ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

นักวิจัย มก.ปรุงขนมขบเคี้ยวรูปแบบใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพ

by twoseadj @September,21 2009 15.17 ( IP : 118...107 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 400x300 pixel , 27,452 bytes.

นักวิจัย ผลิตภัณฑ์อาหาร มก. พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพ “บิสกิตถั่วเขียว” และ “สแนคเบญจรงค์ข้าว 5 สี” ทำจากวัตถุดิบธรรมชาติ ใช้ไขมันและเกลือโซเดียมในปริมาณต่ำ เสริมแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเด็ก พร้อมบรรจุภัณฑ์ทันสมัยดึงดูดใจผู้บริโภค

เนตรนภิส วัฒนสุชาติ นักวิจัยสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) กล่าวว่า จากภาวะเศรษฐกิจและสังคมวิถีในการดำรงชีวิตของคนไทยได้รับอิทธิพลจากกระแสโลกาภิวัตน์ ส่งผลกระทบต่อการบริโภคอาหารที่ไม่สมดุลเกินปริมาณความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่มีปริมาณน้ำตาล ไขมัน และโซเดียม (เกลือ) สูง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ฯลฯ

"คณะนักวิจัย จึงเกิดแนวคิดวิจัยผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวต้นแบบ โดยการปรับปรุงสูตรให้เหมาะสมกับผู้บริโภคที่ส่วนใหญ่เป็นเด็ก และเยาวชนโดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) ได้แก่

“บิสกิสถั่วเขียว” (Healthy Bean Biscuits) ทำจากถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ และถั่วเหลือง ซึ่งเป็นแหล่งอาหารประเภทโปรตีนที่ได้จากพืชคุณภาพดี ราคาถูก มีโปรตีนร้อยละ 20 – 40 มีใยอาหาร โฟเลท วิตามิน และเกลือแร่สูง อีกทั้งการบริโภคถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดีขึ้น และทำให้ระดับโคเลสเตอรอช่วยป้องกันอาการท้องผูก โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของลในเลือดลดลง

ซึ่ง บิสกิตถั่วเขียวเพื่อสุขภาพ เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวเด็กเพื่อสุขภาพที่พัฒนาสูตรโดยการเติมถั่วเขียว หรือ ถั่วแดง ร้อยละ 40 ของน้ำหนักแป้ง โดยมีส่วนผสมโปรตีนเข้มข้น (Whey Protein Concentrate) และแคลเซียม เพื่อช่วยเสริมคุณค่าโภชนาการให้ครบถ้วน

และ “สแนคเบญจรงค์” ทำจาก ข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยมาทำการแปรรูปให้ได้ผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง และเหมาะสำหรับเป็นขนมเด็กเพื่อสุขภาพ ข้าวที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลัก คือ ข้าวกล้องจากข้าวหอม และข้าวเจ้าหอมนิล ผ่านกระบวนการเอกซ์ทรูชัน (Extrusion Process) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพต่อการผลิตในระดับอุตสาหกรรม ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะ พอง กรอบ และมีความปลอดภัย ต่อการบริโภค ซึ่งนอกจากข้าวแล้ว “สแนคเบญจรงค์” ยังประกอบไปด้วยวัตถุดิบอื่น ๆ ที่มีคุณค่า รวมทั้งสารสร้างสุขภาพ (Functional Food) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ทั้งนี้ได้มีการพัฒนารูปลักษณ์สะดุดตา และจูงใจผู้บริโภค โดยมีรูปร่างคล้ายโดนัทชิ้นเล็กแต่งเติมให้มีสีสันสะดุดตาจากวัตถุดิบจากธรรมชาติ 5 สี ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง ใบหม่อน (mulberry) ขมิ้น (turmeric) และข้าวแดง (angkak) ซึ่งมีคุณประโยชน์ในด้าน การต้านอนุมูลอิสระ และลดโคเลสเตอรอลในร่างกาย เหมาะที่จะเป็นอาหารว่างสำหรับทุกเพศทุกวัย โดยการพัฒนาสูตร ประกอบด้วย ข้าวกล้องจากข้าวหอม แป้งสาลี ข้าวโพด คอร์นกริต แป้งถั่วเหลืองพร่องไขมัน แป้งถั่วเหลืองไขมันเต็ม และแคลเซียมคาร์บอเนต เป็นต้น

นักวิจัย มก.กล่าวต่อว่า จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ขนมทางเลือกเพื่อสุขภาพทั้งสองชนิดนี้ก็คือ คุณค่าทางโภชนาการสารอาหาร ซึ่งมีปริมาณน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมต่ำกว่าสูตรทั่วไปที่จำหน่ายในท้องตลาด มีองค์ประกอบโปรตีนใน ปริมาณ ที่พอเหมาะและแคลเซียมร้อยละ 15 ของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน โดยเพิ่มวัตถุดิบจากธรรมชาติ ได้แก่ ธัญพืช ถั่ว ฯลฯ ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เมื่อคิดปริมาณต่อขนาดบรรจุ 30 กรัม หรือหนึ่งหน่วยบริโภคผลวิเคราะห์สารอาหาร และฉลากข้อมูลโภชนาการ

"บิสกิตถั่วเขียว และ สแนคเบญจรงค์ข้าว 5 สี ที่พัฒนาขึ้นนี้เหมาะสำหรับเป็นต้นแบบให้ภาค อุตสาหกรรมทำการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมของบริษัทตนเองเพื่อจำหน่ายในท้องตลาดเนื่องจาก เป็นขนมทางเลือกใหม่ที่ลดน้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ลงต่ำกว่าเกณฑ์อาหารอ้างอิงร้อยละ 25 ซึ่งเป็น ไปตามหลักเกณฑ์การรับรองอาหารลดน้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ดังนั้นจึงมีโอกาสสูงในการผลิตและ จำหน่ายให้กับผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยกลุ่มเป้าหมายหลักคือเด็กและเยาวชน และสามารถวางขาย ในร้านสะดวกซื้อทั่วไป"

สำหรับผู้ผลิตและผู้ประกอบการที่ผลิตขนมทางเลือกเพื่อสุขภาพในเชิงการค้า สามารถนำหลักการพัฒนาการปรับปรุงสูตรโดยการลดไขมัน น้ำตาล และโซเดียมให้ต่ำลง เพื่อให้ขนมที่ผลิตมีคุณภาพทางโภชนาการดีขึ้น ทั้งนี้สามารถเพิ่มธัญชาติ ผัก ผลไม้ ถั่วต่าง ๆ แหล่งสารอาหารโปรตีน และแคลเซียมที่เหมาะสมสำหรับเป็นอาหารมื้อว่างที่มีประโยชน์สำหรับเด็ก

ขณะนี้ ได้มีบริษัทเอกชนหลายแห่งเข้าร่วมโครงการผลิตผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพื่อสุขภาพ กับสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มก. และได้นำร่องผลิตขนมทางเลือกต่าง ๆ ออกสู่ตลาด เช่น บิสกิตถั่วแดงและถั่วเขียว ขนมผิงเกษตร ธัญพืชอบกรอบ สแนคข้าวโพดอบกรอบ ปลาแผ่นกรอบ และแครกเกอร์โฮลวีทผสมแป้งถั่ว นอกจากนี้เพื่อเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ

** สอบถามรายละเอียดข้อมูลได้ที่ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 0-2942-8629-35

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง