บทความ

สารเมลามีน (Melamine) ... คืออะไร?

by twoseadj @September,21 2008 18.43 ( IP : 222...50 ) | Tags : บทความ
photo  , 120x160 pixel , 5,792 bytes.

เรามาทำความรู้จักกับสารตัวนี้กันหน่อยนะครับ สารเมลามีนถูกสังเคราะห์ขึ้นครั้งแรกโดย คุณ Liebig ปี 1834 ซึ่งได้มาจากการเปลี่ยนแปลงของ ไดไซอะนามัย (dicyanamide) เป็นแคลเซี่ยม ไซอะนามัย (calcium cyanamide) โดยการให้ความร้อนจนถึงอุณหภูมิละลายซึ่งได้เป็นแอมโมเนียและเมลามีน มีการนำเมลามีนมาใช้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น เมื่อเมลามีนรวมกับฟอร์มาดีไฮด์จะพบในการทำพลาสติกที่ทนความร้อน โฟน สารทำความสะอาด และผลผลิตสุดท้ายของปฏิกิริยาสามารถใช้เมลามีนใน กาว สารทนไฟ สีย้อมในหมึก (ให้สีเหลืองเป็นหลัก) นอกจากนี้ยังพบในการทำปุ๋ย บางอนุพันธุ์ของมันยังพบในสารหนู (Arsenical drug) ป้องกันพยาธิในเม็ดเลือดด้วย ส่วนในอาหารสัตว์ เมลามีนใช้เป็น non-protien nitrogen (NPN) หรือพูดง่ายๆ คือเป็นแหล่งโปรตีนที่ให้ไนโตรเจนหรือยูเรียในสัตว์เคี้ยวเอื้องแต่มีรายงานว่าเกิดปฏิกิริยาช้าและไม่สมบูรณ์ (1)

สำหรับความเป็นพิษพบว่า เมลามีน สามารถเป็นพิษอย่างเฉียบพลัน และเรื้อรังถ้าได้รับอย่างต่อเนื่อง แต่ส่วนใหญ่เป็นการทดลองในหนู และกระต่าย (2) แต่ล่าสุดพบว่ารูปของเกลือเมลามีน (melamine cyanurate) จะเป็นพิษมากกว่าโดยเฉพาะถ้าได้รับอย่างต่อเนื่องซึ่งจะทำให้เกิดพิษต่อระบบสืบพันธุ์ กระเพาะปัสสาวะ และไต และนำไปสู่การเกิดมะเร็งตามมา (3,4) ในสุนัขที่ได้รับเมลามีนมีผลทำให้เกิดไตวาย (renal failure) ด้วย(8) ซึ่งในฟาร์มสุกรก็พบปัญหานี้เช่นกัน และในปีเดียวกันนี้เอง มีรายงานว่าสัตว์ที่ได้รับเมลามีนทางการกินอาหารที่ปนเปื้อนเป็นสาเหตุให้เกิดการป่วยและตายตามมา(5,6,7) ซึ่งหน่วยงานที่อเมริกา (US Food and Drug Administration) รายงานว่าพบเมลามีนซึ่งมีลักษณะเป็นแกรนูสีขาวปนเปื้อนในโปรตีนที่ได้มาจากข้าวสาลีซึ่งนำเข้าจากจีน และมีรายงานว่ายังพบการปนเปื้อนเมลามีนในอาหารสัตว์ในจีนอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มโปรตีนในอาหารอีกด้วย ดังนั้นหน่วยงานที่อเมริกาจึงมีการตรวจสอบวัตถุดิบอาหารสัตว์โดยเฉพาะแหล่งโปรตีนที่นำเข้าจากจีนทุกครั้ง

มีรายงานการศึกษา (9) คาดว่ากลไกการเกิดพิษของเมลามีนต่อไตเกิดจากการขัดขว้างการทำหน้าที่ของไต แต่ (10) Weise (2007) รายงานว่าน่าจะมีกลไกที่มากกว่านี้ เนื่องจากไม่พบเนื้อตายและการอักเสบ

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง