ชาวหมู่บ้านดลฤดี ราษฎร์อุทิศ 32/1 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จัดรวมพลังผู้บริโภคชาวหมู่บ้านดลฤดี ที่ได้รับความทุกข์จากการซื้อขายบ้านทาวน์เฮาท์ เล่าเรื่องราวที่แสนยุ่งยากและลำบาก การต่อสู้ที่แสนยาวนานของประชาชนที่มาซื้อบ้านในโครงการดลฤดี เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์แก่ผู้บริโภคที่จะซื้อบ้านเป็นอุทหรณ์ให้คิดก่อนซื้อ ร่วมกับเครือข่ายสื่อและศุนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศูนย์ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
เวลา 17.00 น.ของวันที่ 11 ตุลาคม ที่ผ่านมา ชาวหมู่บ้านดลฤดีจำนวน 57 หลังคาเรือน จัดเสวนาบริเวณสถานที่กลับรถของภายในหมู่บ้าน "เรื่องทุกข์ของผู้ซื้อบ้านไม่สมหวัง" ร่วมกับผู้เสียหายจากโครงการเนเจอร์โฮม หาดใหญ่ จำนวน 6 หลังคาเรือน มาร่วมแลกเปลี่ยนผ่านรายการสมัชชาออนแอร์ ทาง มอ. 88 MHz และทางคลื่นความคิด F.M.101.0 MHz
การถูกเอาเปรียบของหมู่บ้านดลฤดี เกิดขึ้นเมื่อประมาณปี 2548 โดยชาวหมู่บ้านดลฤดีได้ถูกเจ้าของโครงการโกงและหลอกลวง โดย
การปลอมแปลงรายมือชื่อของผู้เช่าซื้อบ้านไปใช้ในการยื่นขอแบบแปลนกับทางเทศบาลนครหาดใหญ่ ทำให้มีลักษณะว่าผู้ซื้อบ้านจ้างก่อสร้างบ้านบนที่ดินของหมู่บ้านดลฤดี เจ้าของโครงการมิได้เป็นเจ้าของที่ดินแต่ประการใด(มีการร่วมมือกันเป็นขบวนการกับเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่น)
เจ้าของโครงการได้นำที่ดินส่วนกลางขายให้กับผู้ซื้อหรือผู้ที่จะซื้อบ้านที่ติดกับบริเวณที่มีสาธารณะต้องซื้อในราคาที่ควบกับที่สาธารณะด้วย
การก่อสร้างโดยใช้วัสดุไม่ตรงตามแปลนของบ้านที่ให้ไว้ บ้านแต่ละหลังจะใช้วัสดุไม่ตรงตามแปลนที่วางไว้มีมูลค่าหลังละ 75,000 บาท (ผู้เดือดร้อนได้ขอคัดสำเนาแบบแปลนจากกองช่าง เทศบาลนครหาดใหญ่) จึงให้วิศวกรท่านหนึ่งที่ได้มาซื้อบ้านในโครงการดังกล่าวเป็นผู้วิเคราะห์ข้อเท็จจริง ซึ่งพบว่า ใช้วัสดุไม่ตรงตามแบบแปลนที่ให้ไว้
ที่ผ่านมาผู้ที่เดือดร้อนจากโครงการดังกล่าวได้ รับผลกระทบ เช่น บ้านหลังคารั่ว พื้นทรุด มีความไม่สบายใจเนื่องจากพบว่า มีการใช้ปูนคุณภาพต่ำในการก่อสร้าง ซึ่งอาจมีผลให้เกิดการทรุดตัวของบ้านภายหลังได้ เป็นต้น
ในเวทีดังกล่าว มีการแลกเปลี่ยน ทุกข์ของผู้บริโภคจากโครงการหมู่บ้านเนเจอร์โฮม ซึ่งถูกโกงด้วยการปัดไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์บ้านตามสัญญาจะซื้อจะขาย โดยอ้างว่าเจ้าของโครงการไม่ทราบการทำธุรกรรมของผู้แทนขายบ้าน และที่ดินที่บ้านดังกล่าวถูกปลูกสร้างอยู่ได้โอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่นไปเสียแล้ว
ซึ่งทั้งสองโครงการ ผู้ได้รับความเดือดร้อนกำลังฟ้องคดีผู้บริโภค ณ ศาลแขวงจังหวัดสงขลาและศาลจังหวัดสงขลา โดยในเวทีดังกล่าวเกิดความร่วมมือด้านการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกับผู้เสียหาย โดยศูนย์ให้ความช่วเหลือทางกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ อาจารย์จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการฟ้องร้องตามพรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ที่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้ต่อสู้อย่างเต็มที่ ทางศูนย์ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายจะเข้ามาให้คำปรึกษาแก่ผู้เสียหายจากทั้งสองโครงการต่อไป
ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ (สจรส.มอ.) ได้สะท้อนให้เห็นว่า ต้องมีการพัฒนาระบบข้อมูลที่จำเป็นต่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่ซื้อบ้าน โดยทางศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ผู้บริโภคจะพัฒนาร่วมกับนักวิชาการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางประชาสังคม เสริมความเข้มแข็งของผู้บริโภค ให้สามารถมีพลังต่อสู้กับทุนและอิทธิพลของผู้ประกอบการ
ฟังบันทึกเสียงจากเวทีได้จากเว็บไซท์ บ้าน บ้าน เรดิโอ มี 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2
รายงานโดย เภสัชกร สมชาย ละอองพันธ์ ผู้ประสานงานวิชาการ ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสงขลา
Relate topics
- เทป สงขลาโมเดล เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ลุงประสิทธิ เชิงแส
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรโอเดียน ประจำเดือนตุลาคม 58 ณ ห้างฯโอเดียน เมือวันเสาร์ที่ 3 ต.ค.58 ลูกค้าคึกคักทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
- สจรส.ม.อ.ร่วมงานสนับสนุนเทศกาลกินเจ หาดใหญ่ 2558 กินเจ ถูกปาก ถูกใจ ถูกอนามัย ไร้แอลกอฮอล์ โดยมีงานแถลงข่าว เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 24 ก.ย.58 ณ วัดถาวรวร
- คณะศึกษาดูงานจากเทศบาลตำบลกำแพงเพชร ณ ตลาดเกษตร ม.อ.
- อาจารย์มนทิรา คณะอุตสาหกรรมเกษตร ลงพื้นที่สวนกง เพื่อพูดคุยทำความเข้าใจกับชุมชนเพื่อเตรียมอบรมเรื่องมาตรฐานการผลิตอาหารทะเลแปรรูป