ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

จุฬาฯ แถลงพบหญิงผู้ป่วยเฝ้าระวัง “หวัดจังโก” วัย 42 ปี ลุ้นผลแล็บคืนนี้

by twoseadj @April,28 2009 18.31 ( IP : 114...229 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 460x276 pixel , 24,738 bytes.

รพ.จุฬาฯ แถลง พบตัวหญิงวัย 42 ปี เข้าข่ายเฝ้าระวัง “หวัดเม็กซิโก” ลุ้นผลตรวจจากห้องปฏิบัติการคืนนี้ เผย เดินทางกลับจากเมืองจังโก และสหรัฐอเมริกา ก่อนพำนักในไทย และไปสิงคโปร์ ระบุ ยังเดินเหินได้ตามปกติ แต่มีไข้สูง แพทย์ยันยารักษามีเพียงพอ

เมื่อเวลา 16.00 น.ที่ รพ.จุฬาลงกรณ์ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยาคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แถลงข่าวความคืบหน้าพบผู้เข้าข่ายเฝ้าระวังว่าอาจจะติดเชื้อไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ ที่ระบาดอยู่ในประเทศเม็กซิโก ว่า กรณีที่มีข่าวออกไปว่า มีผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดเม็กซิโก ที่ รพ.จุฬาฯ ขอทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า มีพลเมืองดีแจ้งว่ามีหญิงสาวอายุ 42 ปี เดินทางกลับจากประเทศเม็กซิโกได้ 7 วัน โดยหญิงคนดังกล่าว เดินทางไปเม็กซิโกตั้งแต่วันที่ 3-11 เม.ย.และเดินทางไปพำนักอยู่ที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ช่วงวันที่ 11-19 เม.ย.และกลับมาอาศัยในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 19-21 เม.ย.จากนั้น เดินทางไปประเทศสิงคโปร์ วันที่ 22-25 เม.ย.
      หญิงสาวคนดังกล่าวมีอาการไข้ตั้งแต่วันที่ 23 เม.ย.จากนั้นอาการดีขึ้น และกลับมาเป็นไข้อีกวันที่ 26 เม.ย.จึงเข้ารับการตรวจที่ รพ.จุฬาฯ ในวันนี้ โดยไม่มีอาการรุนแรง แต่มีอาการเหมือนอาการไข้หวัดใหญ่ จึงขอกักตัวดูอาการไว้ก่อน ว่า จะเป็น FLU A สายพันธุ์ใหม่ หรือ ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก หรือไม่ ผลการตรวจจะออกจากห้องปฏิบัติการภายในคืนนี้ โดยได้เข้าตรวจในห้องปฏิบัติการในช่วงกลางวันที่ผ่านมา ซึ่งต้องใช้เวลา 4-6 ชั่วโมงจึงจะทราบผล อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยรายนี้ไม่มีอาการรุนแรง เดินเหินได้ปกติ แต่ที่ต้องกักตัวการตรวจวินิจฉัยของโรค เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค
      ศ.นพ.ยง กล่าวอีกว่า ในเรื่องวัคซีนป้องกัน ขณะนี้มีเพียงวัคซีนที่ป้องกัน H1N1 และ H3N2 ซึ่งเป็นไข้หวัดตามฤดูกาล และวัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่สามารถใช้ฉีดป้องกันหวัดเม็กซิโกได้ ซึ่งไข้หวัดตามฤดูกาลนั้นในเมืองไทยพบมากช่วงต้นฤดูฝนไปจนหมดฤดูหนาว ในขณะที่ต่างประเทศจะพบมากในฤดูหนาว ไข้หวัดธรรมดาส่วนใหญ่เชื้อโรคจะถูกทำลายโดยแสงแดดและยูวี แต่ไข้หวัดเม็กซิโกสามารถทนความร้อนได้ 60 องศาเซลเซียส แต่ไข้หวัดใหญ่ธรรมดาและไข้หวัดใหญ่เม็กซิโกอาการคล้ายกันมาก แยกกันไม่ออก ส่วนขณะนี้ยาที่ใช้รักษา คือ ทามิฟลู ได้สำรองไว้ จำนวน 3 ล้านแคปซูล และสามารถผลิตได้ทันที 1 ล้านแคปซูล ประชาชนไม่ต้องห่วงเรื่องยารักษา แต่เรื่องวัคซีนป้องกันต้องใช้เวลาอีก 6 เดือน และขอให้ประชาชนที่สงสัยว่าตนเองมีอาการหวัด รีบเข้าตรวจ และรับคำแนะนำจากแพทย์ทันที
      วันเดียวกัน รศ.นพ.ธีระพงศ์ เจริญวิทย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ฝ่ายบริหาร เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางโรงพยาบาลได้รับตัวผู้สงสัยป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่แพร่ระบาดในเม็กซิโกไว้ 1 ราย เป็นหญิงอายุ 42 ปี เป็นบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเดินทางปฏิบัติราชการที่ประเทศเม็กซิโก ระหว่างวันที่ 3-11 เมษายนที่ผ่านมา หลังกลับประเทศไทยมีไข้ต่ำในวันที่ 23 เมษายน จากนั้นกลับมามีไข้ต่ำอีกครั้งในวันที่ 26 เมษายน และวันนี้ (28 เม.ย.) เดินทางมารับการตรวจที่โรงพยาบาลด้วยไข้สูงถึง 37 องศาเซลเซียส แพทย์จึงรับตัวไว้ดูอาการ เนื่องจากสงสัยว่าอาจมีอาการติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก จึงต้องมีการตรวจอีกครั้งว่าเข้าเกณฑ์ป่วยด้วยโรคดังกล่าวหรือไม่ หลังจากนั้นจะรายงานตามระบบให้กระทรวงสาธารณสุขรับทราบอีกครั้ง
      รศ.นพ.ธีระพงศ์ กล่าวถึงช่วงเวลาการเดินทางของผู้สงสัยป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ดังกล่าวว่า ระหว่างวันที่ 3-11 เมษายน 2552 อยู่ทีเม็กซิโก วันที่ 11-19 เมษายน อยู่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา วันที่ 19-21 เมษายน อยู่ที่ประเทศไทย และวันที่ 22-25 เมษายน อยู่ที่สิงคโปร์ ซึ่งผู้ป่วยเริ่มมีอาการไข้สูงเมื่อวันที่ 23 เมษายน และไข้ลดลงด้วยการทานยาเอง และเมื่อวันที่ 26 เมษายนมีไข้ต่ำประกอบกับมีข่าวไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่แพร่ระบาดในเม็กซิโก จึงเดินทางมาพบแพทย์ด้วยตัวเอง เบื้องต้นนอกจากแพทย์จะแยกคนไข้ไว้ในสถานที่เตรียมไว้แล้ว ยังได้ประสานไปยังเครือญาติที่คนไข้ได้สัมผัส หรือมีปฏิสัมพันธ์เพื่อเฝ้าระวังต่อไป

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง