ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

ความก้าวหน้าของกฎหมายไทย....พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความผู้บริโภค 2551

by twoseadj @August,20 2008 20.07 ( IP : 117...219 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 250x177 pixel , 15,438 bytes.

บทความ โดย นายชัยรัตน์ จุมวงษ์ กรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สภาทนายความ
อนุกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฯ(สคบ.) สำนักนายกรัฐมนตรี ระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความผู้บริโภค 2551

                    ในวันที่ 23 สิงหาคม 2551 นี้ ได้มีความก้าวหน้าในกระบวนการยุติกรรมในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ปรากฎขึ้นมาใหม่อีกครั้ง นั่นก็คือได้มีการประกาศใช้บังคับ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความผู้บริโภค พ.ศ.2551
ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการผลิตสินค้าและบริการมากขึ้น คุณภาพของสินค้าและบริการ ตลอดจนเทคนิคทางการตลาดของผู้ประกอบธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงไปอยู่เรื่อยๆ ทำให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ จนเกิดข้อพิพาทขึ้นมากมาย กระบวนการเรียกร้องค่าเสียหายต้องใช้เวลานานและยุ่งยาก ดังนั้นจึงเป็นการสมควรให้มีระบบวิธีพิจารณาคดีที่เอื้อต่อการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้บริโภค และขณะเดียวกันจะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ พร้อมหันมาพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น
กฎหมายฉบับนี้ เป็นกฎหมายในส่วนแพ่ง โดยเป็นกฎหมายเพื่อการเยียวยาด้วยความรวดเร็วให้แก่ผู้บริโภค มีบุคลากรของศาลช่วยดำเนินการของคดีให้แก่ศาลรวมอยู่ด้วย และเน้นการเจรจาไกล่เกลี่ยเป็นหลัก ก่อนเข้าสู่กระบวนการสืบพยานโจทก์และจำเลย ดังนั้นคดีผู้บริโภค จำนวนมากจะยุติลง หรือจบลงด้วยการเจรจาไกล่เกลี่ยอย่างแน่นอน (ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) สำนักนายกรัฐมนตรี ก็ใช้วิธีการไกล่เกลี่ยเป็นหลักเช่นกัน และสามารถยุติลงได้จำนวนมาก)
กรณีที่มีปัญหาว่าคดีใดเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ ศาลอุทธรณ์จะเป็นผู้วินิจฉัย และคำวินิจฉัยที่ให้เป็นที่สุด
ในเรื่องอายุความนั้น ขึ้นอยู่กับความเสียหายที่เกิดขึ้น และข้อเท็จจริงบางอย่าง เช่น ถ้าเป็นความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรือ อนามัย อายุความใช้สิทธิเรียกร้องจะเป็นภายใน 3 ปี หรือ 10 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย นอกจากนี้ หากมีการเจรจาเกี่ยวกับค่าเสียหายต่อกับอายุความจะสะดุดหยุดอยู่ไม่เคลื่อนในขณะนั้นเป็นต้น
กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องการฟ้องผู้บริโภคนั้น กฎหมายกำหนดให้ฟ้องได้เฉพาะผู้บริโภคเท่านั้น ที่สำคัญอย่างยิ่ง การฟ้องคดีผู้บริโภค โจทก์จะฟ้องด้วยวาจา หรือเป็นหนังสือก็ได้ โดยจะมีเจ้าพนักงานคดีทำการบันทึกรายละเอียดคำฟ้องให้
และถ้าเป็นประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการผลิต การประกอบ การออกแบบ หรือส่วนผสมของสินค้า การให้บริการ หรือการดำเนินการใดๆ ภาระการพิสูจน์ในประเด็นเหล่านี้ จะตกแก่ผู้ประกอบธุรกิจ
หากเป็นกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีผู้บริโภคใดแล้วต่อมาภายหลังปรากฏว่ามีการฟ้องกับผู้ประกอบธุรกิจรายเดียวกันอีกโดยมีข้อเท็จจริงที่พิพากษาเป็นอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ศาลในคดีหลังอาจมีคำสั่งให้ถือว่าข้อเท็จจริงในประเด็นเป็นอันยุติไม่ต้องสืบพยานหลักฐานใหม่
นี่เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นของกฎหมายฉบับนี้ อย่างไรก็ตามถือว่ากระบวนการเรียกร้องของผู้บริโภคเริ่มมีการพัฒนามามาก ที่มาhttp://www.consumerthai.org/cms/index

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง