เตือนอันตราย"ไฟแช็กยักษ์"สมอ.ระบุ ไม่ได้มาตรบาน แต่กำลังได้รับความนิยมซื้อกันตามตลาดนัด โดยเฉพาะตลาดชายแดน ซึ่งลอบเข้ามาขายโดยไม่มีการตรวจสอบความปลอดภัย กำลังส่งเจ้าหน้าที่ออกติดตามแหล่งขายส่งและแหล่งผลิตใหญ่เผยมีโทษหนักทั้งจำ ทั้งปรับ
ที่กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 3 มี.ค. นางรัตนาภรณ์ จึงสงวนสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้ค้าหลายราย แอบลักลอบนำเข้าไฟแช็กยักษ์จากประเทศเพื่อนบ้าน หรือผลิตเอง ซึ่งเป็นสินค้าที่ยังไม่ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) จาก สมอ. มาจำหน่ายในท้องตลาดจำนวนมาก และได้รับความสนใจจากผู้บริโภคหลายราย แต่ สมอ. เห็นว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดระเบิด จนเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้บริโภค ดังนั้นได้ร่วมมือกับ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการตรวจสอบผู้นำเข้ารายใหญ่
เลขาธิการ สมอ. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ในปัจจุบันมีผู้ที่ได้รับอนุญาตการผลิตไฟแช็ก จาก สมอ. 16 ราย และผู้ได้รับอนุญาต ให้นำเข้า 8 ราย ซึ่ง สมอ. ได้ตรวจสอบขั้นตอนการผลิต และสุ่มตรวจสินค้านำเข้าประจำ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า สินค้าส่วนใหญ่มีคุณภาพ ดังนั้นไฟแช็กยักษ์ที่ขายในท้องตลาดของบ้านเรา เป็นสินค้าที่ผิดกฎหมายทั้งหมด
“ไฟแช็กยักษ์มีขนาดใหญ่กว่าไฟ แช็กธรรม 4-5 เท่า ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า มีการจำหน่ายตามตลาดนัดทั่วประ เทศ โดยมีการลักลอบนำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านของไทยตามเขตชายแดน เบื้องต้นอยู่ระหว่างการสืบหาผู้ค้ารายใหญ่ หากเจอครั้งแรกก็จะตักเตือนก่อน หากไม่ทำตามก็มีโทษปรับในอัตรา 5,000-50,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ขณะที่ผู้ผลิต มีโทษปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำและปรับ”
นางรัตนาภรณ์ ยังกล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ ไฟแช็กในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นไฟ แช็กก๊าซ ประเภทบรรจุก๊าซได้ครั้งเดียว ชนิดปรับความสูงเปลวไฟได้ ซึ่งตามสถิติของกรมศุลกากร มีการส่งไปจำหน่ายยังประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มาเลเซีย พม่า และจีน นับตั้งแต่ปี 48-52 มูลค่าการส่งออกรวม 1,700 ล้านบาท และ สมอ. ได้กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ไฟแช็กก๊าซเป็นมาตร ฐาน เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยในการใช้งานตามมาตรฐาน มอก. 879-2542 จนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ สมอ. ได้ติดตามตรวจสอบควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ไฟแช็กอย่างสม่ำเสมอ และเห็นว่า ควรมีข้อปรับปรุง เพื่อให้เหมาะสมกับเทคโน โลยีการผลิต และมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น.
ที่มา หนังสือพิมพ์เดลีนิวส์ วันที่ 4 มีนาคม 2553
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)