เพิ่งรู้ว่าคนญี่ปุ่นเขาไม่นิยมเก็บอาหารที่ทานไม่หมดในร้านติดตัวกลับบ้านไปด้วย
การสำรวจเมื่อสองปีก่อนพบว่ามีคนญี่ปุ่นพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่เข้าใจแนวคิดเรื่องการนำอาหารเหลือกลับบ้าน
ดังนั้นเขาถึงมีการก่อตั้งองค์กรขึ้นมารณรงค์เปลี่ยนทัศนคติคนให้ช่วยกันลดขยะจากอาหารเหลือตามร้าน ปีนี้องค์กร DoggyBag Committee ได้ทำการสำรวจอีกครั้งและพบว่าร้อยละ 90 ของผู้ตอบเห็นด้วยกับการนำอาหารที่กินเหลือกลับบ้าน (องค์กรนี้บอกว่าความจริงแล้วเมื่อ 20 -30 ปีก่อนคนญี่ปุ่นก็นิยมเก็บอาหารที่เหลือจากงานเลี้ยงกลับบ้านกันเป็นปกติ)
เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วก็เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของภัตตาคารบุฟเฟ่ต์ในญี่ปุ่นที่มีบริการห่อกลับบ้านให้กับลูกค้า ร้านที่เป็นผู้บุกเบิกได้แก่ร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ 3 แห่งของโรงแรมในเครือโคคุไซ แต่เขาก็มีการจำกัดปริมาณในการห่อกลับบ้านและต้องตรวจสอบก่อนว่าอาหารที่จะให้ลูกค้านำกลับนั้นจะยังอยู่ได้อีกหลายชั่วโมง นอกจากนี้ยังกำชับให้กินให้หมดภายในวันเดียวด้วย
ขณะนี้ร้านเล็กๆ เริ่มให้ความร่วมมือกับการบรรจุถุง/กล่องกลับบ้านให้ลูกค้า แต่ร้านใหญ่ๆ บอกว่ายังไม่อยากทำเรื่องนี้เต็มตัวจนกว่าจะแน่ใจว่าสังคมญี่ปุ่นให้การยอมรับเรื่องนี้อย่างจริงจัง
กระทรวงเกษตรของญี่ปุ่นบอกว่า ในปี พ.ศ. 2550 มีขยะจากอุตสาหกรรมอาหารถึง 11 ล้านตันต่อปี นับเป็นสถิติที่สูงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศที่พัฒนาแล้ว และการจัดการกับขยะเศษอาหารในญี่ปุ่นนั้นมีค่าใช้จ่ายประมาณ 36 บาทต่อ 1 กิโลกรัม
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)