ศาลแขวงจังหวัดสงขลาร่วมให้ความรู้กับผู้บริโภคเรื่อง "ฟ้องคดีผู้บริโภค ง่ายนิดเดียว" ผ่านทางรายการสมัชชาสุขภาพทางอากาศ วิทยุ มอ. F.M.88 MHz. วันเสาร์ที่ 16 มกราคม 2553 เพื่อให้ผู้ฟังได้เห็นช่องทางการดำเนินคดีผู้บริโภคผ่านทางศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นช่องทางใหม่ที่มีความรวดเร็วและสะดวกสบาย ขั้นตอนไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด โดยมีผู้เข้าร่วมรายการประกอบด้วย คุณคณพงษ์ เพชรแจ้ง คุณวิระศักดิ์ อ่อนบรรจง เจ้าหน้าที่นิติกรประจำศาลแขวงจังหวัดสงขลา ทำหน้าที่เกี่ยวกับคดีผู้บริโภค คุณเติม สุขเอียด กลุ่มผู้เสียหายจากกรณีหมู่บ้านดลฤดี หาดใหญ่ คุณสมศรี ดีเสาวภาคย์ ผู้เสียหายกรณี โน๊ตบุคเกิดความเสียหายกับจากศูนย์บริการของ hp สาขาหาดใหญ่แล้วไม่ได้รับความรับผิดชอบ โดยมี เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ และคุณวรรณา สุวรรณชาตรีและคุณเยาวลักษณ์ ศรีสุกใส ผู้ประสานงานศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ผู้บริโภคจังหวัดสงขลา ร่วมดำเนินรายการ
ตั้งแต่พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความแพ่งคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2551 ที่ผ่านมา อันเป็นกฎหมายใหม่ที่เข้ามามีบทบาทช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้บริโภคถูกล่วงละเมิดสิทธิ แต่พบว่าประชาชนผู้บริโภคกลับมีความเข้าใจเนื้อหาของกฎหมายฉบับนี้น้อยมาก จากจำนวนคดีผู้บริโภคที่ผ่านเข้ามายังศาลแขวงที่มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่เป็นการฟ้องโดยผู้บริโภค จึงจำเป็นที่ศาลต้องเร่งประชาสัมพันธ์และเร่งสร้างเครือข่าย
คุณวิระศักดิ์ ดุกสุกแก้ว ได้เล่าให้เห็นระบบการร้องเรียนเดิมที่จะผ่าน หน่วยงานของรัฐเช่น สคบ.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา พานิชย์จังหวัด เป็นต้น หรือ หน่วยงานองค์กรเอกชน เช่น ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ผู้บริโภค เหล่านี้เป็นกระบวนการปกติที่ผู้บริโภคดำเนินการได้อยู่แล้ว หน่วยงาน สคบ.หรือหน่วยงานรัฐก็จะใช้มาตรการทางปกครอง ส่วนผู้บริโภคที่จะฟ้องร้องทางกระบวนการยุติธรรม ศาลจะใช้กฎหมายแพ่ง ในฐานความผิดเรื่อง การละเมิดหรือ สัญญา ในการฟ้องร้องกัน ซึ่งกระบวนการเดิม จะใช้เวลาและขั้นตอนที่ยุ่งยาก แต่ภายหลังมีการใช้ พรบ.วิธีพิจารณาความแพ่งคดีผู้บริโภค มีข้อดี คือ
1.การฟ้องร้องสามารถฟ้องร้องด้วยวาจาซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่นิติกรประจำศาลดำเนินการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรให้ในการฟ้องร้องฃ
2.ผู้บริโภคต้องมีหน้าที่เก็บเอกสารที่จำเป็นสำหรับการฟ้องร้อง เช่น เอกสารสัญญา ใบสำคัญรับเงิน ใบเสร็จ หรือเอกสารใบรับรอง เอกสารการโฆษณา เป็นต้นประกอบในการฟ้องร้อง
3.ภายหลังการฟ้องร้อง ศาลจะนัดไกล่เกลี่ย 1 เดือน ภายหลังการรับฟ้อง และจะมีการไกล่เกลี่ย ศาลจะนัดไต่สวนและ เลื่อนนัดได้ไม่เกิน 3 ครั้ง ๆละ 7 วัน การพิจารณาจะดำเนินการไปอย่างรวดเร็ว
4.การนำสืบจะเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการเป็นผู้พิสูจน์ว่า ตนเองไม่ผิด ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องมีทนายความ และสามารถแถลงต่อศาลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ประจำศาลเป็นผู้รวบรวมพยานหลักฐาน ประกอบการพิจารณา นอกจากนี้ คูณ เติม สุขเอียด ผู้เสียหายจากกลุ่มหมู่บ้านดลฤดี มีการเล่าประสบการณ์ การฟ้องร้องด้วยกฎหมายผู้บริโภค ที่มีความรวดเร็ว ทางผู้เสียหายได้ใช้กระบวนการทางปกครอง คือร้องเรียนผ่าน สคบ.ตั้งแต่ ปี 2548 จวบจนปัจจุบันก็ยังไม่สามารถแก้ไขเยียวยาให้ผู้บริโภคได้ แต่พอใช้การฟ้องร้องก็พบว่า สะดวกมาก นอกจากนี้ยังแนะนำเทคนิคของการแก้ปัญหาผู้บริโภค เช่น ต้องรวมกลุ่มผู้เสียหาย การรวบรวมพยานหลักบานที่เกี่ยวข้องกับคดี เป็นต้น
Relate topics
- เทป สงขลาโมเดล เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ลุงประสิทธิ เชิงแส
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรโอเดียน ประจำเดือนตุลาคม 58 ณ ห้างฯโอเดียน เมือวันเสาร์ที่ 3 ต.ค.58 ลูกค้าคึกคักทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
- สจรส.ม.อ.ร่วมงานสนับสนุนเทศกาลกินเจ หาดใหญ่ 2558 กินเจ ถูกปาก ถูกใจ ถูกอนามัย ไร้แอลกอฮอล์ โดยมีงานแถลงข่าว เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 24 ก.ย.58 ณ วัดถาวรวร
- คณะศึกษาดูงานจากเทศบาลตำบลกำแพงเพชร ณ ตลาดเกษตร ม.อ.
- อาจารย์มนทิรา คณะอุตสาหกรรมเกษตร ลงพื้นที่สวนกง เพื่อพูดคุยทำความเข้าใจกับชุมชนเพื่อเตรียมอบรมเรื่องมาตรฐานการผลิตอาหารทะเลแปรรูป