กรณีศึกษา - ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

รวบรวมข่าวที่เกิดขึ้นในสังคม พร้อมวิเคราะห์ปัญหา แนวทางแก้ไข

กรณีศึกษา สารดูดความชื้นในซองอาหารอันตราย กินแล้วอาจตายได้

by twoseadj @May,01 2010 12.16 ( IP : 183...251 ) | Tags : กรณีศึกษา - ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
photo  , 400x300 pixel , 31,566 bytes.

อะไร่เอ่ย เม็ดเล็ก ๆ กลม ๆ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มักพบในซองขนม หรืออาหาร

เฉลย “สารดูดความชื่น”

ทำไม ? ในซองขนม กระป๋องลูกอมหรือถุงอาหารรับประทานเล่นถึงมี“สารดูดความชื้น” อยู่ในนั้น
โดยทั่วไปมักพบ “สารดูดความชื้น” ในหีบห่อสินค้า หรืออาหารประเภทขนมบรรจุห่อสารดูดความชื้นนั้นมีหลายประเภท แต่ที่นิยมให้กันมากคือ “ซิลิก้าเจล” ซึ่งสกัดจากทรายขาวผสมกรดกำมะถัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ซิลิกอนไดออกไซด์ มีลักษณะเป็นเม็ดกลม มีหลายสี

“ความชื้น” นั้นก่อปัญหาให้แก่สินค้าหลายประเภท เช่น


“ยา” หากได้ความชื้นจะทำให้มีคุณสมบัติเปลี่ยนไป


“เฟอร์นิเจอร์เครื่องหนัง” เมื่อได้รับความชื้นจะทำให้เสียรูปทรง และทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย


“อาหาร” ที่ต้องการรักษาสภาพความกรอบหากได้รับความชื้นคุณสมบัติข้อนี้จะสูญเสียไป


ทั้งนี้แม้ “สาร ดูดความชื้น” จะมีประโยชน์แก่อุตสาหกรรมหลายประเภท แต่ผู้ที่ใช้สารดูดความชื้นนี้กับสินค้าของตน ก็ต้องบรรจุสารดูดความชื้นในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท และต้องมีข้อความแสดงว่า “ห้ามรับประทาน” ปรากฏอยู่ด้วย แม้จะมีข้อความห้ามรับประทานระบุไว้ ผู้ บริโภคก็ยังต้องพึงระวัง เนื่องจากผู้บริโภคที่เป็นเด็กเล็ก ๆ มักจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยอาจลองรับประทานหรือนำมาเล่น โดยไม่รู้ถึงพิษภัยที่จะเกิดขึ้น


สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ปกครองรายหนึ่งซึ่งบุตรของผู้ร้องเรียนวัยเพียง ขวบเศษถูก “สารดูดความชื้น” ที่เด็กแถวบ้านนำซอง“สารดูดความชื้น” ที่อยู่ในถุงขนมมาปาเล่นกัน แล้วซองบรรจุสารดูดความชื้นแตก “ซิลิก้า เจล”ที่บรรจุในซองกระเด็นเข้าไป ในตาของบุตร ผู้ร้องเรียนซึ่งนั่งเล่นอยู่ที่บริเวณใกล้เคียง เด็กน้อยร้องไห้และเจ็บนัยน์ตามาก เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์แจ้งว่าตาข้างที่ถูกสารดูดความชื้นกระเด็นเข้าไปนั้นบอดไม่สามารถรักษาได้ทันโดยแพทย์ชี้แจงในเบื้องต้นว่า “สารดูดความชื้น” นั้นเข้าไปทำปฏิกิริยากับดวงตา (โดยในตาจะมีนา้ํ หล่อเลี้ยง) เป็นผลให้ตาข้างซ้ายบอดความเสียหายที่เกิดขึ้นในกรณีนี้จัดว่ารุนแรงมากใน ขณะที่สังคมไม่ได้ให้ความสำคัญหรือมีการเตือนภัยที่รัดกุมกว่านี้

ข้อมูลจาก สำนัก งานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง