เจือกาแฟ-เสริมอาหาร
ก.สาธารณสุข เตือนพิษภัย สารต้องห้าม “ไซบูทรามีน” หลัง ตรวจพบเจือปนในผลิตภัณฑ์ “กาแฟ-เสริมอาหาร” ระบุเป็นยาคุมเข้ม ต้องผ่านการเอกซเรย์ จากแพทย์ก่อนเป็นปฐม
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรม การอาหารและยา (อย.) ได้ทำการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสถานที่จำหน่ายอาหารบริษัท เฮลท์ ดี ดี อินเตอร์ จำกัด เลขที่ 48/22 ซ.รุ่งเรือง ถ.รัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กทม. มาส่งตรวจวิเคราะห์คุณภาพ ทางวิชาการ ที่กรมวิทยาศาสตร์
ผลปรากฏว่า พบ “ไซบูทรามีน” (sibutramine) ซึ่งเป็นยาลดความอ้วนและเป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้อง สั่งจ่ายโดยแพทย์ และขายได้เฉพาะ ในสถานพยาบาลเท่านั้น นอกจากนี้ ยาดังกล่าวยังเป็นยาที่ต้องอยู่ ภายใต้มาตรการการติดตามความปลอดภัยในสถานพยาบาลอีกด้วย ทั้งนี้ ได้ทำการประกาศผลการตรวจ พิสูจน์อาหารที่ตรวจพบไซบูทรามีนจำนวน 3 รายการดังนี้
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทเวนตี้โฟร์เชฟ สารสกัดจากส้มแขก ผสมแอลออร์นิทีน, แอลอาร์จินีน, เคลป์, สารสกัดจากมะขามป้อม, วิตามิน ซี, วิตามินบี 6 และ โครเมี่ยม เลขสารบบอาหาร 12-1-05551-1-0001 ผลิตโดยบริษัท ไอพรีเฟอร์ยู จำกัด เลขที่ 333/37 หมู่ 3 ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี จัดจำหน่ายโดยบริษัท เฮลท์ ดี ดี อินเตอร์ จำกัด เลขที่ 48/22 รุ่งเรือง ถ.รัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กทม. รุ่น 01 A09 MFD 09/04/52 EXP 09/04/54 ตรวจพบ “ไซบูทรามีน”
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไฟว์ เชฟ สรรพคุณอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ติดสติกเกอร์ Manfactured by I Prefer You Co., Ltd. จัดจำหน่ายโดยบริษัท เฮลท์ ดี ดี อินเตอร์ จำกัด เลขที่ 48/22 ซ.รุ่งเรือง ถ.รัชดาภิเษก แขวงสาม เสนนอก เขตห้วยขวาง กทม. บรรจุ 40 แคปซูล ฉลากไม่ระบุเลขสารบบอาหาร บนแผงพิมพ์แจ้ง “5 SHAPE BATCH 001 MFG.25/05/52 EXP.25/05/54” พบว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ได้รับอนุญาต เลขสารบบอาหารจากสำนักงานอาหาร และยา ไม่แสดงชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตเป็นภาษาไทย และไม่แสดงคำเตือน อีกทั้งตรวจพบ “ไซบูทรามีน”
ผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จปรุงสำเร็จชนิดผง กาแฟคาปูชิโน่ ตราทเวน-ตี้โฟร์ เลขสารบบอาหาร 12-1-05551-2-0001 ผลิตโดยบริษัท ไอพรีเฟอร์ยู จำกัด เลขที่ 33/37 หมู่ 3 ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี จัดจำหน่ายโดยบริษัท เฮลท์ ดี ดี อินเตอร์ จำกัด เลขที่ 48/22 ซ.รุ่งเรือง ถ.รัชดาภิเษก แขวงสามเสน นอก เขตห้วยขวาง กทม. BATCH 002 MFG.11/06/09 EXP.11/06/11 มีสติกเกอร์ติด “กาแฟ 24 คาปูชิโน่ สูตร เห็ดหลินจือ” ตรวจพบ “ไซบูทรามีน”
การพบยาไซบูทรามีนในอาหารถือว่ามีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เจือปนอยู่ จัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ซึ่งผู้ใดผลิต นำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับกรณีการผลิตหรือจำหน่ายอาหารที่มีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง จะมีโทษปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท และกรณีที่เข้าข่ายการผลิตหรือจำหน่ายอาหารปลอม ซึ่งเป็นอาหารที่มีการแสดงฉลากเพื่อลวงให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าได้รับเลข สารบบ อาหารแล้ว จะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 1 ปี และปรับตั้งแต่ 5 พันบาท ถึง 1 แสนบาท
โดยทางอย.ได้สั่งให้ทางบริษัทงดจำหน่าย และเรียกคืนผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าว พร้อมดำเนินคดีตามกฎหมายแล้ว ซึ่งจากที่ผ่านมาทาง อย. ได้มีการตรวจสอบโดยตลอด และก็ยังพบเห็นการกระทำผิดเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากหากจะป้องกันไม่ให้เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้น เนื่อง จากผู้บริโภคไม่สามารถทราบได้ว่าผลิตภัณฑ์ใดผสมสารต้องห้าม นำมาซึ่งการหลงเชื่อคำโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณ
อีกทั้งการอวดอ้างสรรพคุณที่เกิดขึ้น จัดว่าเป็นการอ้างสรรพคุณที่ต้องการให้บรรดาผู้หญิงเกิดความต้องการในการบริ โภค เนื่องจากผู้จำหน่ายมักอ้างสรรพคุณว่าเป็นยาลดความอ้วน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผู้หญิงมีความต้องการ เนื่องจากผู้หญิงมีความปรารถนาที่จะมีหุ่นที่งดงาม รูปร่างดี จนทำให้ถูกลอกได้ง่าย
ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุข ได้ขอให้ผู้บริโภคควรระมัดระวังในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และอย่า ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้ง 3 รายการ ในรุ่นดังกล่าว เนื่องจากเป็นอันตรายหรือไม่ปลอดภัยต่อร่างกาย และยังไม่ได้รับอนุญาตเลขสารบบอาหารจากอย.
ทั้งนี้ ยาไซบูทรามีน ที่พบลักลอบ ผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น เป็นยา ที่ผู้บริโภคไม่ควรบริโภคเอง โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือรับการดูแลจากแพทย์ เพราะยาเหล่านี้เป็นยาที่มีผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นเร็ว แม้จะไม่มากนัก แต่มีผลให้ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 5 จำเป็น ต้องหยุดยา
ส่วนผลข้างเคียงอื่นๆ นั้น ได้แก่ ปากแห้ง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และท้องผูก ยานี้ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจ ขาดเลือด ผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิต ไม่ดี ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ ผู้ป่วยโรคตับ ผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่มีโรคต้อหิน รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร เป็นต้น
หากผู้บริโภคพบเห็นผลิตภัณฑ์ ดังกล่าววางจำหน่าย หรือแม้กระทั่งพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลอกลวงผู้บริโภค เช่น การอ้างสรรพ คุณในการรักษาโรค หรืออ้างว่าสามารถ ลดความอ้วนได้ ขอให้ร้องเรียนมายังสายด่วน อย. โทร. 1556 อีเมล 1556 @fda. moph.go.th หรือสามารถมา ร้องเรียนได้ด้วยตนเองที่ ศูนย์เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย. นนทบุรี
ที่มา : สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1085 ประจำวันที่ 24-3-2010 ถึง 26-3-2010
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)