ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

'รัฐต้องฟังความเห็นผู้ใช้รถโดยสารสาธารณะ"

by Little Bear @September,09 2009 09.56 ( IP : 61...76 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

จากอุบัติเหตุรถโดยสาร บริษัท โพธิ์ทองขนส่ง (2505) จำกัด ยางระเบิดฟาดพื้นไม้ทะลุ ทำให้ผู้โดยสารตกลงมาเสียชีวิต 2 ศพ บาดเจ็บ 3 คน ส่งผลให้ขณะนี้กรมการขนส่งทางบก ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดทำโครงการวิจัยเรื่อง การกำหนดอายุรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุกในขอบเขตทั่วประเทศ เพื่อเตรียมการ ไปสู่การแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการกำหนดอายุรถ โดยสารสาธารณะและรถบรรทุกต่อไปในอนาคต

ภายใต้การดำเนินการโครงการวิจัยดังกล่าว "เภสัชกรสมชาย ละอองพันธ์" ผู้ประสานงานวิชาการโครงการพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ศูนยพิทักษ์ สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสงขลา สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ ม.อ. ได้ตั้งข้อสังเกต พร้อมกับออกมาเรียกร้องที่คมคายอย่าง ยิ่งว่า ให้งานวิจัยชิ้นนี้เปิดพื้นที่ให้ผู้บริโภคได้แสดงความคิด เห็นบ้าง พร้อมกับอาสาประสานงานในฝั่งผู้บริโภคให้กับคณะผู้ศึกษา

ต่อไปนี้ คือ ข้อเสนอแนะ และถ้อยอาสาจากคนทำงาน ด้านคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยเรื่อง การกำหนดอายุรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุก

...............................

กลุ่มพิทักษ์สิทธิ์ผู้บริโภคจะขับเคลื่อนเรื่อง การกำหนด อายุรถโดยสารสาธารณะอย่างไร

จากข้อมูลที่เราได้รับ เป็นความร่วมมือระหว่างกรมการ ขนส่งทางบกกับคณะวิศกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดทำโครงการขึ้นมาเพื่อศึกษาความเหมาะสมของอายุรถโดยสารสาธารณะ ขั้นตอนขณะนี้ ทางโครงการกำลังหาข้อมูลจากผู้ประกอบการฝ่ายเดียวหรือ เปล่า

เรื่องของอายุรถโดยสารสาธารณะ มีผลกระทบต่อ ผู้บริโภค ต่อผู้โดยสาร ผมอยากให้คนที่ทำงานเรื่องนี้ เชิญผู้บริโภค หรือองค์กรผู้บริโภค หรือผู้ที่ได้รับความเสียหาย จากการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นด้วย ผมเห็นว่า ควรมีประเด็นคำถาม ประเด็นปัญหา ซักถามความเห็นของคนกลุ่มนี้ เกี่ยวกับกฎ หมายที่จะออกมาใหม่ กฎกระทรวงที่จะออกมาใหม่ ผมอยากเห็นตรงนี้

ถ้ามีการจัดรับฟังความคิดเห็นคนกลุ่มนี้ ทาง เรายินดีจะดึงกลุ่มผู้ใช้บริการ ดึงตัวแทนกลุ่ม ผู้บริโภคเข้ามาร่วมประชุม ตรงนี้เราสามารถ ที่จะหาตัวแทนมาเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น ได้ ผมคิดว่า ในส่วนของผู้บริโภคอยากจะเข้าไปมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับกฎหมายฉบับนี้นะ

ปัญหาของผู้บริโภคที่ไม่ได้เข้าร่วม

ประเด็นสำคัญ คือ ไม่แน่ใจตัวงานวิจัย หรือวิธีการจัดการของ คนที่รับผิดชอบว่า มีการคำนึงถึงผู้บริโภคหรือเปล่า อาจจะมองว่า กฎหมายจะมีผลกระทบผู้ประกอบการอย่าง เดียวหรือไม่ เลยทำแค่รับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการ ผมยืนยันว่า ต้องให้ผู้บริโภคเข้าไปมีส่วน ร่วมให้มากกว่านี้ ทางเรายิน ดีที่จะประสานงานให้

อาจจะเกิดจากความไม่ตื่นตัวของผู้บริโภคเองก็ได้

ต้องมองการจัดการตรงนี้ด้วยว่า เขามีการประชาสัมพันธ์หรือไม่ เราไม่ทราบว่าคนจัดได้เปิดเวทีให้ผู้บริโภคด้วยหรือเปล่า เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่รู้ว่า มีการเปิดเว ที ถ้าหากเขาเชิญมา หรือแจ้งมา ตัวผู้บริโภคเองยิน ดีที่จะเข้าไปร่วมตรงนั้น ขอให้เปิดพื้นที่ให้ก็แล้วกัน

อายุเฉลี่ยที่จะมีการกำ หนดอาจจะอยู่ระหว่าง 20 - 25 ปี

ต้องยอมรับว่าเมืองไทย ไม่ได้มีกฎหมายกำหนด อายุรถโดยสารสาธารณะคือรถโดยสารสาธารณะ ส่วนใหญ่ต่อกันขึ้นมาเอง หรือดัดแปลง ส่วนบริษัทใหญ่ๆ ก็ซื้อรถมาจากต่างประเทศ เมื่อกฎหมายไม่ได้กำหนด อายุของรถโดยสารสาธารณะ คือ ใช้งานกี่ปีก็ได้ เก่าเท่าไหร่ ก็ได้ ผมเห็นว่า ควรต้องกำหนดอายุรถโดยสารสาธารณะ ต้องมีมาตรฐานของตัวอายุรถ

การกำหนดอายุรถโดยสารสาธารณะ เป็นเพียงหนึ่งใน มาตรการ ที่ช่วยให้เกิดความปลอดภัย เรายังมีมาตรการบังคับใช้กฎหมาย ที่ยังไม่ได้เอาจริงเอาจังมากพอ อย่างเรื่อง การตรวจสภาพรถ มีเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องหรือเปล่า ถึงทำให้รถที่สภาพไม่ได้มาตรฐานผ่านการตรวจออกมารับส่งผู้โดยสารได้

เราต้องยอมรับก่อนว่า บางประเทศมีการกำหนดอายุ รถโดยสารสาธารณะ เราต้องศึกษาว่า มีประเทศอะไรบ้างที่ กำหนด อย่างประเทศญี่ปุ่นมีระบบการตรวจตรา และมีการ บังคับใช้กฎหมายตรวจสภาพรถอย่างเข้มงวด ถ้าผู้ประกอบการสามารถทำได้ตามข้อกำหนด หรือทำได้ตามมาตรฐาน เขาถึงจะให้ผ่าน การกำหนดอายุรถโดยสารสาธารณะเป็นเรื่องดี เป็นตัวการันตีอย่างหนึ่ง การกำหนดมาตรฐานการตรวจสภาพรถที่เข้มงวด เป็นการช่วยเสริมให้เกิดความปลอดภัยอีกทางหนึ่ง

ถ้าประเทศไทยจะกำหนดมาตรการตรงนี้ให้เข้มงวดขึ้น ผมเห็นด้วย แต่เจ้าหน้าที่ต้องเข้มงวดด้วย เพราะปัญหาที่ผ่านมาคือ การตรวจสภาพรถไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีการบังคับใช้กติกาอย่างเคร่งครัด

อีกประเด็นหนึ่ง เราต้องยอมรับว่ารถมีจุดคุ้มทุน มันมีวันเสื่อมสภาพ ถ้าผู้ประกอบการใช้รถจนเกินจุดคุ้มทุน หลังจากนั้น มันจะถึงช่วงต้องซ่อมบำรุง ทำให้ไม่คุ้มค่าการลงทุน ที่จะได้รับจากผลตอบแทนที่ได้ ความจริงทุกอย่างก็มีอายุของมัน อย่างรถในช่วง 13 ปีแรก มีการซ่อมบำรุงน้อย พอมาถึงจุดคุ้มทุนแล้วค่าบำรุงรักษา จะสูงขึ้นกว่ารายได้ที่จะได้รับจากรถ

ผมคิดว่า ถ้ามองในแง่นี้ การกำหนดอายุรถโดยสารสาธารณะ ก็จะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการ เพราะรถโดยสารสาธารณะส่วนใหญ่ที่วิ่งอยู่ทุกวันนี้ บางทีเป็นรถเก่า วิ่งแต่ละวัน ไม่คุ้มกับค่าบำรุงดูแลรักษา เมื่อใช้จนคุ้มทุนไปแล้ว มันเก่าเกินไป ก็ต้องซ่อมเยอะ

อันนี้ เป็นการมองในอีกแง่มุมหนึ่ง คือ อยากให้ผู้ประกอบการเปิดใจกว้าง รับข้อมูลนี้ไปประกอบการพิจารณา ด้วย

คิดอย่างไรที่ผู้ประกอบการในภาคใต้ มีความเห็นแตกต่างจากภาคอื่น เพราะภาคอื่นยินดีให้มีการกำหนดอายุรถโดยสารสาธารณะ

ประเด็นแรก ผมอยากให้ผู้ทำโครงการวิจัยศึกษาว่า ที่ผู้ประกอบการไม่ต้องการให้กำหนดอายุรถโดยสารสาธารณะ มีสาเหตุมาจากอะไร อาจจะเป็นเพราะว่า 1. เขาไม่เชื่อข้อมูลที่เราให้กับเขาหรือ เปล่า 2. เราต้องมองว่าเมื่อเขาเข้า ใจผิด เขาจะมองว่าเขาเสียผลประโยชน์จากการออกกฎ หมายใหม่

ผมเลยบอกว่า เกี่ยวกับระบบขนส่ง เกี่ยวกับระบบการ ให้บริการ ต้องให้ผู้บริโภคเข้าไปร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย ทำไม เขาถึงไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้บริโภค แน่นอน การมองของผู้บริโภค จะมองจากจุดยืนของตัวเอง คือ ต้องการพิทักษ์สิทธิ์ของตัวเอง เราต้องการจะแสดงให้เห็นข้อดี ข้อเสีย ของระบบปัจจุบัน และสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นในอนาคต

อย่างเรื่องของจุดคุ้มทุนของผู้ประกอบการ อายุการใช้ รถที่นานเกินไปเขามีต้นทุนซ่อมบำรุงสูงตามไปด้วย แทนที่เขา จะทำกำไรได้ เขาอาจจะขาดทุนไปเลย ตรงนี้เขาอาจจะมอง ไม่เห็น คือ วิ่งไปวันต่อวัน เนื่องจากผู้ประกอบการบางคน โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็ก วิ่งรถโดยสารไปวันๆ โดยไม่มีการวิเคราะห์ต้นทุนว่า รายได้แต่ละวันมันคุ้มต่อการบำรุงรักษาหรือไม่

บางทีเขาอาจจะไม่มีข้อมูลตรงส่วนนี้ ทางคณะผู้วิจัยได้นำเสนอข้อมูลตรงนี้ให้เขาดูหรือเปล่า

ประเด็นที่สอง ควรจะให้ผู้บริโภค ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม มีสิทธิ์เสนอความคิดเห็นบ้าง ในเมื่อเขาเป็นคนรับผลจากการให้บริการรถโดยสารสาธารณะของผู้ประกอบการ โดยตรง ผู้ประกอบการก็ควรจะได้รับฟังผู้บริโภคบ้าง

ผมจึงขอให้ผู้วิจัยช่วยเปิดพื้นที่ให้กับผู้บริโภค ได้ออก มาแสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ด้วย

หลังจากนี้จะขับเคลื่อนอย่างไร

ตอนนี้ ส่วนที่มีการขับเคลื่อน ก็มีภาครัฐ ส่วนที่ขาดหายไป คือ ตัวผู้บริโภค ถ้าอยากจะให้การแก้ไขกฎหมายดำ เนินการอย่างรอบด้าน ก็ต้องเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่าย ทุกคนได้มา เจอกัน คือ ฟังจากฝ่ายผู้บริโภคก่อน รวบรวมข้อมูลทั้งหมด มารับฟังผู้ประกอบการ แล้วมานั่งพูดคุยกันทั้งหมด

ถึงแม้อำนาจตรงนี้อยู่ที่รัฐอยู่แล้ว แต่บางทีรัฐอาจจะต้องเอาอำนาจของผู้บริโภคมาต่อรองกับผู้ประกอบการ ซึ่งใน ทางกลับกันเท่ากับเป็นการสร้างให้ผู้บริโภคเห็นว่า สิทธิของเขาได้รับการคุ้มครอง เขาต้องรักษาสิทธิอันนี้ ประเด็น คือ ต้องเปิดพื้นที่พูดคุยให้หลากหลายมากกว่าที่เป็นอยู่ การรับฟังความคิดเห็นไม่จำเป็นต้องจัดในโรงแรมก็ได้ เป็นการพูดคุยผ่านรายการวิทยุ เผยแพร่ให้คนฟังทางบ้านได้แสดงความ คิดเห็นด้วย ** จากตัวเลขที่อยู่ขณะนี้ รถโดยสารสาธารณะจำนวนมากมีอายุเกิน 20 ปี**

จำนวนรถที่มีอายุมากกว่า 20 ปีในภาคใต้ มีอยู่ประมาณ 1 ใน 4 หรือประมาณ 25% ผมมองว่าอาจจะต้องมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการด้วยส่วนหนึ่ง เช่น ในส่วน ที่เป็นรถเก่า อาจจะต้องมีมาตรการช่วยเหลือทางด้านภาษี เพื่อลดต้นทุน หรืออาจจะต้องมีเงินกู้พิเศษ ที่จะช่วยให้เขามี รถใหม่ ถูกต้องตามกฎหมาย

ในมุมมองของผม รถที่วิ่งอยู่ในหาดใหญ่ ที่บอกว่าขาด ทุนนั้น ไม่จริง คือ ตอนนี้ทุกคนต้องการที่จะรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง อยากเป็นเสือนอนกิน

ขณะนี้ทางทนายความของผู้เสียชีวิต กรณีรถโพธิ์ทองยางแตก ฟาดพื้นรถทะลุ มีคนตกลงมาเสียชีวิต 2 ศพ กำลังร่างคำฟ้อง เขาจะฟ้องทั้งศาลปกครอง และศาลผู้บริโภค เพราะจากการสอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ กรณีรถโพธิ์ทองยางระเบิดขึ้นมา เกิดจากสภาพการดูแลรถไม่ดี ยางมีปัญหา ตัวพื้นเองก็ผุ

นี่คือ ตัวอย่างที่รัฐต้องรีบผลักดันให้มีการกำหนดอายุ รถโดยสารสาธารณะโดยเร็ว

ที่มา นสพ.โฟกัสภาคใต้

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง