ด็กๆ จะหนักแค่ไหน ถ้ากระเป๋าหนักกว่าความรู้ในแต่ละวัน ถึงวันเปิดเทอมใหม่ เด็กๆ ก็ต้องสะพายเป้ใส่ของไปโรงเรียน เด็กเล็กๆ บางคนสะพายเป้ใบใหญ่กว่าตัวมาก แถมยังแบกสัมภาระมหึมาไปโรงเรียนทุกวัน ซึ่งการแบกน้ำหนักมากๆ มีผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กเหมือนกัน เพราะฉะนั้นผู้ปกครองทุกคนต้องให้ความสนใจในการเลือกเป้สำหรับบรรจุข้าวของต่างๆ ของลูกน้อยเป็นพิเศษ
ในบางกรณีผู้ปกครองจำเป็นต้องเลือกใช้เป้ของโรงเรียน ซึ่งอาจยังไม่ได้คำนึงถึงการยศาสตร์ ในการออกแบบสำหรับเด็กเล็กเท่าไรนัก วิธีการหนึ่งที่ผู้ปกครองสามารถทำได้คือ การฝึกเด็กให้สะพายเป้ให้ถูกต้องนั่นเอง วันนี้ผมขอนำวิธีการฝึกสะพายเป้ให้ถูกต้องตามหลักการทางออร์โธเปดิกส์มาฝาก ซึ่งหากเด็กสามารถสะพายเป้ได้อย่างถูกต้อง จะส่งผลต่อชีวิตของเด็กในอนาคตเองเลยทีเดียว เพราะการสะพายเป้ที่ไม่ถูกต้องนั้นจะทำให้มีผลกระทบต่อกระดูกสันหลังของเด็ก เพราะกระดูกสันหลังของเด็กในวัยนี้ยังไม่แข็งแรง เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย และอาจนำไปสู่การเจริญเติบโตที่ผิดรูปร่างได้หากต้องรับน้ำหนักมากเกินไป
น้ำหนักของเป้
พ่อแม่ผู้ปกครองควรแนะนำให้เด็กจัดกระเป๋าทุกวัน และควรจัดกระเป๋าโดยใส่ของที่ต้องการใช้วันต่อวัน เพื่อป้องกันมิให้เด็กแบกน้ำหนักมากเกินไป เมื่อใส่ของลงไปแล้วไม่ควรมีน้ำหนักเกิน 10- 12 % ของน้ำหนักตัวเด็ก
นอกจากนี้ควรจัดสิ่งของต่างๆ ให้น้ำหนักกระจายอย่างสม่ำเสมอตามสายสะพายทั้งสองข้าง อย่าให้ข้างใดข้างหนึ่งหนักเกินไป ในการจัดของลงในเป้นั้น ถ้าเป็นหนังสือที่มีน้ำหนักมาก ควรใส่ลงให้แนบชิดบริเวณหลังและไหล่ของเด็ก ของที่มีน้ำหนักเบาๆ เช่น สมุดหรือกล่องดินสอควรใส่บริเวณด้านหน้าของเป้ ตามรูปที่ 1
การฝึกการยืน การฝึกการยืนจะช่วยให้ร่างกายของเด็กรับน้ำหนักได้ดีขึ้น วิธีการคือ แยกปลายเท้าออกจากกันเล็กน้อย ปล่อยเข่าตามสบายไม่เกร็ง และลำตัวตั้งตรง (รูปที่ 2) พ่อแม่ผู้ปกครอง หรือครูควรฝึกการยืนร่วมกันกับเด็ก เพื่อให้เด็กเข้าใจและสามารถนำไปปฎิบัติได้จริง
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)