แต่เดิมน้ำมันที่สกัดได้จากปลาโดยเฉพาะตับ ถือว่าเป็นแหล่งของวิตามิน เอ และ วิตามิน ดี ที่สำคัญ ซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันน้ำมันตับปลาจะสกัดมาจากตับปลา บางชนิดเช่น ปลาค้อท
ปัจจุบันเมื่อความรู้ทางโภชนาการเกี่ยวกับน้ำมันจากปลามีมาก ขึ้น จึงมีผู้สกัดน้ำมันจากหนังปลาและเนื้อปลาออกขายในรูปแบบแคปซูลหรือบรรจุขวด น้ำมันปลานอกจากมีวิตามิน เอ และวิตามิน ดี แล้ว ไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides) ของน้ำมันปลาจะมีปริมาณกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 ค่อนข้างสูงและมีกรดไขมันพวก monoenoic สูงด้วย
หลายคนยังมีความเข้าใจผิดเรื่องน้ำมันตับปลา และน้ำมันปลา ซึ่งทั้งสองมีความ แตกต่างกัน แม้ว่าทำมาจากปลาเหมือนกัน
น้ำมันปลา หมายถึงน้ำมันที่อยู่ในเนื้อปลาทะเลหลายชนิดและปลาน้ำจืดบางชนิด ซึ่งน้ำมันปลานี้จะแทรกซึมอยู่ในเนื้อปลา หนังปลา หัวปลาและหางของปลา โดยเฉพาะ ปลาทะเล อย่างปลาซาร์ดีน ปลาเฮอร์ริ่ง ปลาแมคคอเรล ปลาแซลมอนและทูน่า สำหรับปลาทะเลไทย
กลุ่มโอเมก้า 3 ปริมาณสูงจะมีใน ปลาทู ปลากระพง ปลาตาเดียว
ส่วนน้ำมันตับปลา นั้นสกัดจากตับของปลาทะเลและนิยมรับประทานเฉพาะเพื่อ เสริม วิตามิน เอ และวิตามิน ดี กรดไขมัน กลุ่มสำคัญที่มีการอ้างว่า ดีต่อสุขภาพได้แก่ Eicosapentanoic acid (EPA) Docosahexenoic (DHA)
กรดไขมันทั้ง 2 ตัวนี้ เป็นอนุพันธ์ของ แอลฟ่าไลโนเลอิค แอซิด การเพิ่มพันธะคู่ จำนวนคาร์บอนในห่วงโซ่คาร์บอนของ แอลฟ่าไลโนเลอิค แอซิด ให้กลายเป็นอนุพันธ์ ทั้ง 2 ชนิดจะเกิดได้ดีในหนู แต่ในคนจะเกิดขึ้นได้น้อยมาก ดังนั้นแหล่งของสารทั้ง 2 ชนิด ที่สำคัญจึงได้รับจากอาหาร อาหารที่มีกรดไขมันทั้ง 2 ชนิดนี้มากก็คือ ปลาทะเล หรือน้ำมันจากปลาทะเล โดยเฉพาะปลาที่อาศัยในทะเลเขตหนาว เช่น แมคคลอเรล เฮอร์ริ่ง
ในปัจจุบัน น้ำมันจากปลาทะเล กำลังได้รับความสนใจในแง่การใช้เพื่อลดไขมัน ในเลือด และป้องกันการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด จริงหรือไม่ก็ยังไม่สามารถ ที่จะสรุปผลลงไปได้ แต่จากการศึกษาทดลองพบว่า ผลเสียที่พบหลังจากที่รับประทานน้ำมันปลา คือ
- เมื่อใช้แล้วเกิดอาการเลือดกำเดาไหลไม่หยุด
- อาจเป็นสารก่อมะเร็งได้ด้วย
- อาจทำให้เกิดสภาวะการขาดวิตามิน อี ได้
- อาจเกิดความเป็นพิษจากการรับประทานวิตามิน เอ หรือ ดี มากเกินไป
- น้ำหนักเพิ่มขึ้น อ้วนขึ้น
- ทำให้ระดับของพลาสม่าลดลงเป็นการเพิ่มน้ำตาลในเลือด
- มีความเป็นไปได้ว่าอาจมีสารพิษหรือว่าโลหะตกค้าง
ถึงแม้ว่า การศึกษาในสัตว์หรือในคนจะชี้ให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่จะใช้ น้ำมันปลาในการลดไขมันในเลือด และลดอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด แต่การนำมาใช้ในการปฏิบัติจริงๆ ยังต้องมีการศึกษาข้อมูลกันต่อไปในอนาคต เนื่องจาก ดังที่กล่าวไปแล้วว่า
ในทางคลีนิควิทยายังไม่มีการมาระบุว่าเหมาะกับการใช้ในคนป่วย นอกจากเราต้องกินน้ำมันปลาวันละ 10-30 แคปซูลต่อวัน เพื่อให้ได้ประโยชน์ ซึ่งขนาดดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย หรือแม้กระทั่งเกิดพิษ ดังที่ได้บอกกันไปแล้วข้างต้น นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์น้ำมันปลานี้ เป็นผลิตภัณฑ์เสริม อาหารในการขึ้นทะเบียนไม่ใช่ยา จึงไม่สามารถยืนได้ถึงผลการใช้เพื่อรักษา
เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว ท่านคงมีการคิดพิจารณาอย่างถ้วนถี่ ก่อนที่จะซื้อมา รับประทานเพื่อบำรุงร่างกาย เพราะแทนที่จะบำรุงอาจได้ผลตรงกันข้าม เสียเงินไม่พอ ยังเสียใจ และอาจเสียสุขภาพ ต้องตามรักษากันอีกยาวนาน
Relate topics
- รณรงค์เลิกใช้โฟม
- รายการสงขลามหาชน ตัวอย่างอาหารของแม่ ตอน " บทบาทของพ่อ " อาหารของแม่ สร้างความอบอุ่นของครอบครัวกับมื้ออร่อยที่แม่บรรจงปรุงเพื่อลูก
- ข่าวดีจะดัง ตอนที่ 265 โรงเรียนสุขภาพดี ของ อบต.ควนรู( http://youtu.be/KsuLA7Fguy8 )
- ข่าวดีจะดัง ตอนที่ 265 โรงเรียนสุขภาพดี ของ อบต.ควนรู(7 เม.ย 5…: http://youtu.be/KsuLA7Fguy8 )
- รายการอาหารของแม่ ตอน " อาหารคือภาคีและพื้นที่ " เปิดอร่อยด้วย ยำบัวบก สูตรสมุนไพรภูมิปัญญาถิ่น อบต.ท่าข้าม ของป้ายุพา ผลชนะ