำไปสู่การเป็นโรคเรื้อรังต่อไปในอนาคตได้ เช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือด คณะรัฐมนตรีจึงมีมติตั้งเป้าไว้ว่าภายในปี 2554 จะต้องทำให้เด็กมีพฤติกรรมการบริโภคหรือมีพฤติกรรมตามแนวสุขบัญญัติ กำหนดไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ซึ่งประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น มีหลายประการ อาทิ จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ภูมิต้านทานโรค ช่วยให้เด็กไม่เจ็บป่วยได้ง่าย จะช่วยเพิ่มสมรรถภาพในการเรียน จะช่วยให้เด็กเยาวชนมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ และช่วยให้เด็กอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุขทั้งนี้
ทั้งนี้ ในวันที่ 10 มิถุนายน กระทรวงสาธารณสุข จะจัดงานสุขบัญญัติแห่งชาติ ประจำปี 2553 ที่ห้องโถงใต้อาคาร 3 ชั้น 1 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่เวลา 09.00 – 15.00 น. ภายใต้แนวคิดว่า เด็กยุคใหม่ใส่ใจสุขบัญญัติ โดยกำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนไว้ 4 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1. ยุทธศาสตร์ที่เน้นการส่งเสริมและการสร้างองค์ความรู้และการพัฒนาพฤติกรรมด้านสุขภาพ 2. ยุทธศาสตร์ในการสร้างโอกาสและการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ การเข้าถึงในเรื่องการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ 3. ยุทธศาสตร์การสร้างลักษณะนิสัยให้นำไปสู่แนวปฏิบัติที่ถูกต้องตามสุขบัญญัติ และ4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและผลักดันนโยบายเพื่อเดินหน้าไปสู่เป้าหมายต่อไป นายจุรินทร์กล่าว
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)