วันที่ 15 ธันวาคม 2552 ณ ห้องประชุม CEO ศาลากลางจังหวัดสงขลา สคบ. จังหวัดสงขลา ได้ประสานความร่วมมือกับภาคี เครือข่ายซึ่งดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา อาทิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ , สมาคมคุ้มครองผู้บริโภค, เทศบาลนครหาดใหญ่, เทศบาลตำบลปริก, อบต. ควนรู แกนนำภาคประชาสังคม ฯลฯ ช่วยกันระดมความเห็นในแนวทางการจัดตั้งสำนักตรวจและประสานการคุ้มครองผู้บริโภคภูมิภาค โดยสถาบันกฎหมายไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นผู้ศึกษาวิจัยและนำผลข้อเสนอที่ได้จากเวที ดังกล่าว เสนอไปสู่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี
การศึกษาวิจัยมีการศึกษาถึงสถานการณ์ ภาพรวมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ปัญหาอุปสรรค การระดมความคิดเห็น พบว่า การดำเนินคุ้มครองผู้บริโภคของ สคบ. จังหวัดสงขลามีปัญหาด้านการบริหารจัดการ เรื่องงบประมาณ บุคลากร ซึ่งที่ผ่านมา สคบ. จังหวัดสงขลา ได้รับงบประมาณในการสนับสนุนการทำงานปีละหนึ่งแสนกว่าบาท ด้านบุคลากรก็เป็นแค่ลูกจ้างชั่วคราว ทำให้บุคลากรขาดขวัญกำลังใจทำงาน เกิดการเปลี่ยนแปลงโยกย้าย เป็นผลให้การทำงานคุ้มครองผู้บริโภคไม่ต่อเนื่อง
นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมยังช่วยกันเสนอความคิดเห็น ดังนี้ 1) สคบ. ควรทำงานเชิงรุกให้มากขึ้น โดยเน้นการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค และทำงานร่วมกับเครือข่ายภาคประชาสังคม ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค
2) สคบ. ควรผลักดันกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค
3) ควรมีการกระจายอำนาจการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคไปสู่ท้องถิ่น เพื่อลดการกระจุกตัวของการทำงานในระดับจังหวัด โดยการจัดตั้งและสังเคาะห์กลไกการทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
4) การตั้ง สคบ. ภาค ควรมีเป็นหน่วยงานด้านการประสานการทำงานโดยนำนโยบายของท้องถิ่นไปสู่ผู้บริหารของ สคบ. ส่วนกลาง
5) บทบาทหน้าที่ของ สคบ. ภาค ควรสนับสนุน ส่งเสริม สร้างความเข้มแข็งในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในระดับจังหวัด
6) ควรผลักดันการจัดตั้งองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภค ตามมาตรา 61 ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ การจัดตั้ง สคบ. ภาค อาจจะมีการทำงานซ้ำซ้อนกัน ดังนั้น สคบ. ภาคควรจะกำหนดแนวทาง ขอบเขตอำนาจหน้าที่ เพื่อยกระดับการทำงาน สคบ. จังหวัดให้เข้มแข็ง
การทำงานคุ้มครองผู้บริโภคต้องสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน หน่วยงานรัฐ ผู้ประกอบการ ภาคประชาสังคม และผู้บริโภค ถึงแม้จะมีกฎหมายที่จะมาช่วยผู้บริโภค แต่ผู้บริโภคเองก็ต้องตระหนักในสิทธิของตนเอง ผู้ประกอบการก็ต้องมีจริยธรรม หน่วยงานรัฐก็ต้องบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)