ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

มาตรการใหม่ด้านอาหารปลอดภัย

by twoseadj @April,05 2010 09.24 ( IP : 202...252 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 150x226 pixel , 18,870 bytes.

"บาร์โค้ด" อาจเป็นสิ่งที่ ผู้บริโภคยุคนี้คุ้นชินว่าเป็นป้ายรหัสแท่งที่อำนวยความสะดวกในการบอกราคา สินค้าให้กับผู้บริโภค และช่วยเช็กสต๊อกให้ร้านค้า

แต่วันนี้รหัส แท่งบาร์โค้ดได้ก้าวไกลไปกว่านั้น โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ร่วมกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) พัฒนาโครงการนำร่องการใช้เทคโนโลยีเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งผลิตสินค้า เกษตรและอาหาร จากรหัสมาตรฐานสากลเพื่อประโยชน์ต่อผู้บริโภค ผู้ส่งออก และเกษตรกรไทย เพื่อทำให้บาร์โค้ดที่ติดอยู่บนสินค้าเกษตรและอาหารบอกได้มากกว่าราคาสินค้า แต่สามารถบอกรายละเอียดลงไปได้ลึกถึงแหล่งผลิต

"นิวัติ สุธีมีชัยกุล" ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช) เปิดเผยว่า โครงการ ดังกล่าวจะทำให้เพียงแค่ยิงแถบแสงจากเครื่องอ่านไปที่บาร์โค้ด ข้อมูลผู้ผลิตสินค้าก็จะปรากฏบนหน้าจอทันที ผู้บริโภคก็สามารถรู้ได้ว่าผักถุงนี้ใครปลูก ปลูกในแปลงไหน เก็บเกี่ยวเมื่อใด โดยอาศัยแอปพลิเคชั่นระบบฐานข้อมูลออปสมาร์ทของบริษัท เอฟเอ็กซ์เอ จำกัด และโซลูชั่นเทคโนโลยีการสื่อสารแบบอัตโนมัติเพื่อสนับสนุนระบบการตรวจสอบ ย้อนกลับของบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด

โครงการนี้ถือเป็น โครงการนำร่องที่จะชักชวนเกษตรกรทั้งผู้ผลิตอาหารทะล เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ราว 600 ราย ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานอยู่แล้วเข้าร่วมโครงการ สำหรับโครงการนำร่องระยะเวลา 1 ปี จะใช้งบประมาณราว 9 ล้านบาท ตั้งแต่การออกแบบระบบไปจนถึงการบันทึก ข้อมูล การกำหนดรหัสภายใต้มาตรฐาน EPCIS (Electronic Product Code Information Services) ซึ่งเป็นรหัสสากลที่สามารถสื่อสารเข้ากันได้ตรงกันทั่วโลก

ถือว่า ไทยเป็นประเทศแรก ๆ ที่ทำระบบตรวจสอบย้อนกลับอย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ไทยมีความได้เปรียบในการส่งออกสินค้า โดยเฉพาะกับประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น ที่เป็นคู่ค้าสำคัญด้านสินค้าอาหารและเกษตรของไทย และเริ่มมีกฎหมายบังคับเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าด้านอาหารว่าต้องมีระบบตรวจ สอบย้อนกลับได้

"ขณะนี้อยู่ระหว่างการวางแผนปฏิบัติการ และอีกราว 1 เดือนครึ่ง ก็จะเริ่มกำหนดรหัสแปลงเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมกับชักชวนให้บรรดาโมเดิร์นเทรดเพิ่มจุดบริการตรวจสอบ บาร์โค้ดภายในร้านให้ลูกค้าสามารถเช็กข้อมูลสินค้าได้ง่ายขึ้น คาดว่าไม่เกิน 1 ก.พ. 2554 ก็จะเริ่มเห็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้บาร์โค้ดตามโครงการนี้วางจำหน่ายในท้องตลาด ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เกษตรกรที่มีกว่า 5 แสนรายทั่วประเทศ สนใจจะเข้าร่วมโครงการ คาดว่าภายใน 5 ปี จะสามารถชักจูงเกษตรกรเข้าร่วมโครงการได้ไม่น้อยกว่า 25%" ผู้อำนวยการ มกอช กล่าวและว่า

ความนิยมในสินค้าเกษตรอินทรีย์ ผักปลอดสารพิษ ถือเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้เกษตรกรเห็นว่าการยินดีเปิดเผยถึงการใช้สาร เคมีหรือวิธีการผลิตช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของตัวเอง

ด้าน "พอล ชาง" ผู้บริหารส่วนวางกลยุทธ์ธุรกิจ บริษัท ไอบีเอ็ม สหรัฐ อเมริกา กล่าวว่า การให้ความสำคัญกับอาหารปลอดภัย เป็นเทรนด์ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญมาก และการที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับระบบตรวจสอบย้อนกลับแหล่งผลิต ถือเป็นแต้มต่อในการส่งออกอาหารไปตลาดโลก

"ในปี 2551 สหรัฐอเมริกาตรวจพบเชื้อซาลโมเนลลาปนเปื้อนในอาหาร ทำให้มี ผู้ป่วยกว่า 1,300 คน หลังจากนั้นมีการสันนิษฐานว่าเป็นเพราะมะเขือเทศ จึงได้ทำลายมะเขือเทศทิ้งเป็นมูลค่ากว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เมื่อมีการตรวจสอบย้อนกลับจึงพบว่าต้นเหตุที่แท้จริงมาจากพริกฮาลาเพนอ สของเม็กซิโก การทำลายมะเขือเทศจึงกลายเป็นความสูญเปล่าทางเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาล หากการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งผลิตมีความสมบูรณ์ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ อย่างทันท่วงที"

นอกจากนี้ ที่ผ่านมาไอบีเอ็มได้ร่วมมือกับบริษัท เอฟเอ็กซ์เอ จำกัด พัฒนาโซลูชั่นเพื่อสนับสนุนการตรวจสอบย้อนกลับอาหารทะเลเพื่อการส่งออกของ ประเทศเวียดนาม ด้วยการใช้เทคโนโลยี RFID ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและทำให้การส่งออกอาหารทะเลของเวียดนามที่มีมูลค่ากว่า 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐให้มีมั่นใจด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์กับประเทศคู่ค้า ไปพร้อม ๆ กัน


ที่มา: วันที่ 01 เมษายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4197  ประชาชาติธุรกิจ

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง