บทความ

องค์การอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ความคาดหวังของประชาชน

photo  , 200x200 pixel , 58,391 bytes.

เรื่องขององค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นเรื่องพูดถึงกันมาตั้งนานแล้ว ตั้งแต่เป็นมาตรา 57 ของรัฐธรรมนูญ แบบบประชาชน 2540 ที่ถูกยกเลิกจากการปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 ของคณะมนตรีความั่นคง (คปค.) จนนำมาสู่การบัญญัติใหม่ในมาตรา 61 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 นับว่าเป็นความหวังของผู้บริโภคอีกครั้ง จนมีตัวแทนเครือข่ายผู้บริโภค ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคคีเครือข่ายนักวิชาการ เจ้าหน้าที่ภาครัฐด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และประชาชนผู้สนใจ ที่สนใจร่วมกันพิจารณาความสำคัญ และเหตุผลของการจัดทำร่างกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ตามมาตรา 61 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550

โดยเห็นร่วมกันว่า กฎหมายนี้มีความสำคัญทั้งตามเหตุผลที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ และรัฐธรรมนูญยังได้กำหนดให้ดำเนินการภายในหนึ่งปี หลังรัฐบาลชุดแรกภายหลังรัฐธรรมนูญประกาศนโยบายตลอดจนเป็นนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาที่จะดำเนินการให้สำเร็จ

รัฐบาลในฐานะผู้รับผิดชอบกำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้เสนอให้เร่งรัดการดำเนินการในเรื่องนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาความแตกต่างของบทบัญญัติจากร่างกฎหมายฉบับรัฐบาลที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว และร่างกฎหมายฉบับประชาชนที่ได้นำเสนอต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552 โดยบทบัญญัติมีความแตกต่างที่สำคัญอยู่หลายประการซึ่งมีประเด็นสำคัญ เช่น

  • เรื่องความเป็นอิสระในการดำเนินการขององค์การอิสระผู้บริโภค เช่น ผู้รักษาการตามกฎหมายแหล่งที่มาของงบประมาณ หรือรายได้ของสำนักงาน ฯลฯ

  • อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ตามมาตรา 10 ซึ่งร่างกฎหมายฉบับรัฐบาลให้อำนาจเฉพาะตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ขณะที่ร่างกฎหมายฉบับประชาชนให้ความสำคัญกับอำนาจหน้าที่ที่จำเป็นในการทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ และให้บทบาทรองรับการทำหน้าที่ในการให้ความเห็น เช่น การทำงานวิจัยศึกษาปัญหา รวมทั้งมีบทบาทในการทำงานแก้ไขปัญหาของผู้บริโภคในปัจจุบันร่วมกับองค์กรผู้บริโภคภาคประชาชนและเครือข่ายในระดับจังหวัด

  • หน่วยงานรับผิดชอบก่อนจะจัดตั้งองค์การอิสระเพื่อผู้บริโภค ยังมีความแตกต่างกันโดยร่างของภาคประชาชนได้เสนอให้สำนักงานคณะกรรมคุ้มครองผู้บริโภคทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ จัดกระบวนการและให้มีการเลือกกันเองเพื่อให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการองค์การอิสระ

ขณะที่ร่างของรัฐบาลให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทำหน้าที่เป็นองค์การอิสระเพื่อผู้บริโภคชั่วคราว และมีคณะกรรมการสรรหาจำนวน 7 ท่านทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และตรวจสอบคุณสมบัติองค์กร และให้ผู้แทนองค์กรผู้บริโภคคัดเลือกกันเอง

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง