ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

สธ.เตือนระวังภัยจาก"ขยะอันตราย"ในบ้านเรือน เสี่ยงมะเร็ง กระดูกผุ ปอดพัง ไตวาย

by twoseadj @June,04 2010 12.59 ( IP : 202...244 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 190x166 pixel , 16,657 bytes.

ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันที่ 5 มิถุนายน 2553 เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก กระทรวงสาธารณสุข มีความห่วงใยเรื่องขยะ โดยเฉพาะขยะอันตรายที่เกิดจากครัวเรือน ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่ใช้กันมากเช่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีทำความสะอาด ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ ซากเครื่องใช้ไฟฟ้า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ขยะเหล่านี้มีสารเคมีตกค้าง เป็นอันตรายทั้งต่อสุขภาพคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมทั้งดิน น้ำ อากาศ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว


ดร.พรรณสิริ กล่าวว่า ในปี 2546 พบขยะอันตรายจากชุมชนปีละประมาณ 4 แสนตัน  กว่าครึ่งเกิดในกทม.ปริมณฑลและภาคกลาง ขยะเหล่านี้ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีน้อยมาก กระทรวงสาธารณสุขไม่แนะนำให้ประชาชนกำจัดขยะอันตรายด้วยตนเอง แต่แนะนำให้แยกขยะอันตรายออกจากขยะทั่วไป โดยหน่วยงานที่มีหน้าที่กำจัดขยะ ควรจะจัดถังหรือถุงขยะสีส้ม ซึ่งเป็นสีสัญลักษณ์ของขยะอันตราย และรณรงค์ให้ประชาชนนำขยะอันตรายใส่ถุงสีส้มเพื่อแยกขยะอันตรายออกจากขยะมูลฝอยทั่วไป  ซึ่งจะเป็นการลดการแพร่กระจายของสารพิษสู่สิ่งแวดล้อมและประชาชน เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยยังมีการตื่นตัวกับขยะอันตรายน้อยมาก


ทางด้านนายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่า ขยะอันตรายหมายถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้แล้วแต่ยังมีสารเคมีอันตรายหลงเหลืออยู่ เช่นกระป๋องสเปรย์ ภาชนะบรรจุสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีทำสะอาด สารเคลือบเงาต่างๆ ซากถ่านไฟฉาย หลอดไฟ ซากเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยซากขยะเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จะมีสารโบรมีน ทำให้เกิดโรคมะเร็ง ถ่านไฟฉายมีสารแคดเมียม เป็นอันตรายต่อโครงสร้างของกระดูก ปอด ไต อาจเกิดไตวายได้  หลอดไฟฟ้ามีสารปรอท เป็นอันตรายต่อระบบประสาท แบตเตอร์รี่มีสารตะกั่วทำลายเม็ดเลือดแดง ทำให้พัฒนาการสมองในเด็กช้าลง สติปัญญาด้อยลง


กลุ่มที่เสี่ยงสัมผัสขยะอันตรายได้แก่ กลุ่มที่มีอาชีพเก็บหรือรับซื้อของเก่า หรือที่เรียกว่าซาเล๊ง มักนำภาชนะบรรจุสารเคมีไปล้าง แล้วเทสารเคมีที่ยังเหลืออยู่ลงดินหรือลงน้ำ ทำให้ดินและน้ำปนเปื้อนสารพิษ  ขอให้งดการกระทำดังกล่าว ให้นำไปทิ้งในที่ที่เทศบาลหรืออบต.จัดไว้ให้ และไม่ควรรับซื้อภาชนะดังกล่าว ขณะคัดแยกขยะควรใส่ถุงมือยางและใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกสารพิษ  เพราะสารพิษบางตัวซึมผ่านผิวหนังได้

นายแพทย์มานิตกล่าวต่อว่า ในการป้องกันขยะอันตราย สำหรับประชาชนทั่วไป ก่อนทิ้งให้แยกขยะอันตรายออกจากขยะทั่วไป ควรเลือกใช้สารจากธรรมชาติแทนสารเคมี เช่นน้ำหมักจุลินทรีย์  ใช้สมุนไพรป้องกันแมลง และช่วยเป็นหูเป็นตาเฝ้าระวังขยะอันตรายในชุมชน เช่นหากมีการนำขยะอันตรายมาทิ้งในชุมชน ให้รีบแจ้งหน่วยงานท้องถิ่นหรือเกี่ยวข้องให้ทราบเพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป โดยกระทรวงสาธารณสุขจะทำการศึกษาผลกระทบทางสุขภาพและแนวทางการจัดการขยะอันตรายจากชุมชนในเร็วๆนี้ เพื่อกำหนดมาตรการแก้ไขป้องกันอันตรายจากขยะเหล่านี้ต่อไป

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง