เคยรู้หรือไม่ "ชานม" ที่เราดื่มทุกวัน หลายยี่ห้ออุดมไปด้วยกรดไขมันทรานส์ ซึ่งส่งผลร้ายไม่แพ้ไขมันอิ่มตัว แถมยังมีน้ำตาลสูงมาก
"ชานม" ไม่ว่าจะเป็นแบบร้อนหรือเย็น ล้วนให้รสชาติหวานหอมชวนดื่ม โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนแบบนี้ แต่เพื่อการดื่มอย่างสบายใจในความปลอดภัย จึงนำชานมสำเร็จรูป ทั้งชนิดผงและขวดพร้อมดื่ม ส่งเข้าห้องทดลองเพื่อทดสอบว่า ชานมเหล่านี้มีความเสี่ยงในเรื่อง "ไขมัน" หรือไม่ โดยเฉพาะ "ไขมันทรานส์" ที่ร้ายกาจไม่แพ้ไขมันอิ่มตัว และน้ำตาล
ยี่ห้อแบบซองที่เรานำมาตรวจสอบ ได้แก่ ซุปเปอร์ ชานมสำเร็จรูป, ลิปตันมิลค์ที รสต้นตำรับไทย และลิปตันมิลค์ที รสวานิลา ส่วนยี่ห้อแบบพร้อมดื่ม ได้แก่ ไอวี่ ชาเย็นสูตรโบราณ, ยูนิฟ บาเลย์ ชานมและข้าวบาร์เลย์, มะลิ ชาไทยผสมนม และนะมาชะ กรีนลาเต้
ผลการทดสอบพบว่า 4 ผลิตภัณฑ์ชานม มี "กรดไขมันทรานส์" อยู่มากกว่ายี่ห้ออื่น ได้แก่ ชานมลิปตันมิลค์ที รสวานิลา, รสต้นตำรับไทย, ซุปเปอร์ ชานมสำเร็จรูป, และมะลิ ชาไทยผสมนม โดยพบว่า ลิปตันมิลค์ที รสวานิลามีปริมาณกรดไขมันทรานส์ 0.36 กรัมต่อ 100 กรัม รองลงมาคือ รสต้นตำรับไทย 0.28 กรัมต่อ 100 กรัม ซึ่งคาดว่ามาจากส่วนประกอบที่มีครีมเทียมผสมอยู่ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณ "ไขมัน" อื่มตัวสูง ได้แก่ ซุปเปอร์ ชานมสำเร็จรูป ที่มีอยู่ 6.1 กรัมต่อ 100 กรัม
แต่เนื่องจากเราคงดื่มชาในแต่ละครั้ง ไม่ถึง 100 กรัม เราจึงลองคำนวนหากรดไขมันทรานส์ และไขมันอิ่มตัว จากขนาด 1 ซองเป็นตัวตั้ง ซึ่งได้ข้อมูล ดังนี้
- ปริมาณไขมันอิ่มตัว เมื่อเทียบต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
1. ซุปเปอร์ ชานมปรุงสำเร็จ 1 ซอง = 17 กรัม มีกรดไขมันอิ่มตัว 1 กรัม
2. ลิปตันมิลค์ที รสวานิลา 1 ซอง = 20 กรัม มีกรดไขมันอิ่มตัว 0.9 กรัม
- ปริมาณกรดไขมันทรานส์ เมื่อเทียบต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
1. ลิปตันมิลค์ที รสวานิลา 1 ซอง = 20 กรัม มีกรดไขมันทรานส์ 0.07 กรัม
2. ลิปตันมิลค์ที รสต้นตำรับไทย 1 ซอง = 15 กรัม มีกรดไขมันทรานส์ 0.04 กรัม
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า การดื่มชานม 1 แก้วจะไม่มีความเสี่ยงในเรื่องของไขมัน อย่างไรก็ตาม เราจำเป็นต้องระวังน้ำตาลและความหวาน ซึ่งมีปริมาณมากพอสมควร
ส่วนชานมชนิดพร้อมดื่มนั้น ยังไม่เข้าข่ายเสี่ยงในเรื่องปริมาณไขมันเช่นกัน หลายยี่ห้อตรวจไม่พบไขมันทรานส์ด้วยซ้ำไป แต่พบว่ามีปริมาณน้ำตาลสูง บางยี่ห้อหวานเกินไป เช่น ไอวี่ ชาเย็นสูตรโบราณ ที่มีน้ำตาลสูงถึง 13.9 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ถ้าดื่มเพียง 1 กล่องจะได้รับน้ำตาลเข้าไปถึง 25 กรัม หรือ 6 ช้อนชา (ซึ่งเป็นปริมาณใกล้เคียงกับน้ำตาลในน้ำอัดลม 1 กระป๋อง)
- ปริมาณน้ำตาล เมื่อเทียบกับหนึ่งหน่วยบริโภค
1. ไอวี่ 1 กล่อง = 180 มิลลิลิตร มีน้ำตาล 25 กรัม
ลิปตันมิลค์ที รสวานิลา 1 ซอง = 20 กรัม มีน้ำตาล 10 กรัม (20 กรัมเมื่อทำเป็นชาเย็น)
ลิปตันมิลค์ที รสต้นตำรับไทย 1 ซอง = 15 กรัม มีน้ำตาล 9 กรัม ( 18 กรัมเมื่อทำเป็นชาเย็น)
กรดไขมันทรานส์คืออะไร?
"กรดไขมันทรานส์" (Trans Fatty Acid) เป็นกรดไขมันที่เกิดจากกระบวนการเติมไฮโดรเจนลงในน้ำมัน ที่ประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ทำให้น้ำมันที่อยู่ในสภาพของเหลว เปลี่ยนเป็นไขมันสภาพกึ่งของเหลว มักพบในอุตสาหกรรมเนยเทียม (มาการีน) เนยขาว หรือครีมเทียม เป็นต้น
จากการศึกษาพบว่า กรดไขมันทรานส์ส่งผลร้ายต่อร่างกายเช่นเดียวกับกรดไขมันอิ่มตัว คือจะช่วยให้ไขมันไม่ดีชนิดอื่นเพิ่มมากขึ้นในร่างกาย และลดปริมาณไขมันชนิดดีในร่างกายลง ทำให้หลอดเลือดอักเสบและตีบตัน กลายเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้น ประเทศที่นิยมรับประทานอาหารที่เสียงต่อไขมันประเภทนี้ จึงออกประกาศให้ผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหมด ระบุปริมาณไขมันทรานส์บนฉลาก
อาหารที่เสียงมากและต้องระมังระวัง คือ อาหารที่มีปริมาณกรดไขมันทรานส์มากกว่า 0.7 กรัมต่อมื้อ หรือมีไขมันอิ่มตัวกับกรดไขมันทรานส์มากกว่า 4 กรัมต่อมื้อ ทั้งนี้ อาหารที่นิยมในบ้านเราก็มีกรดไขมันทรานส์มากเช่นกัน เช่น พวกขนมเบเกอร์รี่ ที่มีมาการีนเป็นส่วนประกอบ เช่น คุ้กกี้หรือพาย หรืออาหารประเภทอื่นๆ เช่น โรตี โดนัท แฮมเบอร์เกอร์
ดื่มชาเพียวๆ ดีกว่าดื่มชานม จริงหรือ?
มีงานวิจัยที่ระบุว่า ชาที่ถูกเติมนม คุณประโยชน์ของชาจะหายไป เพราะนมจะไปหยุดยั้งสารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายทันที ที่ผสมกับเข้ากับน้ำชา นักวิจัยทดลองพบว่า โปรตีนในน้ำนมจะจับกับสารประกอบ ที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจและอนุมูลอิสระต่างๆ ในน้ำชา ทำให้ไม่สามารถส่งผลดีต่อร่างกายได้ ดังนั้น หากต้องการรับประโยชน์จากการดื่มชา จึงควรดื่มชาแท้ๆ ไม่ผสมนม
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)