บทความ

ชากับอะฟลาท็อกซิน

by twoseadj @April,08 2010 14.20 ( IP : 202...244 ) | Tags : บทความ
photo  , 316x421 pixel , 19,717 bytes.

ต้นชา มีชื่อทางพฤษศาสตร์ว่า Camella Sinensis ชาวจีนโบราณกล่าวไว้ว่า ชาเป็น 1 ใน 7 สิ่งสำคัญของชีวิต ตำนานที่คลาสสิกที่สุดของการกำเนิดชา คือ เรื่องราวของหม้อต้มน้ำของจักรพรรดิ เสินหนง(Shen Nung) ที่บังเอิญมีใบไม้หล่นลง ทำให้น้ำในหม้อกลายเป็นสีน้ำตาลละมีกลุ่นหอมละมุน

ชาชิง(Cha Ching) หรือตำราชา ของลู่อวี่ ในสมัยราชวงศ์ถัง ทำให้เขากลายเป็นเทพเจ้าแห่งชาของคนจีน และทำให้ชากลายเป็นเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วยความซับซ้อนในการเสพ ซึ่งเราอาจพบความพิถีพิถันและซับซ้อนนี้ได้ดีที่สุดในพิธีการชงชาของชาวญี่ปุ่น

อังกฤษ คือ ผู้ที่ทำให้ชาแพร่หลายไปทั่วโลก และชนชั้นสูงของอังกฤษ ยังทำให้การดื่มชาเป็นเครื่องหมายแห่งรสนิยมอันเลอเลิศ ชากลายเป็นความจำเป็นของคนอังกฤษและอาณานิคม โดยเฉพาะในอเมริกา ชากลายเป็นต้นเหตุของสงครามประกาศอิสรภาพ

เชื่อกันว่าชาเข้ามาในไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่การปลูกชาเป็นอุตสาหกรรมเริ่มต้น ขึ้นในปี 2480 ที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย โดยบริษัทใบชาตราภูเขา จำกัด

ชานอกจากเป็นเครื่องดื่มระดับตำนาน เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ ยังพบว่าชา ทั้งชาดำและชาเขียวมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง การดื่มชาเป็นประจำจะช่วยลดการเป็นมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ ได้ เช่น มะเร็งในกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร ลำไส้เล็ก ปอด ผิวหนัง ลำไส้ใหญ่ ตับอ่อน และมะเร็งเต้านม

โดยทั่วไป มีการกำหนดมาตรฐานของใบชา  โดยสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมได้กำหนดให้ชาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ประเภท ชา (มาตรฐานผลิตภัณฑ์ เลขที่ มผช. 120/2549 ) โดยสรุป คือ

1.ลักษณะต้องเป็นชิ้นหรือผงแห้ง ไม่จับตัวเป็นก้อน

  1. สี ต้องเป็นสีธรรมชาติของชา(ไม่มีการเจือสี)

3.กลิ่น ต้องมีกลิ่นที่ดีตามธรรมชาติ ไม่มีกลิ่นอันพึงประสงค์

4.ไม่มีสิ่งปลอมปนอย่างเส้นผม กรวด ดิน ทราย ฯลฯ

5.ความชื้นไม่เกินร้อยละ 8 โดยน้ำหนัก

6.ต้องไม่มีจุลินทรีย์เกินมาตรฐาน(น้อยกว่า 1X104 โคโลนี ต่อตัวอย่าง 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร)

7.ยีสต์ รา ต้องไม่พบในตัวอย่าง

ใบชาที่ชื้นและมียีสต์ รา จะก่อให้เกิดสารพิษอะฟลาท็อกซิน ซึ่งเป็นอันตรายในการก่อให้เกิดมะเร็งในตับ ในขณะที่เชื้อจุลินทรีย์ทั่วไปจะถูกทำลายโดยน้ำร้อนที่ใช้ชงได้  แต่ถ้าเชื้อราหรือยีสต์นั้นสร้างสารอะฟลาท็อกซิน น้ำร้อนที่ใช้ชงจะไม่สามารถทำลายสารพิษชนิดนี้ได้

ที่มา: วารสารฉลาดซื้อ ปีที่ 16 ฉบับที่ 101 กรกฎาคม 2552

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง