กรณีศึกษา - ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

รวบรวมข่าวที่เกิดขึ้นในสังคม พร้อมวิเคราะห์ปัญหา แนวทางแก้ไข

กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์โอทอปพบสารกันบูดเกินมาตรฐาน

by twoseadj @October,14 2009 14.17 ( IP : 113...25 ) | Tags : กรณีศึกษา - ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
photo  , 1742x1108 pixel , 228,362 bytes.

พบสารกันปูดเกินมาตรฐาน 10 เท่าแกงไตปลา-น้ำพริกกุ้งเสียบ" โอทอประดับ 5 ดาว จี้ให้ความรู้ชาวบ้านผู้ผลิต ด้าน อย.เต้น สั่งการ สสจ. ทั่วประเทศสุ่มตรวจโรงงานผลิต เส้นก๋วยเตี๋ยว-คุมเข้มใส่สารกันบูด ฝ่าฝืนเจอโทษปรับ 2 หมื่น อนาคตเตรียมยกระดับโรงงาน ผลิตต้องได้มาตรฐานจีเอ็มพีและต้องติดฉลาก ยังบอกไม่ได้รับประทานกี่ชามจึงจะปลอดภัย ด้านเลขาธิการ อย. ขำ ๆ บอกซดเกาเหลาสบาย ใจกว่า

ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อวันที่ 28 ส.ค. นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองเลขาธิการ อย. แถลงว่า ตามที่ การตรวจพบสารกันบูด หรือสารกันเสีย คือ กรดเบนโซอิกปริมาณเกินมาตรฐานกำหนดในเส้นก๋วยเตี๋ยวนั้น อย.ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้สั่งการให้สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศเข้าไปกำกับดูแล และสุ่มตรวจโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวโดยเร่ง ด่วน หากพบว่ามีการใช้สารกันบูด โดยเฉพาะ กรดเบนโซอิก และซอร์บิก เป็นส่วนผสมในเส้นก๋วยเตี๋ยว ในปริมาณที่สูงเกินที่กำหนด คือ 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ผู้ประกอบการจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายมีโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท รวมไปถึงเร่งให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผู้ประกอบการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว ถึงวิธีการใช้สารกันบูดให้ถูกต้องและปลอดภัยต่อผู้บริโภคด้วย

รองเลขาธิการ อย. กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นทาง อย.ได้รับรายงานดังกล่าวจากทาง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มาก่อนหน้านี้แล้ว อย่างไรก็ตามในอนาคตอาจจะมีการเพิ่มมาตรการควบคุมมากขึ้นโดยการยกระดับให้ผู้ผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวในระดับโรงงานตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป และมีคนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป จะต้องผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานจีเอ็มพี โดยสถานประกอบการจะต้องมีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานสะอาดและปลอดภัย ตามเกณฑ์กำหนด รวมทั้งจะต้องติดฉลากเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคมากขึ้น หากมีการใส่กรดเบนโซอิกในเส้นก๋วยเตี๋ยว ปริมาณที่ใส่มีค่าไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโล กรัม ตามที่คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานอาหารสากล (codex) กำหนด ใน 1 วันประชาชน สามารถบริโภคก๋วยเตี๋ยว 2-3 ชามได้อย่างปลอดภัย แต่ถ้ามีการใส่สารดังกล่าวเกินมาตรฐาน เช่นตามข่าวที่ตรวจพบ 17,250 มิลลิกรัม คงไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่าควรรับประทานกี่ชามต่อวันจึงจะปลอดภัย อย่างไรก็ตามในขณะนี้คาดว่ามีโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวทั่วประเทศเกือบทุกอำเภอและทุกจังหวัด โดยผู้ผลิตรายใหญ่น่าจะมีประมาณ 200-300 โรงงาน

ผู้สื่อข่าวถามว่าประชาชนจะมั่นใจได้อย่างไรว่ารับประทานเส้นก๋วยเตี๋ยวแล้วปลอดภัย นพ.นิพนธ์ กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าปัจจุบันคนที่รับประทานก๋วยเตี๋ยวไม่รู้ว่าเส้นผลิตจากโรงงานไหน แม่ค้าเองก็ไม่รู้ ด้วยเหตุนี้ อย.คงต้องนำเรื่องนี้มาพิจารณาเพื่อยกระดับการผลิตเส้นก๋วย เตี๋ยวให้มีมาตรฐานมากขึ้น โดยต้องแจ้งให้กระทรวงสาธารณสุขทราบว่ามีการตั้งโรงงานที่ไหน การยกระดับโรงงานให้ได้มาตรฐานจีเอ็มพีจะทำให้ทราบแหล่งผลิตและสามารถเข้าไปกำกับดูแลได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งนอกจากเส้นก๋วยเตี๋ยวที่จะต้องได้ GMP แล้ว ต่อไปอาหารประเภท กะทิ จะต้องได้มาตรฐาน GMP เช่นกัน และอาจจะต้องมีการติดฉลาก เมื่อถามว่าการลวกเส้นก๋วยเตี๋ยวจะทำให้สารกันบูดเจือจางลงไปหรือไม่ นพ.นิพนธ์ กล่าวว่า อาจทำให้เจือจางลงได้เพียง 10% เนื่องจากสารกันบูดดังกล่าวอยู่ในเส้นก๋วยเตี๋ยวดังนั้นการลวกเส้นจึงไม่ช่วยอะไร

ด้าน นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขา ธิการ อย. กล่าวปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าวโดยมอบให้ นพ.นิพนธ์ เป็นผู้ให้ข่าวแทน โดยกล่าวติดตลกเพียงสั้น ๆ ว่า ต่อไปเห็นที่จะต้องหันไปกินเกาเหลาแทน

ด้านนายอนัตตา การุญ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ 5 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ภูเก็ต กล่าวว่า น้ำพริกกุ้งเสียบและแกงไตปลา เป็นอาหารพื้นเมืองทางภาคใต้ที่มีชื่อเสียงแพร่หลายมานาน ได้มีการพัฒนาคุณภาพเป็นผลิตภัณฑ์น้ำพริกกุ้งเสียบ และแกงไตปลาที่มีบรรจุภัณฑ์สวยงามหลากหลายแตกต่างกันไป โดยมีการวางจำหน่ายเป็นของฝากตามเมืองท่องเที่ยว หลายยี่ห้อยังเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือ โอทอประดับ 5 ดาว ทางศูนย์วิทยาศาสตร์ภูเก็ตจึงได้ลองเก็บตัวอย่างสำรวจคุณภาพของฝากอาหารพื้นเมือง โดยคัดเลือกผลิตภัณฑ์เด่น ๆ ในพื้นที่ คือ น้ำพริกกุ้งเสียบ และแกงไตปลา จากร้านที่จำหน่ายของฝากใน 3 จังหวัด ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ คือ จ.กระบี่ พังงา และภูเก็ต 50 ตัวอย่าง แบ่งเป็นน้ำพริกกุ้งเสียบ 27 ตัวอย่าง แกงไตปลา 23 ตัวอย่าง โดยไม่ซ้ำยี่ห้อทั้งที่มีชื่อเสียงและที่วางจำหน่ายทั่วไป เพื่อตรวจดูปริมาณวัตถุกันเสียชนิดกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ซึ่งเป็นสารวัตถุกันเสีย สารตะกั่ว แคดเมียม ปรอท และดูปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ด้วยการตรวจวิธีทางเคมีและจุลชีววิทยา โดยเริ่มเก็บตัวอย่างตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2549 จนสิ้นสุดปีงบประมาณ

จากผลการตรวจ พบว่า ร้อยละ 50 ของจำนวนผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ทั้งแกงไตปลาและน้ำพริกกุ้งเสียบไม่เข้าเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากมีการตรวจพบจุลินทรีย์ทั้งหมดและมีการใช้วัตถุกันเสียที่เกินค่ามาตรฐาน โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้วัตถุกันเสีย พบว่า มีการใช้ที่เกินค่ามาตรฐานสูงสุดถึง 10 เท่า คือ 2,000-3,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากผู้ประกอบการซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มแม่บ้านไม่เข้าใจวิธีการใช้วัตถุกันเสียที่ถูกต้อง จึงจำเป็นต้องให้ความรู้ โดยเน้นควบคุมการผลิตไม่ให้ปนเปื้อนที่ส่งผลต่ออาหารเพื่อให้มีการใช้สารวัตถุกันเสียน้อยลง ทั้งนี้การวิจัยนี้ยอมรับว่าย่อมส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์โอทอป แต่ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกระดับ ก้าวสู่มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อให้ผลิตภัณฑ์พื้นบ้านได้มาตรฐานความปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับทำให้การจำหน่ายกว้างขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ.

แหล่งข่าว เดลินิวส์

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง