สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล เตือนผู้บริโภคเลือกเครื่องดื่มรังนกที่มีเครื่องหมาย อย. และขอความร่วมมือผู้ประกอบการผลิตเครื่องดื่มรังนกที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน
นายแพทย์สำรวม ด่านประชันกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสตูล เปิดเผยว่า มีประชาชนผู้บริโภคร้องเรียนว่า มีอาการท้องเสียและปวดท้องหลังจากการบริโภคเครื่องดื่มรังนกที่ไม่มีเครื่อง หมาย อย. รับรอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล ได้ตรวจสอบพบว่าในท้องตลาดมีเครื่องดื่มรังนกจำหน่ายให้ผู้บริโภคและมีฉลาก ไม่ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งแสดงว่าเครื่องดื่มรังนกดังกล่าว ยังไม่มีการขออนุญาตผลิต และผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่สถานที่ผลิตนั้นตั้งอยู่ เมื่อมีการซื้อมาบริโภคจึงอาจได้รับอันตรายจากสิ่งปนเปื้อนที่เจือปนมาใน เครื่องดื่มนั้น ๆ โดยเฉพาะเชื้อจุลินทรีย์และรังนกที่กล่าวอ้างอาจไม่ใช่รังนกแท้
ดังนั้นในการเลือกเครื่องดื่มรังนกเพื่อบริโภค จึงต้องอ่านฉลากก่อนซื้อ รายละเอียดที่จะต้องมีในฉลาก ได้แก่ ชื่ออาหาร เลขสารบบอาหาร ส่วนประกอบที่สำคัญเป็นร้อยละ ของน้ำหนักอาหาร ปริมาณ ชื่อและที่ตั้ง สถานที่ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ หรือวันเดือนปีที่ควรบริโภคก่อน มีข้อความแสดงใช้วัตถุกันเสีย การแต่งกลิ่นของรสอาหาร และคำแนะนำในการเก็บรักษา สำหรับผู้ประกอบการผลิตจำหน่ายเครื่องดื่มรังนกที่มีฉลากไม่ถูกต้อง จะมีความผิตต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท และหากรังนกที่เป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มนั้น มิใช่รังนกแท้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 - 1 แสนบาท ดังนั้นหากผู้ประกอบการผลิตเครื่องดื่มรังนกในจังหวัดสตูลสนใจที่จะขอรับ มาตรฐานการผลิต สามารถขอรับคำแนะนำได้จากกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล โทรศัพท์ 0-7472-3566
ที่มา: ผู้สื่อข่าว : สตูล(สวท.)
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)