“น้ำตานางเงือก” หรือตัวดูดน้ำ มีขนาดตัวเท่ากับใส้ดินสอ เมื่อนำมาแช่น้ำ ตัวนี้ก็จะดูดน้ำเข้าไปพองตัว โตขึ้นเรื่อยๆ ขนาดใหญ่ขึ้นราว 100 เท่า และจะมีการแตกตัวออกมาเป็นลูกกลมๆ เล็กๆ เด็กๆ เรียกว่ามีการออกลูก เป็นการเลี้ยงโดยน้ำ โดยน้ำตานางเงือกนั้นจะบรรจุอยู่ในซองเล็กๆ วางขายในราคาซองละ 5 บาท
ทั้งนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เคยออกมาห้ามจำหน่ายแล้วทั่วประเทศเมื่อปีที่แล้ว แต่ขณะนี้มีการลักลอบนำมาจำหน่ายอีกของพ่อค้าหัวใส โดยเฉพาะใน อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ ระบาดกันมาก ผู้ปกครองเป็นหวงหวั่นเด็กไปกินเข้า จึงฝากมาให้ อย. ส่งคนมาดูแล
สำหรับตัวดูดน้ำดังกล่าว มีสารโพลีอะคริลาไมด์ (polyacrylamide) และสารไวนิลอะซีเตด-เอทิลีนโคโพลิเมอร์ (vinylacetate-ethylene copolymer) ซึ่งสารโพลีอะคริลาไมด์ เป็นโพลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติดูดซับน้ำไว้ในโมเลกุลได้จำนวนมาก โดยโพลิเมอร์มีความสามารถดูดซับน้ำได้ถึง 800 เท่า
อันตรายของ “น้ำตานางเงือก” หรือตัวดูดน้ำ นั้นจะเกิดขึ้นจากการที่เด็กๆ จะชอบเล่น และแอบนำมาเลี้ยงซึ่งนิยมนำมาเลี้ยงไว้ที่บ้านแข่งกันเวลาออกลูกมา และจะอันตรายมากหากมีการเผลอกินเข้าไป เพราะมันจะดูดเลือดและน้ำจากร่างกาย เพื่อที่จะพองตัวออก และเมื่อพองตัวถึงระดับหนึ่ง ก็จะแตกตัวออกมา และเมื่อตัวใหม่ดูดน้ำเข้าไปอีก ก็จะโตขึ้นเรื่อยๆ จนแตกตัวใหม่ออกไปอีกเรื่อยเช่นนี้ และหากเด็กกินเข้าไป ก็จะจุกเสียดแน่นท้อง และอาจจะเสียชีวิตได้
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)