ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

เตือนภัย...ยาน้ำสมุนไพรพบสเตียรอยด์ ...อันตรายถึงชีวิต

by twoseadj @August,30 2008 17.40 ( IP : 222...53 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุดรธานี ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอวังสามหมอจังหวัดอุดรธานี ตรวจพบสารเดกซาเมธาโซน ในยาน้ำแผนโบราณโดยฉลากแสดงข้อความผลิตและจำหน่ายโดยทิพย์โอสถ จำนวน 2 รายการ รายละเอียดดังภาพ
คำอธิบายภาพคำอธิบายภาพ
ตรา 7 นกอินทรี สูตร2 เป็นยาน้ำสีน้ำตาลเข้มบรรจุในขวดสีชา
เครื่องหมายการค้า ตราเข็มทอง
เลขทะเบียนยาที่ G 997/47
ผลิตครั้งที่ 23550
วันที่ผลิต 9 กันยายน 2550

คำอธิบายภาพคำอธิบายภาพ ยาสตรีศรีสุระ ตราเข็มทอง เครื่องหมายการค้าตราเข็มทอง เลขทะเบียนยาที่ G 514/48
วันหมดอายุ 23 สิงหาคม 2552
ครั้งที่ผลิต ,วันที่ผลิต(ไม่ชัดเจน














สารสเตียรอดย์เป็น " ยาควบคุมพิเศษ" ซึ่งร้านขายยาจะจำหน่ายให้กับผู้บริโภคได้ จะต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้น ยกเว้น สารสเตียรอยด์ ที่นำไปใช้เป็นยาเฉพาะที่ กับผิวหนัง ตา หู คอ จมูก หรือปาก ซึ่งจัดเป็น " ยาอันตราย" และจำหน่ายได้เฉพาะร้านขายยาแผนปัจจุบัน เท่านั้น นอกจากนี้ผู้ประกอบการที่ผลิตขายหรือนำเข้าสารสเตียรอยด์จะต้องจัดทำบัญชีซื้อ ขาย ไว้ด้วย รวมทั้งต้องรายงานปริมาณและมูลค่าการผลิต นำเข้ายาดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา เนื่องจากสเตียรอยด์เป็นสารอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงมีการ ควบคุม ดูแล ภายใต้กฎหมายที่บัญญัติไว้ โดยผู้ที่ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษตามความผิดที่กระทำตาม ที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติยา

สเตียรอยด์ คืออะไร

สเตียรอยด์  เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างมาจากต่อมหมวกไตชั้นนอก(Adrenal cortex steroids) สำหรับสเตียรอยด์ที่ใช้ในทาง การแพทย์นั้น  เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการรักษาโรครวมถึงใช้ทดแทนในกรณีที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนดังกล่าว ได้โดยยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์นี้กฎหมายกำหนดให้เป็นยาควบคุมพิเศษเนื่องจากมีความเป็นพิษสูงและต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายเท่า นั้น

อันตรายจากการใช้สเตียรอยด์
เนื่องจากสเตียรอยด์  เป็นยาซึ่งมีผลต่อระบบต่างๆในร่างกายแทบทุกระบบ  การใช้สเตียรอยด์ อาจนำไปสู่อันตรายมาก มายหลายประการ
ที่สำคัญ ได้แก่

การใช้สเตียรอยด์ในขนาดสูงมีผลกดภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อราได้ง่าย นอกจากนี้สเตียรอยด์ยังอาจบดบังอาการแสดงของโรคติดเชื้อ ทำให้ตรวจพบโรคเมื่ออาการรุนแรงแล้ว

กดการทำงานของระบบที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมน ระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการหลั่งสเตียรอยด์ฮอร์โมน ประกอบด้วยอวัยวะที่สำคัญในร่าง กาย  3 แห่งด้วยกันคือฮัยโปธาลามัส (Hypothalamus) ต่อมพิทุตารี (Pituitary gland) และต่อมหมวกไต (Adrenal gland) ในภาวะที่ มีระดับของคอร์ติโซล  (Cortisol) ในเลือดสูงจะมีการกระตุ้นจากฮัยโปธาลามัสไปยังต่อมหมวกไตให้ลดการสร้างสเตียรอยด์  ในทางตรงกัน ข้ามถ้าระดับของคอร์ติโซลต่ำ จะมีผลกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนนี้เพิ่มขึ้นการให้สเตียรอยด์ขนาดสูง จะไปกดการทำงานของระบบ อวัยวะที่ทำหน้าที่สร้างและควบคุมการหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ ซึ่งจะมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับขนาดของยาที่ได้รับและระยะเวลาในการใช้ยา เช่น  ถ้าให้สเตียรอยด์ในขนาดที่เทียบเท่ากันเพรดนิโซโลน  5 มิลลิกรัมต่อวัน  แทบจะไม่มีผลที่จะกดการทำงานของระบบนี้เลยแต่ถ้าให้ ขนาดสูงเทียบเท่ากับเพรดนิโซโลน  15  มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลานานกว่า  1-2 เดือน จะมีผลต่อการกการสร้างฮอร์โมนได้มาก ทำให้เมื่อ หยุดใช้ยานี้แล้วร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนนี้ได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะเครียด

แผลในกระเพาะอาหาร สเตียรอยด์มีผลทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารบางลง และยับยั้งการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ทดแทนเนื้อเยื่อเก่าที่หลุดไป นอกจากนี้ในผู้ป่วยบางรายยังพบว่า มีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นด้วย การใช้สเตียรอยด์อาจทำให้มีอาการกระเพาะอาหารทะลุ หรือเลือดออก ในกระเพาะอาหารได้  โดยไม่มีอาการปวดมาก่อน ถึงแม้จะยังไม่มีหลักฐาน  ทางวิชาการ ยืนยันว่า การให้ยาลดกรดร่วมกับ สเตียรอยด์จะมีผลช่วยป้องกันการเกิดแผลได้

ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง สเตียรอยด์อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ และอารมณ์ของ ผู้ใช้ยาได้ นอกจากนี้ยังพบอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ เช่น นอนไม่หลับ เจริญอาหาร กระสับกระส่าย หงุดหงิด เป็นต้น

กระดูกผุ (Osteoporosis) การใช้สเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน มีผลทำให้กระดูกผุได้ ดังนั้น ผู้ที่มีแนวโน้มที่จะเกิดกระดูกผุอยู่แล้ว เช่น ผู้สูงอายุ คนที่เป็นโรคไขกระดูก ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน

ยับยั้งการเจริญเติบโตของร่างกาย เนื่องจากสเตียรอยด์มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเด็ก การให้ยา ขนาดสูงในเด็ก จึงไม่ให้ติดต่อกันทุกวันเป็นเวลานาน แต่จะให้ยาแบบวันเว้นวัน เพราะจะทำให้มีฤทธิ์ และอาการไม่พึงประสงค์น้อยกว่า

ทำให้ระดับโปแตสเซียมในเลือดต่ำ ผลของสเตียรอยด์ ทำให้ร่างกายสูญเสียเกลือ โปแตสเซียมทาง ปัสสาวะมาก ซึ่งป้องกันได้โดยให้ลดการกินโซเดียม และกินอาหารที่มี โปแตสเซียมสูงแทน เช่น ส้ม กล้วย ผู้ที่มีระดับ โปแตสเซียมต่ำมาก อาจมีผลทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อไม่มีแรง และหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหยุดเต้นได้ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง การใช้สเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน จะทำให้มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กล้ามเนื้อบริเวณต้นขาและแขน ซึ่งเมื่อลด ขนาด ยาลงก็จะมีผลทำให้อาการดีขึ้น และต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะเป็นปกติ

ฤทธิ์และอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ สเตียรอยด์มีผลทำให้เกิดลักษณะที่เรียกว่า Cushing 's Syndrome ลักษณะพบใน ผู้ป่วยประเภทนี้ เช่น อ้วน ขนดก ระบบประจำเดือนผิดปกติ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อไม่มีแรง ปวดหลัง เป็นสิว มีอาการทางจิตใจ หัวใจล้มเหลว บวมน้ำ เป็นต้น

ข้อพึงปฏิบัติในการใช้สเตียรอยด์

ผู้บริโภคควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนว่า มีความจำเป็นต้องใช้ยาสเตียรอยด์ และ ซื้อยาจาก ร้าน ขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรแนะนำการใช้ยา หลีกเลี่ยงการซื้อยาลูกกลอนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา หรือยาชุดที่จัดเตรียมไว้แล้ว เนื่องจากอาจมีการนำสเตียรอยด์ไปผสมกับ ยาลูกกลอน หรือมีการใช้ยา สเตียรอยด์ในยาชุด โดยเฉพาะยาชุดแก้ปวดเมื่อย ยาชุดแก้หวัด

สำหรับผู้ที่นิยมยาแผนโบราณประเภทยาลูกกลอน เพื่อให้มีความมั่นใจว่าจะปลอดภัยจาก สเตียรอยด์ ในการเลือกซื้อให้ ตรวจดูฉลาก ที่ปิดผนึกบนภาชนะบรรจุ ว่าจะต้องมี เลขทะเบียนตำรับยาซึ่งแสดงว่า ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดย เลขทะเบียนดังกล่าวขึ้นต้นด้วยตัวอักษร "G" สำหรับยาแผนโบราณที่ผลิตในประเทศหรือ "K" สำหรับยาแผนโบราณที่นำเข้ามาในประเทศ ตามด้วย ตัวเลขแสดงลำดับการอนุญาต ปี พ.ศ. ที่อนุญาต เช่น เลขทะเบียน G 20/42 หมายถึง ยาตำรับนี้เป็นยาแผนโบราณที่ผลิตในประเทศ ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนลำดับที่ 20 ในปี พ.ศ. 2542 เป็นต้น นอกจากนี้ฉลากจะต้องมีรายละเอียดอื่น ๆ อีก ได้แก่ ชื่อยา สูตรยา ชื่อและจังหวัดที่ตั้งของผู้ผลิตยา วันเดือนปี ที่ผลิตยา เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิตยา ปริมาณยาที่บรรจุ และมีคำว่า " ยาแผนโบราณ" ระบุไว้ด้วย

สารสเตียรอยด์ นั้นเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นในร่างกายของคนเรา มีประโยชน์ต่อร่างกาย อย่าง มหาศาล ทางการแพทย์จึงได้นำสารนี้มาใช้รักษาโรคต่าง ๆ มากมายแต่การนำสารนี้มาใช้อย่าง พร่ำเพรือ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือความเห็นแก่ได้ของผู้ประกอบการบางราย อาจทำให้ผู้บริโภค ได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันมีการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้มีการ ผลิตยา แผนโบราณกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นยาที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาอย่างถูกต้อง ผู้บริโภคจึงควรใช้วิจารณญาณในการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านี้ อีกประเด็นหนึ่งที่พึงระวังก็คือ การใช้ยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของ สเตียรอยด์ ไม่ควรซื้อมาใช้เองเพราะอาจทำให้ตาบอดได้

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง