ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

ผู้บริโภควอนรัฐฯ ยืดเวลามาตรการกระตุ้นอสังหาฯ

by twoseadj @March,25 2010 11.42 ( IP : 202...252 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 199x145 pixel , 14,682 bytes.

จากกรณีที่คณะรัฐมนตรี มีมติไม่ต่ออายุมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 28 มีนาคมนี้ ทำให้ค่าธรรมเนียมการโอนขึ้นจาก 0.01% เป็น 2% ค่าจดจำนองจาก 0.01% เป็น 1%และภาษีธุรกิจเฉพาะจาก 0.01% เป็น 3.3% ส่งผลให้ผู้ที่กำลังจะซื้อบ้านและคอนโดฯ ต้องรับภาระค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนองเป็นจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเงินหลายหมื่นบาท ซึ่งตอนที่ตัดสินใจซื้อเป็นตอนก่อนที่จะมีการประกาศมาตรการดังกล่าว รวมทั้งผู้ประกอบการบ้านและดอนโคฯ บางโครงการไม่ได้แจ้งเรื่องดังกล่าวแก่ผู้บริโภค


น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ให้ข้อมูลในเรื่องนี้ว่า เรื่องสัญญาการเช่าซื้อและโอนอสังหาริมทรัพย์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ในส่วนความรับผิดชอบของลูกค้า และผู้ประกอบการซึ่งต้องรับผิดชอบกันคนละครึ่ง การจ่ายเงินค่าโอน ค่าจำนอง หรือค่าอื่นๆ นั้น ต้องมีการเขียนในสัญญาที่ชัดเจน ส่วนความเห็นในเรื่องการยกเลิกมาตรการดังกล่าวเห็นว่า เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะมาตรการดังกล่าวใช้ในช่วงที่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งปรับลดนู่นนี่เพื่อจูงใจให้คนมาซื้อบ้านและคอนโดฯ กันเยอะๆ แต่พอจะมาประกาศยกเลิกก็ยกเลิกแบบกะทันหัน ทำให้ผู้ที่ตัดสินใจซื้อในตอนแรกมีปัญหา ซึ่งอยากให้แนะนำให้คนที่ได้รับผลกระทบในเรื่องนี้ออกมาร้องเรียนกับภาครัฐฯ


ทางด้านนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา กล่าวว่า “มติดังกล่าวเป็นการประกาศที่รวดเร็วเกินไป ผู้บริโภคตั้งตัวไม่ทัน อย่างคนที่วางเงินดาวน์แล้ว ก็ถอนคืนไม่ได้ ต้องเสียเงินเพิ่ม กู้แบงก์ก็ไม่ทันแล้ว รัฐบาลต้องเร่งสำรวจปัญหาอย่างถ่องแท้ไม่ว่าจะเป็นของผู้บริโภค ผู้ประกอบการ ซึ่งถ้าพบปัญหาความเดือดร้อน ก็ให้ทบทวนมติ ครม. อาจจะโดยการเลื่อนระยะเวลาออกไปอีก พร้อมกับแจ้งประชาสัมพันธ์ประชาชนให้เข้าใจตรงกัน ซึ่งน่าจะเลื่อนไปอีกอย่างน้อย 6 เดือน”

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง