กรณีศึกษา - ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

รวบรวมข่าวที่เกิดขึ้นในสังคม พร้อมวิเคราะห์ปัญหา แนวทางแก้ไข

กรณีศึกษา ซุปผง-ซุปก้อน

by twoseadj @August,24 2009 10.00 ( IP : 113...165 ) | Tags : กรณีศึกษา - ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
photo  , 388x269 pixel , 16,287 bytes.

เมื่อหลายวันก่อน ได้มีโอกาสคุยกับแม่บ้านท่านหนึ่งซึ่งบ่นให้ผมฟังว่า เธอจำเป็นต้องทำกับข้าวกินเองที่บ้าน เนื่องจากกลัวว่าอาหารที่จำหน่ายอยู่ทั่วไปมักเติมผงชูรส บังเอิญผมเหลือบสายตาไปเห็นซุปก้อน  กล่องใหญ่วางอยู่ในตู้กับข้าว ก็เลยสอบถามกับเธอได้ความว่าเตรียมไว้ใช้ใส่ในแกงจืดและต้มยำเพราะสะดวกและมีรสชาติดี

ผมเชื่อว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นที่นิยมในหลายครัวเรือนในเมืองใหญ่ หรือแม้แต่ในชนบทด้วยซ้ำไป ดังจะเห็นได้ว่า มีผู้ผลิตสินค้าชนิดนี้ขึ้นในท้องตลาดไม่น้อยกว่า 5 ยี่ห้อ ครั้งนี้ก็เลยอยากชวนท่านผู้อ่านฉลากซุปผง-ซุปก้อนกันเพื่อให้เข้าใจว่าประกอบด้วยอะไรบ้างเวลาท่านจะกินก็ทราบว่ากำลังกินในสิ่งที่ต้องการและสิ่งที่ไม่ต้องการในปริมาณมากน้อยเพียงใด

พระราชบัญญัติอาหาร ปี พ.ศ. 2522 กำหนดให้ซุปผง-ซุปก้อนเป็นอาหารประเภทควบคุมเฉพาะผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ส่วนใหญ่ผลิตโดยบริษัทอาหารยักษ์ใหญ่ของประเทศเพียง 2-3 บริษัท สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กำหนดให้ซุปผง-ซุปก้อนบางยี่ห้อเป็นอาหารกึ่งสำเร็จรูป จึงใช้ตัวย่อว่า “กส”  อย่างไรก็ตาม บางยี่ห้อถูกกำหนดเป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร ใช้ตัวย่อว่า “ปต” หากจะถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้นก็ขอตอบว่า “ไม่ทราบ” เพราะกำลังงงไปตามกฎหมายผลิตภัณฑ์ประเภทนี้นิยมบรรจุในถุงอะลูมินั่มฟอยล์ เนื่องจากช่วยป้องกันแสงและความชื้นได้ดี แสงและความชื้นทำให้ผลิตภัณฑ์หืนและแฉะ

ซุปผงและก้อนที่จำหน่ายในท้องตลาดส่วนใหญ่ผลิตภายในประเทศและมีหลายชนิด เช่น รสไก่ รสเนื้อ รสหมู รสผัก เป็นต้น โดยที่ซองมักมีการแนะนำวิธีใช้ในปริมาณ 12-16 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร คือ 1 ซองหรือ 1-2 ก้อนต่อน้ำ 1 ลิตร สำหรับส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ พอแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

  • เกลือ

    เป็นส่วนประกอบที่มีปริมาณสูงสุดในเกือบทุกยี่ห้อ โดยมีปริมาณร้อยละ 26-42 ซึ่งเมื่อพิจารณาจากปริมาณการใช้ที่ผู้ผลิตแนะนำ ในน้ำซุปที่ได้ก็ควรมีเกลือร้อยละ 0.3-0.4 และถ้าเตรียมเป็นซุปเข้มข้นก็จะมีประมาณร้อยละ 0.7-0.8 ซื่งทำให้แทบไม่ต้องเติมเกลือเพื่อปรุงรสเลย เกลือเป็นส่วนผสมที่ไม่เป็นพิษภัยกับใคร ยกเว้นผู้บริโภคที่ต้องจำกัดปริมาณโซเดียมเพราะความดันโลหิตสูง ก็คงต้องระมัดระวังผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงประเภทนี้ไว้บ้าง

  • ผงชูรส

    เป็นส่วนประกอบที่มีปริมาณแตกต่างกันมากเหลือเกิน โดยบางยี่ห้ออาจมีสูงถึงร้อยละ 32 (เป็นส่วนประกอบที่มีปริมาณมากที่สุดในบางยี่ห้อนี้) ส่วนใหญ่มีอยู่ในปริมาณร้อยละ 11-18 บางยี่ห้อที่ส่งจากต่างประเทศมีเพียงร้อยละ 5.7 ท่านผู้อ่านควรระวังที่บางยี่ห้อระบุปริมาณผงชูรสเป็นกรัมต่อ 1 ก้อนของซุป ซึ่งเมื่อดูตัวเลขคร่าวๆ จะต่ำมาก แต่เมื่อคำนวณออกมาแล้วก็มีผงชูรสในปริมาณร้อยละ 15-17 โดยทั่วไปเมื่อนำผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มาเตรียมเป็นซุปแล้วก็จะมีผงชูรสร้อยละ 0.1-0.2 ยกเว้นบางยี่ห้ออาจมีสูงถึงร้อยละ 0.3

    ปัจจุบันในอุตสาหกรรมอาหาร บริษัทผู้ผลิตผงชูรสจะเติมสารประกอบที่ชื่อว่า ไดโซเดียม -5 ไอโนชิเนต (I) กับไดโซเดียม -5 กัวไนเลด (G) ช่วยเสริมประสิทธิภาพการชูรสของผงชูรส ทำให้ปริมาณการใช้ต่ำลงได้ดังจะเห็นได้ว่า ผงชูรสที่ผลิตมาใหม่และวางจำหน่ายตามท้องตลาด ขณะนี้จะมีคำว่า “พลัส” ต่อท้าย ผงชูรสได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค จึงได้รับอนุญาตให้บริโภคได้ในปริมาณที่ไม่จำกัด ยกเว้นในผู้ที่มีอาการแพ้ ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า ไซนีส เรสเตอรองด์ ซินโดรม (Chinese Restaurant Syndrome - CRS) ต้องระวังตัวเป็นพิเศษ เพราะอาจเกิดอาการปากชา ลิ้นชา และบวมได้ อาการแพ้ดังกล่าวพบเพียงในคนบางคนเท่านั้น ซึ่งก็คล้ายกับคนที่มีอาการแพ้อาหารประเภทอื่น เช่น อาหารทะเล เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ที่ต้องจำกัดการบริโภคโซเดียมก็ควรระมัดระวังการบริโภคผงชูรสบ้าง เพราะในผงชูรส I และ G ก็มีโซเดียมอยู่ในปริมาณหนึ่ง

  • เนื้อสัตว์อบแห้ง

    ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ชนิดที่เป็นรสชาติเป็นเนื้อสัตว์ มักจะมีการโฆษณาว่าผลิตจากเนื้อสัตว์แท้ๆ ซึ่งก็เป็น “ความจริง” แต่ส่วนประกอบส่วนใหญ่ที่พบ คือ เป็นเกลือ ผงชูรส และแป้ง หลายยี่ห้อมีเนื้อสัตว์อบแห้งอยู่ในปริมาณเพียงร้อยละ 10-16 บางยี่ห้อกลับต่ำกว่านี้คือมีเพียงร้อยละ 6-8 นอกจากนี้หลายยี่ห้อมีการเติมน้ำมันจากสัตว์ลงไปเพื่อเสริมรสชาติ เช่น น้ำมันหมู น้ำมันไก่ และยังช่วยให้น้ำซุปแลดูน่ากินอีกด้วย เนื้อสัตว์ที่ใช้อบแห้งบางครั้งอาจไม่ใช้เนื้อจริง แต่อาจเป็นส่วนของเครื่องใน เพราะมีราคาถูกกว่า และให้กลิ่นที่รุนแรงกว่า

  • ส่วนผสมอื่น ๆ

    ส่วนผสมอื่นๆ ที่ระบุไว้ แตกต่างกันไปในระหว่างยี่ห้อ อย่างไรก็ตาม ส่วนผสมเหล่านี้มักช่วยเสริมในเรื่องกลิ่น รส (เช่น น้ำตาล กระเทียมผง พริกไทย และเครื่องเทศ) และความข้นของน้ำซุป (เช่น แป้งชนิดต่างๆ โปรตีนเข้มข้น โปรตีนสกัด เป็นต้น)

กินแล้วมีอันตรายหรือเปล่า?

หลังจากร่ายยาวถึงส่วนประกอบต่างๆ ที่ได้เห็นมาให้ท่านผู้อ่านได้ทราบ ก็คงจะถึงคำถามที่ว่ากินแล้วมีอันตรายหรือเปล่าค่ะ ก็ขอตอบว่า จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบันสรุปว่า ไม่น่าจะมีอันตราย

แต่สิ่งที่สำคัญ คือ ท่านต้องทราบว่า ท่านกำลังกินสิ่งที่ต้องการหรือไม่ หรือว่ากำลังกินสิ่งที่ไม่ต้องการโดยที่ไม่รู้ตัว โดยเฉพาะท่านที่ต้องควบคุมอาหารบางประเภทหรือมีอาการแพ้ ท่านที่จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ก็ต้องรู้จักอ่านฉลากให้ดี และเลือกเอาตามความพอใจทั้งในแง่รสชาติและส่วนประกอบ

บางท่านที่ยังกลัวผงชูรสอยู่ก็อาจเลือกยี่ห้อที่มีผงชูรสในปริมาณที่ต่ำหน่อย ส่วนท่านที่มั่นใจในรสชาติของบางยี่ห้อที่มีผงชูรสค่อนข้างสูง ก็ผสมในอัตราส่วนที่ผู้ผลิตแนะนำ ถ้าท่านไม่จำเป็นต้องจำกัดปริมาณโซเดียมหรือไม่อาการแพ้ผงชูรส ผลิตภัณฑ์นี้ย่อมไม่มีอันตรายต่อท่าน

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง