บทความ

ชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินประจำบ้านที่ควรมี

by twoseadj @April,01 2010 09.26 ( IP : 202...252 ) | Tags : บทความ
photo  , 300x257 pixel , 34,345 bytes.

หากประสบพบเจออุบัติเหตุหรือผู้ป่วยฉุกเฉินนอกบ้าน คงจะได้เรียนรู้จากตอนที่แล้วแล้วนะคะ ว่าเราสามารถดัดแปลงสิ่งของรอบตัวมาใช้ในการปฐมพยาบาลได้ แต่หากเหตุฉุกเฉินนั้นเกิดขึ้นในบ้าน เราควรจะเตรียมตัวให้พร้อมรับสถานการณ์ล่วงหน้าเอาไว้ ด้วยการจัดชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินไว้ประจำบ้านค่ะ

ชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินประจำบ้าน ประกอบด้วย

  1. ยาสามัญประจำบ้าน คือยาที่ควรมีไว้ประจำบ้าน ใช้สำหรับรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เช่น ไข้หวัด ท้องเสีย ท้องอืด หรือบาดแผลเล็กน้อย แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

- ยาใช้ภายใน หรือยาที่ใช้สำหรับรับประทาน ได้แก่ ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาน้ำเชื่อม ยาแก้ไอน้ำดำ ยาธาตุ ยาขับลม ผงน้ำตาลเกลือแร่ เป็นต้น - ยาใช้ภายนอก ห้ามรับประทาน ได้แก่ ยาดม ยาป้าย ครีม ขี้ผึ้ง ทิงเจอร์ โพวิโดนไอโอดีน เป็นต้น สังเกตฉลากยาจะมีคำว่า ยาใช้ภายนอกหรือยาใช้เฉพาะห้ามรับประทาน พิมพ์ด้วยตัวอักษรสีแดง

  1. ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น ได้แก่ ผ้าพันแผลทั้งชนิดแผ่นและชนิดม้วนที่ฆ่าเชื้อแล้ว พลาสเตอร์ปิดแผลทั้งชนิดแผ่นและชนิดม้วน สำลีที่ฆ่าเชื้อแล้ว ผ้าก๊อซขนาด 3 นิ้ว และ 4 นิ้ว ผ้าก๊อซสำหรับปิดตาและแผ่นครอบตาโดยเฉพาะ ผ้าก๊อซแบบยืดได้ ผ้าพันแผลแบบยืดได้ เทปขนาดต่างๆ สำหรับติดผ้าก๊อซ ผ้าสามเหลี่ยมสำหรับการดามหรือขันชะเนาะ กรรไกรปลายมน เข็มกลัดซ่อนปลาย เทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดไข้ แผ่นประคบร้อน-เย็น ถุงมือยาง น้ำยาทำความสะอาด น้ำยาฆ่าเชื้อ ได้แก่ น้ำเกลือ แอลกอฮอล์ โพวิโดนไอโอดีน และทิงเจอร์ไอโอดีน เป็นต้น

  2. อุปกรณ์อำนวยความสะดวก ได้แก่ กระเป๋าน้ำร้อน ไฟฉาย ไฟแช็ค ไม้ขีดไฟ เทียนไข น้ำยาดับเพลิง หนังสือเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เบอร์โทรศัพท์โรงพยาบาลหรือเบอร์โทรฉุกเฉินต่างๆ

ยาและอุปกรณ์เหล่านี้ควรมีติดบ้านไว้เสมอ เวลาที่ต้องเดินทางก็ควรหากล่องใส่ยาและอุปกรณ์ทำแผลเล็กๆ น้อยๆ ติดตัวไปด้วย

หากคนในครอบครัวมีโรคประจำตัวที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ควรเขียนรายละเอียดเก็บไว้กับชุดฉุกเฉินประจำบ้านให้ชัดเจนด้วย เช่น ชื่อ นามสกุล อายุของผู้ป่วย พร้อมทั้งรูปภาพ รวมไปถึงข้อมูลอาการเจ็บป่วยและแนวทางในการช่วยเหลือ เพื่อให้ผู้ที่มาประสบเหตุสามารถให้การช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง หากผู้ป่วยหมดสติหรือไม่สามารถพูดได้ อุปกรณ์ช่วยเหลือฉุกเฉินอื่นๆ สำหรับแต่ละกรณี แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ที่ให้การรักษา เพื่อขอคำแนะนำที่จำเป็นเฉพาะโรค

การเก็บรักษาชุดอุปกรณ์ฉุกเฉิน

  • ควรมีตู้ยาประจำบ้าน และแยกเก็บยาแต่ละประเภทไว้คนละช่อง คือยาใช้ภายใน ยาใช้ภายนอก อุปกรณ์ตวงยา และเวชภัณฑ์ต่างๆ
  • อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นควรมีกระเป๋าบรรจุโดยเฉพาะ และแยกเก็บไว้ต่างหาก เพื่อให้สะดวกต่อการหยิบใช้
  • เก็บไว้ในที่อุณหภูมิเหมาะสม แสงแดดส่องไม่ถึง ห่างไกลจากความร้อน เปลวไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้า และความอับชื้น
  • เก็บในที่ที่สะดวกต่อการหยิบใช้ แต่ให้พ้นจากมือเด็ก
  • อย่าเก็บยาฆ่าแมลง ยาเบื่อหนู หรือสารพิษอื่นๆ ไว้ด้วยกัน เพราะอาจมีคนหยิบผิดและเกิดอันตรายขึ้นได้

นอกจากนี้ ควรหมั่นตรวจเช็คชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินเป็นประจำ อาจจะกำหนดวันตรวจเช็คให้แน่นอนเพื่อที่จะได้ไม่ลืม เช่น ทุกวันสิ้นเดือน ตรวจดูว่ายาหมดอายุหรือไม่ อุปกรณ์ที่เป็นยางยืดเสื่อมหรือหมดอายุหรือไม่ พลาสเตอร์ปิดแผลยังมีความยืดหยุ่นดีหรือไม่ ตรวจน้ำยาดับเพลิง หรือเปลี่ยนถ่ายไฟฉายหากจำเป็น พยายามทำทุกเดือนให้เป็นกิจวัตร คุณก็จะมีอุปกรณ์ฉุกเฉินที่พร้อมสำหรับเหตุฉุกเฉินจริงๆ

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง