บทความ

ฟ้องร้องหมอ ปัญหาที่อยู่ในวังวน

by twoseadj @February,09 2010 13.22 ( IP : 113...111 ) | Tags : บทความ

น้องอ้อผู้เสียหายจากการแพ้ยาที่คลินิกแพทย์เอกชนแห่งหนึ่ง แล้วแพ้ยาอย่างรุนแรงชนิด steven-johnson syndrom(สตีเว่น-จอห์นสัน ซินโดรม) แล้วแพทย์ไม่รับผิดชอบที่จะเยียวยา ได้เดินทางมาพบกับเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสงขลา เพื่อประสานงานช่วยเหลือต่อไป

น้องอ้อเป็นลูกจ้างของเทศบาลเมืองปัตตานี ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ศูนย์ดูแลเด็กวัยเยาว์ใช้สิทธิประกันสังคม เมื่อเกิดแพ้ยาจากคลินิกแพทย์ดังกล่าว แพทย์เจ้าของไข้ไม่แสดงความรับผิดชอบเกี่ยวกับความเสียหายใดๆที่เกิดขึ้นภายหลัง ส่งผลให้ครอบครัวของน้องอ้อประสบความลำบากมาก เนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายกับการไปรักษาตาและผิวหนัง เสียค่าใช้จ่ายไปแล้ว4-5 หมื่นบาท

ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนไข้กับแพทย์เป็นปัญหาที่เรื้อรังมานานแล้ว จากสถิติจากศูนย์สันติวิธี กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ตั้งแต่ พ.ศ.2539 - 2551 นั้น กระทรวงสาธารณสุขถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายรวม 98 คดี แบ่งเป็นคดีแพ่ง 86 คดี คดีอาญา 12 คดี เรียกค่าเสียหายรวม 456 ล้านบาท กระทรวงสาธารณสุขชำระเงินค่าเสียหายทางแพ่งไปแล้ว 7.4 ล้านบาท สาเหตุการฟ้องร้องสูงสุดมี 3 สาเหตุใหญ่ คือ

  1. รักษาผิดพลาดไม่ได้มาตรฐาน 38 เรื่อง
  2. ทำคลอด 18 เรื่อง
  3. วินิจฉัยผิดพลาด 12 เรื่อง

แยกตามตามประเภทโรงพยาบาลที่ถูกฟ้อง พบว่า โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป ถูกฟ้อง 41 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 30 แห่ง จากการคาดการณ์นั้นแนวโน้มการฟ้องร้องจะสูงขึ้นและการเรียกร้องค่าเสียหายจะสูงขึ้นด้วย

ปัจจุบันนั้น จะมี 3 กองทุนหลักที่นำมาเยียวยาแก่คนไข้ คือ 1.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2.กองทุนชดเชยผู้ได้รับความเสียหายทางการแพทย์ 3.กองทุนเงินสวัสดิการโรงพยาบาล สำหรับกรณีของน้องอ้อนั้น เป็นช่องว่างของระบบหรือกลไกการเยียวยา เพราะพบว่าไม่สามารถใช้กองทุนที่มีอยู่ได้ เพราะเกิดความเสียหายจากสถานบริการเอกชน

แต่อย่างไรก็ตามทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าวได้มีการพัฒนากลไกที่จะนำมาใช้เยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายทางการแพทย์ เช่น การมีศูนย์สันติวิธีทางสาธารณสุข คณะกรรมการพิจารณาผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการได้รับบริการทางการแพทย์ ซึ่งเป็นกลไกที่อยู่ในความดูแลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น ซึ่งก็ยังพบว่ายังขาดการเชื่อมประสานที่ดีของการทำงานหรือขาดการขับเคลื่อนในลักษณะภาพรวม ปัญหาหลายเรื่องจึงไม่สามารถแก้ปัญหาได้

ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสงขลา สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ จึงจัดโครงการพัฒนากลไกเยียวยาผู้ที่ได้รับความเสียหายทางการแพทย์ ซึ่งจะนำทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานพยาบาล สื่อมวลชน กลุ่มและตัวแทนผู้บริโภค หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย มาร่วมกันสังเคราะห์กลไกดังกล่าวต่อไป

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง