นับแต่ พรบ.วิธีพิจารณาความคดีแพ่งผู้บริโภค หรือที่เรียกว่า กฎหมายช่วยฟ้องผู้บริโภคมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม2551 เป็นต้นมา ปรากฎการณ์ที่ผู้บริโภคยังไม่รู้จักและตระหนักถึงการใช้ช่องทางดังกล่าวในการพิทักษ์สิทธิ์ตัวเองแล้ว เห็นได้จากจำนวนที่ผู้บริโภคฟ้องต่อศาลน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนคดีที่ผู้ประกอบการฟ้องร้องตัวผู้บริโภค
เรื่องของเรื่องเป็นความอยากลองดูของเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ผู้บริโภคจังหวัดสงขลา ลองดูให้มันรู้ไปหน่อยซิว่าถ้าไปฟ้องแล้วมันเป็นอย่างไรบ้าง ต้องใช้พลังวัดมากน้อยขนาดไหน ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนกว่าจะนำไปสู่การพิจารณาของศาล เรามาแกะรอยกันเลยดีกว่า
คุณจิราภรณ์ เป็นผู้บริโภคอีกรายที่รู้สึกคับแค้นใจจาการเอาเปรียบของผู้ประกอบการไร้คุณธรรมความรับผิดชอบ เรื่อง ขอเธอยิ่งกว่านิยายเสียอีก เมื่อเธอถูกเจ้าของร้านซ่อมแอร์รถยนต์ที่อยู่บริเวณสะพานข้ามคลองอู่ตะเภา หาดใหญ่ใน โกงด้วยวิธีการที่แสนจะเจ็บใจ คือเธอเอารถยนต์ไปซ่อมที่ร้านแห่งนี้หลายครั้ง ซึ่งช่างเองก็ให้เหตุผลต่างๆนานา ถึงเหตุของการเสียของแอร์รถยนต์ เข้าร้านซ่อมแล้วกลับมาใช้ไม่ถึงเดือน ก็แอร์ไม่เย็นอีก จนมีครั้งหนึ่งเธอขับรถยนต์แล้วเกิดฝนตก จนเกิดฝ้าขาวบริเวณกระจกรถยนต์ทำให้เธอขับรถไปชนมอเตอร์ไซด์ เสียค่ารับผิดชอบต่อรถมอเตอร์ไซต์ที่เธอไปชนอีก 3,000 บาท เธอกลับไปหาร้านซ่อมเดิมอีกครั้ง คำตอบที่ได้ คือ ถูกแนะนำว่าให้ซ่อมอะไหล่ที่เธอเคยเปลี่ยนโดยร้านแอร์เดียวกันนี้เมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมา ซ่อมแอร์รถยนต์กลายแทนที่จะเย็นจับใจกลับกลายเป็นรถยนต์เตาอบ(ร้อนตับแตก)ไป เธอเสียเงินไปกับการซ่อมแอร์ประมาณ 5,500 บาท แม้เงินจะดูเล็กน้อย..สำหรับใครหลายคน.แต่สำหรับคนหาเช้ากินค่ำอย่างเธอ คงมิใช่เรื่องเล็ก เธอจึงมาร้องเรียนที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสงขลา อัยการพรพิชัย ไชยมาตร ได้กรุณาเป็นนัดคู่กรณีทั้งสองฝ่าย มาไกล่เกลี่ย แต่ ทางผู้ประกอบการไม่ได้มาตามที่นัด ถึง 2 ครั้ง
เธอมุ่งมั่นด้วยสปริตของผู้บริโภคที่น่าเอาเป็นแบบอย่าง เธอจึงมีนัดกับศูนย์ไปฟ้องคดีที่ศาลแขวงจังหวัดสงขลา(เพราะคดีดังกล่าวมีมูลค่าความเสียหายน้อยกว่า 300,000 บาทจึงอยู่ในเขตอำนาจศาลแขวงสงขลา) ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิฯประสานงานกับคุณคณพงษ์ นิติกรประจำศาลแขวงจังหวัดสงขลา เรื่องขั้นตอนและหลักฐานประกอบการฟ้องร้อง
สถานที่แรกที่พวกเรา 3 คนไปกัน คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เพื่อขอคัดสำเนาทะเบียนการค้า แต่อนิจจา พบว่าระบบฐานข้อมูลการค้นหา ใบทะเบียนการค้าไม่มี เจ้าหน้าที่บอกว่าต้องจดจำหมายเลขลำดับและปีที่จดทะเบียนการค้า(บ่นอยู่ในใจ...เวลาไปร้านใครจะไปมัวสังเกตได้)ล้มเลิกความตั้งใจเรื่องใบทะเบียนการค้า มุ่งหน้าคัดสำเนาบัตรประชาชน ณ สำนักงานทะเบียนราษฎร์ ที่ว่าการอำเภอเมืองสงขลา
ไปถึงที่ว่าการอำเภอเมืองสงขลา เกือบ 11 นาฬิกา ติดต่อขอคัดสำเนาทะเบียนราษฎร์ เจ้าของร้านแอร์คู่กรณี ปรากฏว่า ต้องใช้สำเนาใบแจ้งความด้วยหรือต้องเป็นทนายความ จึงจะสามารถคัดสำเนาทะเบียนราษฎร์ได้ โชคดีครับที่คุณจิราภรณ์ รู้จักเป็นการส่วนตัวกับท่านปลัดอำเภอเมืองสงขลาจึงได้รับการอนุเคราะห์ โดยเขียนบันทึกเหตุผลประกอบการขอคัดสำเนา
เข้าไปยังศาลแขวงสงขลา ตอนบ่ายโมงตรง พบกับคุณคณพงษ์ เจ้าหน้าที่นิติกรผู้รับผิดชอบคดีผู้บริโภคประจำศาลแขวง ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกแก่คุณจิราภรณ์เป็นอย่างดี เริ่มต้นด้วยการให้เล่ารายละเอียดของปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงกว่าจะเสร็จเรื่องราวทั้งหมด
เห็นได้ชัดเจนว่า แม้จะมีกฎหมายที่บอกว่าเอื้ออำนวยความสะดวกต่อผู้บริโภค แต่ในความเป็นจริงก็มิได้ง่ายนัก เพราะพบว่าระบบที่คอยสนับสนุน เช่น ฐานข้อมูลที่เอื้ออำนวยความสะดวกต่อการรวบรวมหลักฐานของผู้บริโภค ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสงขลาเอง ก็ต้องปรับตัวครั้งสำคัญ เช่น ต้องมีทนายอาสาเป็นที่ปรึกษาประจำศูนย์ การจัดโครงสร้างประจำศูนย์ แต่เหนืออื่นใด ต้องยอมรับว่าคุณจิราภรณ์ คือ ผู้บริโภคตัวจริงและเป็นคนจริง ครับ...
Relate topics
- รณรงค์เลิกใช้โฟม
- รายการสงขลามหาชน ตัวอย่างอาหารของแม่ ตอน " บทบาทของพ่อ " อาหารของแม่ สร้างความอบอุ่นของครอบครัวกับมื้ออร่อยที่แม่บรรจงปรุงเพื่อลูก
- ข่าวดีจะดัง ตอนที่ 265 โรงเรียนสุขภาพดี ของ อบต.ควนรู( http://youtu.be/KsuLA7Fguy8 )
- ข่าวดีจะดัง ตอนที่ 265 โรงเรียนสุขภาพดี ของ อบต.ควนรู(7 เม.ย 5…: http://youtu.be/KsuLA7Fguy8 )
- รายการอาหารของแม่ ตอน " อาหารคือภาคีและพื้นที่ " เปิดอร่อยด้วย ยำบัวบก สูตรสมุนไพรภูมิปัญญาถิ่น อบต.ท่าข้าม ของป้ายุพา ผลชนะ