อย. ประกาศเพิ่มรายชื่อพืชหรือส่วนของพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับชาสมุนไพร โดยกำหนดให้ใบ หญ้าหวาน, รากชะเอมเทศ, ช่อดอกและใบอาร์ทิโชก เป็นวัตถุดิบสำหรับชาสมุนไพรได้ เผยขณะนี้มีรายชื่อพืช ที่อนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุดิบชาสมุนไพรแล้ว รวม 18 ชนิด เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสมุนไพรในลักษณะผง หรือใส่ซองชงดื่ม นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า เดิมประกาศกระทรวง สาธารณสุข (ฉบับที่ 280) พ.ศ. 2547 เรื่อง ชาสมุนไพร ได้กำหนดบัญชีรายชื่อพืชหรือส่วนต่างๆของพืชที่ใช้ เป็นวัตถุดิบสำหรับชาสมุนไพรจำนวน 15 ชนิด อาทิ ผลมะตูม ดอกคำฝอย ใบหม่อน เห็ดหลินจือ ที่อนุญาตให้ นำไปใช้ในการผลิตชาสมุนไพรในรูปแบบผงหรือใส่ซองชงดื่มเท่านั้น แต่ขณะนี้คณะกรรมการอาหารได้เห็น ควรให้เพิ่มเติมรายชื่อพืชหรือส่วนต่างๆของพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับชาสมุนไพรอีก 3 ชนิด ตามประกาศ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดรายชื่อพืชหรือส่วนต่างๆของพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับ ชาสมุนไพร ได้แก่ ใบหญ้าหวาน(Stevia) รากชะเอม(Licorice) ช่อดอกและใบอาร์ทิโชก(Artichoke) ซึ่งได้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 127 ตอนพิเศษ 28 ง ลงวันที่ 2 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมา และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อเป็นการ สนับสนุนการพัฒนาสมุนไพรในลักษณะผง หรือใส่ซองชงดื่ม เช่นเดียวกับชา และเปิดโอกาสให้ผู้ผลิต ขออนุญาตได้สะดวกขึ้น เลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาฉบับดังกล่าวเป็น ประกาศที่เพิ่มรายชื่อพืชสมุนไพรฯ เฉพาะ ที่ผู้ประกอบการยื่นขอ สำหรับการผลิตชาสมุนไพรจากพืช สมุนไพรอื่นที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับชาสมุนไพร จะมีโทษ ปรับ หรือ จำคุก ตามที่ กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)