บทความ

แอร์ฆ่าเชื้อโรคจำเป็นขนาดไหน

by twoseadj @May,06 2010 09.20 ( IP : 202...245 ) | Tags : บทความ , แอร์ , แอร์ฆ่าเชื้อโรค
photo  , 600x408 pixel , 31,276 bytes.

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาปรากฎโฆษณาผ่านสื่อมวลชน มีการเผยแพร่โฆษณาเกี่ยวกับ"แอร์ฆ่าเชื้อโรค" เนื่องจากมีเครื่องปรับอากาศหลายยี่ห้อได้เสนอทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้บริโภคโดยอ้างว่า สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ท้้งแบคทีเรียและไวรัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคระบาดต่างๆ เช่น SAR หรือไวรัสไขหวัดใหญ่ 2009 เป็นต้น แอร์ฆ่าเชื้อโรคมีจริงหรือไม่? ทำไมมีโฆษณาแอร์ที่มีระบบฆ่าเชื้อด้วย ?

เชื้อโรคกับ ฟิลเตอร์
    "เชื้อ" หรือ"เชื้อโรค" ที่ทุกคนเข้าใจกันเป็นส่วนใหญ่คงจะหมายถึง จุลลินทรีย์ต่างๆที่ก่อให้เกิดโรคได้ ที่เรารู้จักกันดีก็ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส รา ยีสต์ เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงจุลินทรีย์นั้นมีอยู่ทั่วไป ทุกที่ ทุกเวลา และทุกชนิดที่กล่าวมา ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เป็นอันตรายต่อมนุษย์ คือ ไม่ก่อให้เกิดโรค เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคจริงๆ ก็สามารถพบได้ด้วยแต่จะมีน้อยอยู่มาก และโดยเฉพาะในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก จะพบได้น้อยมากๆ

    ถ้าถามว่า แอร์ฆ่าเชื้อโรคมีจริงหรือไม่ ต้องตอบว่า มี แต่พวกที่สามารถฆ่าเชื้อหรือกรองเชื้ออย่างละเอียดนั้นจะไม่ได้มีใช้ในบ้านหรือทั่วไป แต่จะมีใช้เฉพาะแห่งเท่านั้น เช่นในห้องที่ต้องการปลอดเชื้อปลอดฝุ่นอย่างมาก เช่น ห้องผ่าตัด ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ห้องวิจัย ห้องทำแผงวงจรต่างๆ เป็นต้น เนื่องจากเครื่องเหล่านี้จะมีราคาแพงมาก บางครั้งเครื่องฆ่าเชื้อโรคหรือดักฝุ่น อาจไม่อยู่รวมกับเครื่องปรับอากาศ แต่จะแยกต่างหากเป็นระบบกำจัดเชื้อจากอากาศ

    กลไกในการกำจัดจุลินทรีย์ที่มีในเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศที่นิยมใช้คือ การกรองด้วยฟลิเตอร์ ฟิลเตอร์ที่ใช้นี้จะไม่ใช่ฟิลเตอร์ที่กรองฝุ่นที่ติดมากับเครื่องปรับอากาศ ลักษณะจะเป็นคล้ายฟองน้ำบางๆมีรูพรุน หากส่องแสงจะเห็นแสงลอดออกมาได้ หรืออาจเป็นฟิลเตอร์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายมุ้งลวดพลาสติก ฟิลเตอร์ที่ติดมากับเครื่องในลักษณะนี้จะไม่สามารถกรองจุลินทรีย์ได้เลย เนื่องจากจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กมากที่มองด้วยตาปลาไม่เห็น(เฉลี่ยจะมีขนาดประมาณ 1 ไมครอนหรือ 1/1000 มิลลิเมตร) และจะหลุดรอดฟิวเตอร์ได้ทั้งหมด ฟิลเตอร์ที่จะกรองจุลินทรีย์ได้นั้นจะต้องเป็นฟิลเตอร์เฉพาะที่เรียกว่า HEPA filter(High Efficient Particulate Absorbing filter) มีลักษณะคล้ายกับไส้กรองอากาศในอากาศในรถยนต์ (แบบที่เป็นใยสีขาว) แต่จะมีจำนวนชั้นเรียงทบกันหนากว่า สามารถกรองอนุภาคฝุ่น แบคทีเรีย รา ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า 0.3 ไมครอนได้ อย่างไรก็ตามฟิวเตอร์ชนิดนี้จะไม่สามารถกรองไวรัสได้(ฟิวเตอร์ที่จะกรองไวรัสได้ต้องมีขนาด 0.1 ไมครอน)

  HEPA filter นั้นจะมีราคาแพง ในประเทศอเมริกา HEPA filter หนึ่งตารางฟุตหรือ 30 ซม.X30 ซม. หนา 2 นิ้ว ราคาประมาณ 3,000 บาทและเช่นเดียวกับฟิลเตอร์ต่างๆ HEPA filter ก็มีอายุการใช้งานด้วย แม้เครื่องปรับอากาศจะมีระบบกรอง HEPA filter นั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า จะใช้ได้ตลอดจะต้องมีการเปลี่ยนด้วย(ไม่สามารถล้างได้) และถ้าไม่เปลี่ยนก็จะไม่มีประสิทธิภาพในการดักจับจุลินทรีย์ได้อีกต่อไป

  อีกวิธีการหนึ่งที่มีการโฆษณาว่าใช้ระบบไอออนเพื่อฆ่าเชื้อรวมทั้งกำจัดกลิ่น หลักการทำงานของระบบไอออนนี้ ก็คือจะสลายน้ำเพื่อให้ได้อนุมูลออกซิเจน(O2-)ซึ่งจะมีประจุลบและอนุมูลไฮดรอกซิล(OH-)ซึ่งอนุมูลทั้งสองนี้จะเป็นอนุมูลอิสระ สามารถทำปฏิกิริยากับโปรตีนหรือพอลิแซกคาไรด์ที่เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์หรือผิวของแบคทีเรียหรือไวรัสทำให้เกิดการทำลายแบคทีเรียหรือไวรัสได้ อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีรายงานคำยืนยันใดๆจากนักวิชาการอิสะ(ที่มิใช่ผู้ผลิต) ที่ยืนยันคุณภาพอากาศดีขึ้น จากการใช้เครื่องปรับอากาศแบบนี้ นอกจากนี้ในทางเดินหายใจของมนุษย์เราจะมีโปรตีน เช่นเดียวกัน จึงยังเป็นที่ถกเถียงกันต่อไปอีกว่า จะมีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของคนด้วยหรือไม่

แอร์ไม่ได้มีไว้ฟอกอากาศ

    ผู้บริโภคจำเป็นต้องเข้าใจอย่างหนึ่ง คือ ในทุกที่บนโลกจะมีจุลินทรีย์อยู่แล้ว ในดิน ในน้ำ ในอากาศ มากน้อยแตกต่างกัน พบได้ทั้งในบ้าน ในห้องนอน ห้องน้ำ ที่ทำงาน ห้องเลี้ยงเด็ก  จุลินทรีย์ส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่ไม่ก่อโรค ดังนั้น แม้ว่าจะมีแอร์หรือเครื่องฟอกอากาศ ที่สามารถทำงานได้จริงตามที่กล่าวอ้าง ก็จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะเมื่อเปิดประตูห้องออกไป เราก็จะเจอกับจุลินทรีย์สารพัดชนิด และที่สำคัญ คือ** เมื่อเราเปิดประตูห้อง จุลินทรีย์จากภายนอกก็จะปะปนเข้ามาในห้องได้ใหม่ และถ้าเป็นห้องที่เปิดเข้า เปิดออกบ่อยครั้ง แอร์ฆ่าเชื้อโรคยิ่งจะไม่มีประโยชน์เลยแม้แต่น้อย หรือพุดอีกนัยยะหนึ่ง คือ ไม่มีวันฆ่าเชื้อโรคได้หมดนั่นเอง** และต่อให้ในห้องมีแอร์ฆ่าเชื้อดรคได้ หากคนที่นั่งข้างๆหรือคนในห้องเป็นหวัด 2009 เราคงมีโอกาสติดได้มากเช่นเดียวกันได้

  ดังนั้นในนการเลือกซื้อแอร์ สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา คือ ประโยชน์ที่สำคัญของแอร์นั่นเอง คือเป็นเครื่องทำความเย็นให้แก่ห้อง การเลือกซื้อ จึงควรให้ความสนใจในเรื่อง ความสามารถในการทำความเย็น อัตราการใช้ไฟ(ควรเป็นเบอร์ 5) หรือความเงียบในการทำงานมากกว่า ส่วนเรื่องของการฆ่าเชื้อ น่าจะเป็นเรื่องรอง ซึ่งเป๋นเรื่องของการฆ่าเชื้อ น่าจะเป็นเรื่องรอง ซึ่งเป็นเรื่องการเพิ่มมูลค่าและความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดของผู้ผลิต และจะทำให้เครื่องมีราคาแพงมากขึ้นโดยได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า แต่ถ้าผู้บริโภคยังยืนยันที่จะต้องการฆ่าเชื้อโรคในอากาศ เครื่องฟอกอากาศ น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

โดย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กอบชัย ภัทรกุลวณิชย์

ที่มา:วารสารฉลาดซื้อ ปีที่ 16 ฉบับที่ 110 เดือนเมษายน 2553

Comment #1
เกียรติศักดิ์ จรรยาวิลาส
Posted @June,09 2010 16.46 ip : 202...102

การฆ่าเชื้อโรคทางอากาศโดยการใช้อนุภาค plasmacluster เป็นเรื่องวิจัยพบใหม่ก็จริง แต่หลักการของ ion ได้ถูกนำมาใช้นานกว่า 30 ปี โดยที่ไม่มีผลรายงานอาการพิษเกิดขึ้นแต่อย่างใด  +++  ระบบ plasmacluster เป็นการพ่นอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ + กับ - ออกมานอกเครื่องปรับอากาศ  อนุภาค2ตัวนี้รวมตัวเป็น active hydroxyl ที่ไม่เสถียรภาพ อยู่ได้แค่ 5 วินาทีเท่านั้น เมื่อ active hydroxyl ไปเจอผนังเซลล์เชื้อโรคในอากาศ ก็สามารถไปดึง ไฮโดรเจนอะตอม ออกจากผนังเซลล์เชื้อโรค ทำให้เชื้อโรคแตกสลายทันที

ถามว่าผนังเซลล์เชื้อโรคมีโครงสร้างโปรตีนก็จริง แต่เป็นโครงสร้างง่ายๆ ไม่ซํบซ้อนเหมือนของคน แถมมีการปกคลุมด้วยผนังกำพร้าและ keratin (หน้าบางคน จึงหนามาก เพราะเหตุนี้)  active hydroxyl จึงไม่สามารถเข้าไปมีผลต่อร่างกายได้  ส่วนในเยื่อบุทางเดินหายใจ ตา ก็จะมีเมือก สารคัดหลั่งต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งปกป้องไม่ให้ active hydroxyl ไปสัมผัสกับเซลล์ร่างกายโดยตรง ประกอบกับช่วงอายุแค่ 5 วินาที +++ จึงถือว่ามีความปลอดภัยในการใช้งานต่อคน

ทางผู้ผลิตเองก็ได้มีการทำทดสอบเพิ่มเติมด้านความปลอดภัย โดยพ่นอนุภาค plasmacluster เข้าไปในปริมาณมหาศาล นานๆ ต่อดวงตา ปอด ผิวหนัง ของสัตว์ทดลอง ไม่พบสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นแต่อย่างใด

ผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบ plasmacluster มีจากสถาบันวิจัยนานาชาติกว่า 10 แห่ง และมีสถาบันการแพทย์ในประเทศอีก 2 แห่ง +++ ได้รับการยอมรับจาก 20 บริษัทฯชั้นนำทั่วโลก นำไปใช้ในสินค้าของตัวเอง กว่า 20 ล้านยูนิต +++

รายละเอียดเพิ่มเติม ดูได้ที่ www.sharp-pci.com


เชื้อที่ถูกยืนยันว่าทำลายด้วยอนุภาค plasmacluster มีมากกว่า 30 สายพันธุ์ รวมถึง เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ เชื้อวัณโรค เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เชื้อไวรัสไข้หวัดนก เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย

http://www.icnurse.org/webboard/webboardDetail.php?detailID=825


สำหรับเครื่องปรับอากาศทั่วไป ที่ใช้แผ่นกรอง ขนาดเล็ก อาศัยแรงดูดลมเข้าเครื่อง อีกทั้งการไม่เปลี่ยนแผ่นเมื่อตัน ทำให้ประสิทธิภาพการฟอกอากาศจากเครื่องปรับอากาศแทบไม่มีนัยสำคัญต่อการทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้นเอง  ถึงผู้ผลิตจะเอาระบบกรองหลายขั้นมาช่วย รวมถึงการเอาระบบ UV เข้ามาทำลายเชื้อโรคในเครื่อง ดูเหมือนข้อจำกัดของการทำงานระบบปรับอากาศ ทำให้ประโยชน์การกรองการฟอกอากาศน้อยลงไปมาก +++ นั่นคือเรื่องที่เป็นอดีตไปแล้ว เทคโนโลยี่ใหม่ถูกคิดค้นขึ้นมา และปฎิวัติการฆ่าทำลายเชื้อโรค โดยไม่ต้องใช้แผ่นกรอง และสามารถทำลายเชื้อโรคในอากาศทันที ณ จุดปะทะ ทำให้อากาศมีคุณภาพดีขึ้น ถึงจะกังวลเรื่องมลพิษจะไหลเข้ามาในบ้านก็ตาม เพราะ การทำลายเชื้อโรคเกิดขึ้นได้ทันทีที่จุดปะทะในอากาศ (ไม่ต้องรอดูดมลพิษเข้าเครื่องอีกต่อไปแล้ว)

จากการทดสอบของดร.เมลวิน แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศอเมริกา ทดสอบพ่นอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ในห้องผู้ป่วยเสมือนจริง พบว่าอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์สามารถทำลายเชื้อโรคตัวอย่างในห้องขนาดนั้นได้ถึง 99% ในเวลา 38 นาที นับว่าเป็นมิติใหม่ของการใช้ระบบฆ่าเชื้อโรคในอากาศ ที่สามารถใช้ในพื้นที่ที่มีคนทำงานอยู่ด้วย

http://www.webboard.acat.or.th/index.php?topic=153.msg445;topicseen#msg445


ความเห็นแพทย์ในการนำระบบฆ่าเชื้อโรคมาใช้

http://www.icnurse.org/webboard/webboardDetail.php?detailID=834


*** อีกประโยชน์หนึ่งคือ อนุภาค plasmacluster สามารถสลายสารภูมิแพ้ในอากาศได้ มีผลทำให้ผู้มีปัญหาภูมิแพ้ช่วยลดอาการภูมิแพ้ที่สร้างปัญหาขึ้นได้ โดยระบบ plasmacluster ได้ถูกทดสอบในหลักการว่า สามารถแปรสภาพของสารภูมิแพ้ให้หมดฤทธิ์และไม่ทำให้เกิดปฎิกริยาภูมิแพ้ต่อร่างกาย *** ผลการทดสอบกับตัวอย่าง mast cell ของหนู และ ตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ในอิสราเอล ก็พบว่า อนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ ทำให้อาการภูมิแพ้ลดน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p

Comment #2
Mrjirasakdi
Posted @October,06 2010 17.46 ip : 110...121

Medical research of Plasmacluster against Tuberculosis , bacteria and fungi from Thailand Research Team...

http://www.youtube.com/watch?v=cBxSJhkxY5I&feature=player_embedded

The technology may be used for risk reduction of airborne germs ... The further test is useful for reducing the high risk contamination among professor.

Comment #3
Mrjirasakdi
Posted @December,28 2010 09.48 ip : 202...108

กลไกการทำลายเชื้อแบคทีเรียของอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์

(Bactericidal effects of plasma-generated cluster ions)

ตีพิมพ์ใน Abstract ของวารสารการแพทย์  Med.Biol.Eng.Comput.,2005,43,800-807

Diget , A.Temiz Artmann , K.Nishikawa , M.Cook , E.Kurulgan , G.M.Artmann

University of Applied Sciences, Aachen , Germany Sharp Corporation , Japan

ระบบพลาสม่าคลัสเตอร์เป็นการพ่นอนุภาค + และ – ออกมา  จากผลการทดสอบที่ผ่านมาหลายๆครั้งยืนยันได้ว่าเป็นอาวุธอย่างดีในการทำลายเชื้อโรคหลากหลายสายพันธุ์  แต่เราก็ยังไม่ทราบกลไกการทำงานอย่างกว้างขวางนัก  วัตถุประสงค์ของการทดสอบครั้งนี้เป็นการศึกษาวิธีการทำงานและประสิทธิภาพการทำลายเชื้อโรคของอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ที่มีต่อเชื้อโรคทั่วไปในครัวเรือน  จากการทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของอนุภาคที่ถูกพ่นออกมากับระยะเวลาที่ใช้ต่อเชื้อแบคทีเรียชนิด Staphylococcus, Enterococcus, Micrococcus และ Bacillus  เราพบว่าปฎิกริยาการทำลายเกิดขึ้นทันทีภายในไม่กี่นาทีแรกของการพ่นอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์  รวมถึงการทำลายเชื้อโรค 99.9% อย่างถาวรภายในเวลา 2-8 ชั่วโมง  ผลการทำลายได้เกิดขึ้นที่ผนังเซลล์ของเชื้อโรค  ซึ่งเราใช้จากการตรวจสอบแบบเทคนิค SOS PAGE และ 2D PAGE    จึงได้บันทึกถึงการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนชั้นนอกที่ผนังเชื้อโรค  รวมถึงการบันทึกผลต่อการสูญสลายไปทั้ง DNA และ cytoplasm ด้วย  ยืนยันได้ว่าอนุภาคพลาม่าคลัสเตอร์ไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของผนังเชื้อโรคด้วยปฎิกริยาทางเคมี  โดย active hydroxyl ที่เกิดขึ้นมีผลทำให้ผนังโปรตีนของเชื้อโรคถูกทำลายไป    ขณะเดียวกันกับการสูญสลายของ DNA ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำงานของอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์แต่อย่างใด  ข้อมูลการทดสอบครั้งนี้จึงเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการนำระบบฆ่าเชื้อโรคนี้ไปทำให้เกิดประสิทธิผลในการประยุกต์ใช้กับเครื่องมือได้ดีขึ้น

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง