ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

กรมวิทย์เผยพบสารฟอกขาว-ซัลเฟอร์ฯ ตกค้างดอกไม้จีนสูงสุด แนะล้าง-ลวก-ต้ม ลดปนเปื้อนได้

by wanna @February,10 2010 16.54 ( IP : 118...14 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

กรมวิทย์เผยพบสารฟอกขาว-ซัลเฟอร์ฯ ตกค้างดอกไม้จีนสูงสุด แนะล้าง-ลวก-ต้ม ลดปนเปื้อนได้

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยพบสารฟอกขาว-ซัลเฟอร์ฯ ตกค้างในดอกไม้จีนสูงสุด รองลงมาคือเยื่อไผ่ เห็ดหูหนูขาว แนะล้างดอกไม้จีนจะลดการตกค้างได้ดีกว่าแช่น้ำส่วนเห็ดหูหนูขาวให้ลวกน้ำร้อน 2 นาทีก่อนปรุงอาหาร

นพ.จักรธรรม ธรรมศักดิ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 ปีนี้นอกจากจะเป็นเทศกาลแห่งความรักแล้วยังตรงกับเทศกาลตรุษจีนด้วย ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะออกมาจับจ่ายตลาดเพื่อเลือกซื้ออาหารแห้งมาเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารสำหรับไหว้เจ้า และไหว้บรรพบุรุษ จะต้องมีความใส่ใจในการเลือกซื้อและคำนึงถึงความปลอดภัยต่อการบริโภคด้วย

จากการเฝ้าระวังและตรวจวิเคราะห์อาหารแห้งของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังคงตรวจพบว่ามีสารฟอกขาวซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างอยู่ในอาหารแห้ง เช่น ดอกไม้จีน เยื่อไผ่ เห็ดหูหนูขาว เก๋ากี้ ทั้งนี้ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulphur dioxide) เป็นสารเคมีตัวหนึ่งในกลุ่มซัลไฟต์ หรือสารฟอกขาวที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเปลี่ยนสีของอาหารไม่ให้เป็นสีน้ำตาลยับยั้งการเจริญเติบโตของยีสต์ รา บักเตรี หากใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในปริมาณที่พอเหมาะจะไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั่วไป แต่จะมีผลกระทบต่อผู้บริโภคที่แพ้สารนี้ ทำให้เกิดโรคหืด มีอาการแน่นหน้าอก คันคอ หรือเป็นผื่นคัน เป็นแผลพุพองซึ่งทางด้านองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO/WHO) ได้กำหนดค่าการบริโภคซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในแต่ละวัน ที่ได้รับไม่เกิน 0.7 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน ถ้าคนน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม จะรับซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในระดับที่ปลอดภัยได้ 42 มิลลิกรัมต่อวัน

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่อว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ศึกษาการลดปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในดอกไม้จีน และเห็ดหูหนูก่อนนำไปปรุงอาหาร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการลดปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในผักแห้งอื่นๆ และเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริโภค ซึ่งจากการศึกษาพบว่าหากนำดอกไม้จีนมาล้างน้ำ จะลดปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้มากกว่าการแช่น้ำ

สำหรับเห็ดหูหนู ควรนำมาล้างน้ำและลวกในน้ำเดือด 2 นาที ก่อนนำไปปรุงอาหารจะทำให้สามารถลดปริมาณสารนี้ได้เช่นกัน โดยผู้บริโภคสามารถนำผลการศึกษานี้ไปใช้ประโยชน์ในการปรุงอาหารเพื่อลดความเสี่ยงในการรับสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์

ด้าน นายมงคล เจนจิตติกุล ผู้อำนวยการสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2551-2552สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ตรวจวิเคราะห์เพื่อหาการตกค้างของสารฟอกขาวซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในอาหารแห้งจำแนกได้ดังนี้ ดอกไม้จีน 13 ตัวอย่าง พบว่า

12 ตัวอย่างพบปริมาณสารฟอกขาวสูงสุด อยู่ระหว่าง 210.4-18,039 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เยื่อไผ่ 24 ตัวอย่าง พบว่า 12 ตัวอย่าง พบปริมาณสูงรองจากดอกไม้จีนคืออยู่ระหว่าง 16.6-15,448 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัมเห็ดหูหนูขาว 91 ตัวอย่าง พบว่า 46 ตัวอย่าง พบปริมาณอยู่ระหว่าง 10-4,508.8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พุทราจีน 3 ตัวอย่าง พบว่า 1 ตัวอย่างพบปริมาณ 3,666.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เห็ดหอม 16 ตัวอย่าง พบว่า 4 ตัวอย่างพบปริมาณอยู่ระหว่าง 7.4-80.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เก๋ากี้ 2 ตัวอย่างพบทั้ง 2 ตัวอย่าง พบในปริมาณ 120.4 และ 367.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอาหารแห้งที่ไม่พบหรือมีซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในปริมาณน้อย ได้แก่ สาหร่าย 27ตัวอย่าง พบเพียง 1 ตัวอย่าง 9.4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และเม็ดบัว 3 ตัวอย่างไม่พบทุกตัวอย่าง

ทั้งนี้ เกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้พบปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้ไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังคงดำเนินการเฝ้าระวังและสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารแห้งเพื่อตรวจวิเคราะห์หาการตกค้างของสารฟอกขาวซัลเฟอร์ไดออกไซด์อย่างต่อเนื่อง เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

สืบค้นจาก  ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 กุมภาพันธ์ 2553 13:27 น.

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง