ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

ครม.ผ่านกฎกระทรวงสิทธิการตาย เปิดช่องหมอยุติรักษาตามเจตนาคนไข้

by twoseadj @December,09 2009 18.55 ( IP : 117...108 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 261x262 pixel , 10,595 bytes.

เลขาฯสช.ชี้ครม.ผ่านกฎกระทรวงสิทธิการตาย ขอปฏิเสธการรักษา ไม่ใช่หนังสือขอให้หมอทำให้ตาย แต่เป็นความต้องการของผู้ป่วยระยะสุดท้ายขอให้ยุติการรักษาไม่ยื้อชีวิตเป็นลายลักษณ์อักษร เปิดช่องให้หมอทำได้

นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมสุขภาพแห่งชาติ กล่าวถึงคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยพ.ศ…ที่ออกตามมาตรา 12 ของพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติว่า หลังจากนี้คาดว่าหลังจากคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาจะมีผลบังคับใช้ประมาณ ก.พ.-มี.ค.2553 สำหรับเนื้อหาของร่างกฎกระทรวงนี้ เป็นการทำหนังสือแสดงความจำนงของผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่จะปฏิเสธการรักษาเพื่อยื้อชีวิต เป็นลายลักษณ์อักษร

"ถือเป็นสิทธิของผู้ป่วยโดยตรง ไม่ได้เป็นการบังคับ โดยขอให้บุคลากรทางวิชาชีพทำให้เสียชีวิต เพราะทุกข์ทรมานจากการป่วย เช่น การถอดสายออกซิเจน หยุดเครื่องช่วยหายใจ ฯลฯ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดแต่ที่จริงแล้วเป็นการแสดงความจำนงของผู้ป่วยเองมากกว่าว่าหากป่วยในระยะสุดท้ายแล้วรักษาด้วยวิธีใดไม่ดีขึ้น ก็ขอปฏิเสธการรักษา ให้จากโลกนี้ไปอย่างธรรมชาติ ซึ่งปกติมีการประพฤติปฏิบัติกันอยู่แล้ว แต่ครั้งนี้เป็นลายลักษณ์อักษร เหมือนกรณีกับนายยอดรัก สลักใจ ที่บอกหมอและญาติว่า หากป่วยในระยะสุดท้ายแล้วไม่ขอให้แพทย์ดำเนินการรักษาใดๆอีก"นพ.อำพลกล่าว

นพ.อำพล กล่าวอีกว่า หนังสือดังกล่าวที่ผู้ป่วยทำไว้เพื่อขอปฏิเสธการรักษานั้น ไม่ใช่นิติกรรมผูกพันทางมรดก แต่เป็นแค่หนังสือแสดงเจตนาของผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้มีการพูดคุยมากขึ้น เพราะในร่างกฎกระทรวงดังกล่าวได้ระบุว่า หากมีปัญหาในการดำเนินการตามหนังสือดังกล่าว ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหารือกับญาติหรือบุคคลใกล้ชิดของผู้ป่วย เพื่อกำหนดแนวทางการดูแลรักษาต่อไป โดยเพื่อรักษาประโยชน์ของผู้ป่วยและดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของหนังสือให้มากที่สุด

นพ.อำพล กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ หนังสือดังกล่าวไม่ได้เป็นหนังสือเชิงนิติกรรมที่แบ่งสมบัติ หรือนำไปใช้ในชั้นศาลได้ ขณะเดียวกันญาติและแพทย์ก็ต้องรับฟังหนังสือดังกล่าว ไม่สามารถยกเลิกได้ เนื่องจากเป็นประสงค์และสิทธิของผู้ป่วย ซึ่งในปัจจุบันแพทย์และญาติของผู้ป่วยจะเป็นผู้ใช้สิทธิส่วนตัวนี้มากกว่า อย่างไรก็ตามไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับภาวะของผู้ป่วยขณะที่เขียนหนังสือดังกล่าว เพราะจะมีพยานรับรองว่า ผู้ป่วยที่แสดงประสงค์ขอปฏิเสธการรักษาจะต้องมีสติสัมปชัญญะครบถ้วน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 ธันวาคม 2552

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง