ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

"บัวบก-ตะไคร้"ยับยั้งการเติบโตเซลล์มะเร็ง

by twoseadj @May,31 2010 15.08 ( IP : 124...243 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 356x269 pixel , 75,906 bytes.

ศ.ดร.อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะนักวิจัยโครงการสมองไหลกลับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวเมื่อวันที่ 31 พ.ค.ถึงงานวิจัยบัวบกและตะไคร้พืชสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ว่า จากการทดสอบการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากบัวบกและตะไคร้ต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในหนูขาว พบว่าสารสกัดจากบัวบกและตะไคร้มีฤทธิ์ป้องกันและยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างดี โดยกลุ่มหนูขาวที่ถูกกระตุ้นให้เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หลังจากการได้รับสารก่อมะเร็งปนเปื้อนในอาหารประเภทปิ้งย่าง ตรวจพบจำนวนเซลล์ก่อมะเร็งขนาดใหญ่และมีเซลล์มะเร็งที่มีลักษณะเป็นเซลล์ร้ายและลุกลาม ขณะที่กลุ่มหนูขาวซึ่งได้รับสารสกัดจากใบบัวบกหรือตะไคร้ไม่ว่าก่อนหรือหลังถูกกระตุ้นให้เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบจำนวนเซลล์ก่อมะเร็งลดลงถึงร้อยละ 60 โดยเซลล์มีขนาดเล็กกว่าและไม่เกิดการลุกลาม

ศ.ดร.อุษณีย์ กล่าวว่า ในสารสกัดบัวบกมีกรดอะเซียติก (Asiatic acid) ที่เป็นสารออกฤทธิ์ทำให้เซลล์มะเร็งเกิดการทำลายตัวเอง ส่วนสารสกัดจากตะไคร้นั้นพบสารสำคัญ คือ ซิทรอล (citral) ที่มีฤทธิ์หยุดวงจรการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นการค้นพบครั้งแรกสำหรับคุณสมบัติข้อนี้ของตะไคร้ นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังใช้เทคนิค HPLC fingerprint ในการกำหนดและควบคุมสารที่สกัดจากบัวบกหรือตะไคร้ให้มีปริมาณความเข้มข้นของสารสำคัญที่แน่นอน สม่ำเสมอ ปลอดภัย และได้มาตรฐานจึงเหมาะต่อการนำไปใช้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ เนื่องจากสมุนไพรส่วนใหญ่โดยธรรมชาติมักจะมีปริมาณสารสำคัญเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล

"เพื่อให้สามารถกำหนดปริมาณในการบริโภคสารสกัดจากบัวบกหรือตะไคร้สำหรับป้องกันมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิผล ทีมวิจัยยังได้เจาะเลือดหนูขาวมาทำการศึกษา วัดอัตราและขอบเขตการออกฤทธิ์ของสารออกฤทธิ์ภายหลังการป้อนสารสกัดมาตรฐานจากบัวบกหรือตะไคร้ โดยพบว่า หนูขาวสามารถดูดซึมสารสำคัญได้ในเวลา 10 นาที และเพิ่มปริมาณสูงสุดที่เวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นสารสกัดจะค่อยๆ ลดลงจนระทั่งหายไปจากซีรั่มภายใน 6 ชั่วโมง ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้คำนวณสำหรับวางแผนวิจัยเชิงคลินิกในอาสาสมัคร สำหรับหาปริมาณการบริโภคที่เหมาะสมในมนุษย์ต่อไป" ศ.ดร.อุษณีย์ กล่าว

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง