สหรัฐอเมริกาได้ผลิตอาหารชนิดใหม่ที่พัฒนาและผลิตขึ้นมาโดยอาศัยเทคโนโลยีนาโน (Nano Technology) ที่ทำให้เกิดความไม่มั่นใจถึงความปลอดภัยในการบริโภคอาหารเหล่านั้นในลักษณะเดียวกันกับอาหารจีเอ็มโอ ทำให้กลุ่มองค์กรที่ทำงานเพื่อผู้บริโภคต้องออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการบังคับให้ผู้ผลิตปิดฉลากแสดงว่าสินค้าตัวนั้นผลิตขึ้นมาโดยใช้หรือมีส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่มาจากนาโนเทคโนโลยี
นาโนเทคโนโลยี ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพ กลิ่น สี รสของอาหาร โดยอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงที่สามารถปรับแต่งสภาพของวัตถุดิบในระดับโมเลกุล (ขนาด 10-9 เมตร) บริษัทผู้ผลิตอาหารหลายรายได้ใช้นาโนเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มรสชาติ หรือคุณค่าทางโภชนาการ ให้กับอาหารของตน
หน่วยงานด้านสาธารณสุขแห่งสหรัฐอเมริกา ได้รอข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยของอาหารก่อนที่จะออกมาตรการบังคับให้ผู้ผลิตปิดฉลากเตือนผู้บริโภคต่อไป ทางกลุ่มองค์กรเพื่อผู้บริโภคระบุถึงความไม่มั่นใจของผู้บริโภคเกี่ยวกับความปลอดภัยในการรับประทานอาหารซึ่งผลิตหรือมีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาโดยกระบวนการนาโนเทคโนโลยีนั้น มีความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้บริโภคที่ได้รับประทานอาหารเหล่านั้นเข้าไป ควรเป็นเหตุผลเพียงพอที่จะทำให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขของรัฐบาลกลางต้องออกมาตรการบังคับให้ผู้ผลิตปิดฉลากเตือนผู้บริโภค
แม้ว่าชาวอเมริกันจะให้การยอมรับผลิตภัณฑ์อาหารที่ผ่านกระบวนการตัดต่อพันธุกรรมก็ตาม แต่นักวิทยาศาสตร์แห่งสหภาพเพื่อผู้บริโภค ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคชี้อย่างชัดเจนว่าชาวอเมริกัน 69% มีความกังวลต่อการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม และ 53% ไม่ซื้ออาหารที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม แสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นใจในเรื่องความปลอดภัยในการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของวัตถุดิบที่ผ่านกระบวนการตัดต่อพันธุกรรม รวมทั้งการโคลนว่าจะปลอดภัยต่อการบริโภคเพียงใด ซึ่งอาจเป็นเครื่องวัดความรู้สึกของชาวอเมริกันต่ออาหารที่มีส่วนผสมหรือผลิตจากนาโนเทคโนโลยีว่าคงจะได้รับแรงต้านจากผู้บริโภค
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการนาโนเทคโนโลยี (ผลิตภัณฑ์นาโน) ในตลาดมี 609 ชนิด โดยมีผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ไม้เทนนิสและจักรยานน้ำหนักเบา ลอปสติก ครีมกันแดดแบบใสที่มีส่วนผสมของซิงก์ออกไซด์และไทเทเนียมไดออกไซด์ เครื่องซักผ้า เครื่องผสมสลัด ภาชนะบรรจุอาหารและถุงเท้า
โครงการค้นคว้าเกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยี (The Project on Emerging Nanotechnology) หรือ "เพ็น" ได้ระบุผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์นาโน ได้แก่ น้ำมันคาโนลา แอคทีฟ, ชานาโนที และนาโนซูติคอลส์ สลิม เชค ช็อกโกแลต
แต่สาธารณชนยังขาดความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์อาหารที่ผ่านกระบวนการนาโนเทคโนโลยี และยังไม่มีข้อบังคับใดๆออกมากำหนดให้ผู้ผลิตต้องปิดฉลากแสดงว่าสินค้านั้นผ่านกระบวนการนาโนเทคโนโลยีและเตือนผู้บริโภคว่าเป็นนาโนโปรดักต์ เนื่องจากผลิตภัณฑ์นาโนนั้นมีความปลอดภัยในการใช้งาน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีความปลอดภัยในระดับโมเลกุลด้วย เพราะอนุภาคระดับนาโนโมเลกุลสามารถทะลุทะลวงเข้าสู่เซลล์และทำให้ผนังกั้นเส้นเลือดในสมองเกิดรูรั่วได้ ถ้าหากมีผู้บริโภคคนใดเกิดการเจ็บป่วยหรือมีความผิดปกติทางร่างกายจากการรับประทานหรือใช้ผลิตภัณฑ์นาโนโปรดักต์ ก็จะผลักดันให้รัฐบาลแต่ละประเทศเร่งออกกฎหมายควบคุมการใช้ผลิตภัณฑ์จากนาโนเทคโนโลยี หากผู้บริโภคเริ่มให้ความสนใจเพื่อปกป้องสิทธิของตนเอง นับตั้งแต่วันนี้จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับตนเองและบุตรหลานมากยิ่งขึ้น
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 7 สิงหาคม 2551
วันที่ประกาศ : 14 สิงหาคม 2551
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)