บทความ

ปลอม อันตรายเตือนระวังบริโภคปลอดภัย

by twoseadj @August,28 2009 12.10 ( IP : 118...196 ) | Tags : บทความ
photo  , 260x169 pixel , 25,525 bytes.

ยุคสมัยนี้ของปลอมของ เลียนแบบมีปรากฏให้เห็นอยู่ไม่น้อย อีก ทั้งยังมีการพัฒนาการปลอมกันแนบเนียนปลอมกันแบบแปลก ๆ ไม่เพียงเฉพาะสิ่งของเครื่องใช้ เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ยังก้าวไปถึง อาหารการกิน
จากที่ผ่านมามีข่าวความเคลื่อนไหวติดตามต่อเนื่องมาทั้ง ไข่ปลอม น้ำปลาปลอมที่ไม่ได้คุณภาพ อีกทั้งสาหร่าย ก็มีการกล่าวถึง จากความไม่ปลอดภัยทางอาหาร การหลีกไกลอันตรายใกล้ตัวในฐานะผู้บริโภคนั้นควรมีหลักเลือกกันอย่างไร รศ.ดร. วิสิฐ จะวะสิต ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัย มหิดล ให้ความรู้ว่า จากช่วงที่ผ่านมาซึ่งพบความไม่ปลอดภัยทางด้านอาหารมีอาหารปลอม อาหารปนเปื้อน รวมทั้งพฤติ กรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปนำสู่การเจ็บป่วยหลากหลายโรค
“หลากหลายของปลอมที่มีการกล่าวถึง ในการปลอมส่วนใหญ่ก็เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ลงทุนน้อยแต่เพื่อ ให้ได้สิ่งของที่เหมือนกับของจริง ในมุมมองถ้าเป็นการปลอมโดยไม่เกิดผลเสียต่อสุขภาพอย่างกรณีของน้ำตาลปี๊บปลอมซึ่งขั้นตอนการผลิตนำน้ำตาลทรายมากวนจากนั้นก็นำมาผสมกับน้ำตาลสดนิดหน่อยกลายเป็นน้ำตาลปี๊บ แน่นอนในความแท้นั้นไม่ถูกต้อง รสชาติอาจเปลี่ยนแปลงไป แต่สิ่งนี้ก็ไม่ได้ก่อเกิดผลเสียต่อสุขภาพยังคงมีความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค แต่การปลอมที่น่ากลัวน่าเป็นห่วงคงเป็นการปลอมที่เมื่อปลอมแล้วไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค”
การปลอมที่เกี่ยวเนื่องกับอาหารที่ผ่านมามีหลายเรื่องให้ติดตามอย่าง เมลามีน ที่เติมลงไปในนมผง เป็นตัวอย่างหนึ่ง  ที่มีความเป็นอันตราย ขณะเดียวกันการปลอม ก็มีหลากหลายรูปแบบจากที่ได้เห็นกล่าวกันอย่าง กว้างขวางทางอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับ ไข่ปลอม สิ่งนี้จะจริงหรือไม่นั้นแต่เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นถึงกระบวนการความเหมือนจริง
นอกจากไข่ยังมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ น้ำปลา เครื่องปรุงคู่ครัวซึ่งจากภาวะเศรษฐกิจ ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น อาจทำให้มีนักฉวยโอกาสผลิตน้ำปลาที่ไม่มีคุณภาพจำหน่าย ผู้อำนวยการฯ ท่านเดิมให้ความรู้ต่ออีกว่า ในมิติของน้ำปลาตามกฎหมายจะมีการกล่าวไว้ชัดเจนถึง น้ำปลาแท้ น้ำปลาผสม หรือ น้ำปลาวิทยาศาสตร์

ขณะที่น้ำปลาที่กลายมาเป็นเครื่องปรุงที่คุ้นเคยคู่ครัวซึ่งเมื่อจะปรุงรสเค็มเมื่อไหร่ นอกจากจะใส่เกลือก็จะใช้น้ำปลา แต่ในบางภูมิภาคอย่างทางภาคอีสานจะใช้ปลาร้า อีกทั้งในความคุ้นเคยยังมาจากความสะดวกในการใช้และรสชาติ ส่วนทางด้านคุณค่าทางโภชนา การเนื่องจากน้ำปลามีเกลือสูงจึงควรเพิ่มความระมัดระวังการบริโภค อีกทั้งการที่น้ำปลามีปลาเป็นส่วนประกอบ แต่สิ่งดังกล่าวนี้อาจแสดงได้ในความแท้ของคุณภาพในเชิงรสชาติการผลิต เป็นเรื่องของรสชาติที่ช่วยเพิ่มความอร่อย
“รสเค็มไม่ว่าจะมาจากน้ำปลา ซีอิ๊ว เกลือเหล่านี้มีโซเดียมซึ่งการบริโภคโซเดียมไม่ควรเกิน 2,400 มิลลิกรัม การบริโภคมากเกินไปมีโอกาสทำให้เกิดความดันโลหิตสูงและตามที่มีคำแนะนำการบริโภคไม่ควรเกิน 1 ช้อนโต๊ะ และจากน้ำปลาซึ่งเป็นเครื่องปรุงคู่ครัว ในการเลือกซื้อในด้านรสชาติอาจเป็นเรื่องรสนิยมของแต่ละบุคคล สิ่งที่ต้องพิจารณาควรเป็นเรื่องของมาตรฐานการผลิต ขณะที่ราคาก็มีผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค หากมีกำลังและมีปัญหาสุขภาพอาจเลือกน้ำปลาที่เป็น โลว์โซเดียมมารับประทานก็ได้”
ส่วนความใส ความขุ่น  เป็นอีกสิ่งที่พิจารณาด้วยได้ อีกทั้งภาชนะบรรจุต้องสมบูรณ์ไม่แตกร้าวรั่วซึม ขณะที่ฉลากผลิต ภัณฑ์ต้องมีตรา อย. วันเดือนปีที่หมดอายุ การไม่มีตะกอน ฯลฯ หลักสังเกตนี้ก็ช่วยได้

ส่วนสีสันแล้วแต่ความชื่นชอบและจากที่พบในส่วน  นี้มีความเปลี่ยนแปลงไป แต่ เดิมอาจชอบน้ำปลาที่มีสีเข้ม แต่ช่วงหลังผู้บริโภคตอบรับน้ำปลาที่มีสีจางลง

“น้ำปลาแท้ถ้าจะพิจารณา ให้ชัดเจนคงต้องดูที่ตัวกฎหมายซึ่งบอกไว้อย่างชัดเจน แต่ถ้าอธิบายให้เข้าใจการทำน้ำปลาเป็นการหมักของปลากับเกลือ  มีการเติมส่วนผสมบ้างนิดหน่อย  อย่างน้ำตาล จากนั้นทิ้งจนใส ซึ่ง กรรมวิธีมีหลายขั้นตอนการหมัก มีน้ำหนึ่ง น้ำสอง น้ำสาม ฯลฯ ต้องใช้เวลามีการปรุงจนกระทั่งได้รสชาติดี ได้ค่าไนโตรเจนตามที่กฎหมายกำหนด ส่วนน้ำปลาผสมก็มีการกล่าวไว้ชัดเจน  เช่นกันซึ่งยอมให้มีส่วนผสมอื่น ลงไป หมักจากกุ้ง จากเคยซึ่งปริมาณไนโตรเจนก็จะแตกต่างไป เป็นต้น”

การมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องรู้หลักการเลือกบริโภคอาหารสิ่งนี้มีความสำคัญและจาก ไข่ อาหารที่นิยมบริโภค อุดมด้วยโปรตีนมีคุณค่าทางโภชนา การสูง ผศ.ดร.รมณี สงวนดีกุล หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้มุมมองเพิ่มว่า ไข่ จัดเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีมีคุณภาพและด้วยโปรตีนมีความสำคัญต่อร่างกาย โดยเฉพาะวัยเด็กต้องการโปรตีนมากเนื่องจากร่างกายกำลังเจริญเติบโต การที่มีของปลอมซึ่งร่ำลือกันนั้นคาดว่าน่าจะเป็นพวกคาร์โบไฮเดรต
กรรมวิธีการผลิตอาจจะใช้สารเคมี ซึ่งหากสารที่นำมา ใช้ไม่บริสุทธิ์ มีสิ่งปนเปื้อน เช่น พวกโลหะหนัก เป็นต้น ใช้สีไม่ได้มาตรฐานและไม่ปลอด ภัย อีกทั้งหากผลิตไม่ถูกสุข ลักษณะเพื่อไม่ให้เสื่อมหรือ  เสียก่อนถึงมือผู้บริโภคอาจมีการเติมสารกันเสียลงไป หากนำ  มาบริโภค ย่อมไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ และอย่างที่กล่าวหากใช้ คาร์โบไฮเดรตแทนโปรตีนไข่ขาว ผู้บริโภคก็จะขาดโปรตีนที่ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ ผลเสียระยะยาวก็อาจเชื่อมโยงไปถึงการที่ร่างกายขาดโปรตีนได้หาก บริโภคเป็นประจำ
ถึงแม้ว่าไข่ปลอมที่มีการกล่าวถึงกันก็ยังไม่เห็นแน่ชัดว่าใช้สิ่งใดผลิตเป็นไข่ดังกล่าว การนำสิ่งที่ไม่ได้คุณภาพ ไม่บริสุทธิ์ มีสารเจือปนเป็นอันตรายไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามปนอยู่ในสิ่งที่เราบริโภคก็ไม่ถูกต้อง อีกด้านหนึ่งสิ่งที่ทำปลอมขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามยังเป็นการหลอกลวงผู้บริโภคอีกด้วย

“ในมิติของการเลือกซื้อ ไข่ที่มีคุณภาพ ไข่ใหม่ผิวจะเป็นนวล หากส่องผ่านแสงแดดด้านป้านจะมองเห็นช่องอากาศและถ้าเก็บไข่นานขึ้นช่องอากาศก็จะใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นไข่เป็ดหรือไข่ไก่สามารถใช้หลักการเลือกซื้อนี้ได้เช่นกัน”
ส่วนการผลิตไข่เลียนแบบจากธรรมชาติ ในต่างประเทศ มีการผลิตให้กับผู้ที่ระมัด  ระวังคอเลสเตอรอล ได้เลือก รับประทาน แต่ทั้งนี้จะบอกชัดเจนกับผู้บริโภคโดยตรงว่าเป็นไข่ทำเลียนแบบ
จากการปลอมที่มีความเหมือนแทบแยกไม่ออก น้ำผึ้ง ที่นิยมบริโภคกันเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ที่ผู้บริโภคควรพิจารณาใน น้ำผึ้ง  จะมีน้ำตาลหลักคือ กลูโคสและฟรุกโตส ซึ่งจะมีสัดส่วนใกล้เคียงกันรวมอยู่แล้วไม่น้อยกว่า 65 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งซูโครสกำหนด ไว้ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ แต่ที่พบซูโครสสูงกว่านี้เพราะอาจมีการนำน้ำตาลทรายมาผสม ส่วนในความเป็นอันตรายของอาหารคงต้องดูสิ่งที่นำมาผสม หากสิ่งที่ผสมอยู่มีความสะอาด มีการดูแลด้านสุขลักษณะก็ไม่ก่อเกิด ปัญหา แต่ที่เป็นอันตรายเป็นในเรื่องของสารเคมีและเชื้อจุลิน ทรีย์ที่ปนเปื้อน

ขณะที่ชีวิตคนเมืองมีความเร่งรีบการบริโภคอาหารนอกบ้านที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ การไกลห่างจากสารพิษโรคภัยต่าง ๆ การเลือกซื้อ สังเกตความผิดปกติของอาหารสิ่งที่ต้องไม่มองข้าม อย่าง อาหารทอด ลูกชิ้น สีฉูดฉาด ส้ม แดง จัดก็ต้องระวังไม่ควรรับประทาน อาหารที่มีความสดผิดปกติอย่างของทะเลที่เร่ขายก็ต้องสังเกต หากไม่มีน้ำแข็งแช่แต่อาหาร  ยังดูสดตลอดเวลาก็น่าจะต้องพิจารณา ต้องระมัดระวังฟอร์ มาลิน สารเคมีที่ไม่ควรที่จะพบในอาหาร

เช่นเดียวกับที่ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการฯ ฝากย้ำเตือนว่า ความปลอดภัยในอาหาร เป็นสิ่งสำคัญที่ผ่านมาพบการเจ็บ ป่วยฉับพลันไม่ว่าจะเป็นท้องเสีย ท้องเดินบ่อยครั้ง แต่ในความเป็นพิษที่มีผลสะสมเรื้อรังต่อไปเป็นสิ่งที่น่ากลัว อีกทั้งโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภค โรคที่เป็นปัญหาในปัจจุบันก็มีอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน หัวใจ ความดัน ฯลฯ

การบริโภคเพื่อความปลอดภัยแน่นอนสุดอยู่ที่ตัวเรา ต้องเลือกพิจารณาอย่างรอบคอบ อย่างของบางอย่างที่ดูดีเกินไปอาจต้องระมัดระวังเพิ่มขึ้น ในแง่ของโภชนาการดังที่ทราบควรรับประทานให้ครบ 5 หมู่ทานหลากหลาย ส่วนความปลอดภัย

ด้านอื่นอาจเป็นเรื่องยากลำบากในการควบคุมก็คงต้องฝากพึ่งภาครัฐช่วยดูแล แต่อย่างไรแล้วความปลอดภัยเริ่มต้นได้จากตัวเรา เริ่มด้วยการบริโภคที่หลากหลายไม่ซ้ำเดิมซึ่งสิ่งนี้จะช่วยลดการสะสมสารตัวใดตัวหนึ่งลง ขณะเดียวกันการออกกำลังกายสม่ำเสมอ อีกทั้งระมัดระวังความเครียดและในการบริโภคอะไรที่มีความเสี่ยงหลีกเลี่ยงไม่รับประทานได้ก็ควรที่จะต้องทำ

จากที่กล่าวมาแม้จะเป็นสิ่งที่ทราบกันแต่ก็มักละเลย มองข้ามไป การรู้หลักเลือกเพิ่มความระมัดระวังรอบคอบมากขึ้น สิ่งนี้แน่แท้สุดที่จะช่วยให้ปลอดภัยอันตรายจากการบริโภค อีกยังเป็นเกราะป้องกันสุขภาพพ้นจากการเจ็บป่วยทั้งปวงอีกด้วย.

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง