แพทยสภาออกประกาศข้อบังคับว่าด้วยเกณฑ์การรักษาเพื่อแปลงเพศ จากเพศชายให้เป็นเพศหญิง เพื่อคุ้มครองความปลอภัยให้แก่ประชาชน ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี แต่ยังไม่ถึง 20 ปี ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครองร่วมด้วย
ผู้สื่อข่าว"มติชนออนไลน์"รายงานเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2552 ว่า นพ. สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ได้ออกประกาศข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม เรื่อง เกณฑ์การรักษาเพื่อแปลงเพศ พ.ศ. 2552 ราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม2552 กำหนดหลักเกณฑ์ในการแปลงเพศชายให้เป็นเพศหญิง เพื่อคุ้มครองความปลอภัยให้แก่ประชาชน มีสาระสำคัญดังต่อไป
เนื่องจากปัจจุบันมีการรักษาด้วยการแปลงเพศอย่างถาวรจำนวนมาก โดยที่ยังไม่มีเกณฑ์มาตรฐานและข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนในการให้การรักษา ดังนั้นเพื่อเป็นการคุ้มครองให้เกิดความปลอดภัยแก่ประชาชนผู้มีความประสงค์ต้องการแปลงเพศ แพทยสภาในฐานะองค์กรวิชาชีพที่ควบคุมดูแลมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรมจึงกำหนดข้อบังคับนี้
1. ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
การรักษาเพื่อแปลงเพศ หมายความว่า การรักษาโรคหรือภาวะผิดปกติทางจิตเวช โดยวิธีการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนเพศชายให้เป็นเพศหญิงหรือเปลี่ยนเพศหญิงให้เป็นเพศชาย ทั้งนี้ให้รวมถึงการผ่าตัดหรือการรักษาด้วยวิธีการอื่น ที่หวังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสรีระของร่างกายหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศอย่างถาวร เช่น การตัดอัณฑะออกทั้งหมด เป็นต้น
“จิตแพทย์” หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้รับวุฒิบัตร หรือหนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขา จิตเวชศาสตร์ หรือ จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น จากแพทยสภา
“ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่มีสิทธิกระทำการผ่าตัดศัลยกรรมแปลงเพศ” ได้แก่ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ผ่านการอบรมหลักสูตร หรือแสดงให้เห็นได้ว่ามีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการทำศัลยกรรมแปลงเพศ โดยได้รับการรับรองจากแพทยสภา
“แพทย์ด้านต่อมไร้ท่อ” หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้รับวุฒิบัตร หรือหนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขา อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม กุมารเวชศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม และสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยาจากแพทยสภา
2.การทำศัลยกรรมแปลงเพศตามข้อบังคับนี้จะกระทำได้ใน
(1. )ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี แต่ยังไม่ถึง 20 ปี ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครองร่วมด้วย
(2 )ผู้ป่วยที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
3.ในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะทำการศัลยกรรมแปลงเพศเพื่อรักษาผู้ที่มีพฤติกรรมสับสนในเพศตนเองและต้องการทำศัลยกรรมแปลงเพศ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และขั้นตอน ตามประกาศแนวทางปฏิบัติของแพทยสภา โดยต้องผ่านการประเมิน และได้รับการรับรองจากจิตแพทย์จำนวนสองท่าน ว่ามีข้อบ่งชี้ที่จะต้องทำการผ่าตัด
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)