ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

PL Law ถึงเวลาผู้บริโภคเอาคืนหรือยัง?

by twoseadj @April,26 2009 17.44 ( IP : 222...252 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 400x275 pixel , 37,205 bytes.

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552” จะเป็นหนึ่งในวันสำคัญของผู้บริโภคทุกคน หลังจากการเดินทางอย่างยาวนานกว่า 10 ปี ของกฎหมายฉบับใหม่ ในชื่อของ พรบ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที ่ไม่ปลอดภัย หรือชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า PL law ซึ่งจะคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคมากขึ้น ตามเจตนารมย์ของกฎหมาย และจากการรับรู้ในฐานะผู้บริโภคหลายคนอาจจะนึกว่า นี่คือกฎหมายที่จะช่วยให้สิทธิของผู้บริโภคได้รับการ คุ้มครองอย่างเต็มที่ เหมือนในต่างประเทศที่มีกฎหมายลักษณะนี้ใช้บังคับ ความจริงเป็นเช่นไร?

“ผู้จัดการมอเตอริ่ง” มีโอกาสเข้าร่วมงานสัมมนา “ความรู้กฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจ ากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย” ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และรถจักรยานยน ต์ไทย ร่วมกับบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด

ธีรวัฒน์ จันทรสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและคดี สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)  งานนี้มีวิทยากรมาอบรมให้ความรู้และตอบคำถาม 2 ท่านคือ ธีรวัฒน์ จันทรสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและคดี สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และ ชัยปิติ ม่วงกูล ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด

การบรรยายด้วยเรื่องที่มาของพรบ. ฉบับนี้ การบังใช้และการตอบคำถามสื่อมวลชน แต่ด้วยเวลาที่จำกัดทำให้เนื้อหาอาจจะไม่ครอบคลุมทุก แง่มุมของกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งผู้จัดการมอเตอริ่ง ขอรวบรวมเฉพาะประเด็นสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับรถยนต์เ ป็นหลักมานำเสนอดังต่อไปนี้

จุดกำเนิด

กฎหมายฉบับนี้ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจ ากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551” (ต่อไปนี้จะขอให้ชื่อย่อว่า พรบ.สินค้าไม่ปลอดภัย) มีที่มาจากการที่สคบ. รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับรถยนต์เป็นจำนวนมาก ทว่ากลับประสบปัญหาในทางปฏิบัติ เมื่อกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน กำหนดให้การพิสูจน์ต่างๆ เป็นหน้าที่ของผู้ฟ้องร้อง นั่นก็คือผู้บริโภค

ซึ่ง ในความจริง ผู้บริโภค จะไปพิสูจน์ได้อย่างไรว่า รถที่ตนเองซื้อมานั้น มีความไม่ปลอดภัย เพราะองค์ความรู้ต่างๆ ถูกปิดกั้นจากผู้ผลิต (แน่นอนว่าหากเปิดเผยออกมาคู่แข่งจะยิ้มแก้มปริทันที และใครจะยอมเปิดเผย ข้อมูลเพื่อให้เขามาฟ้องร้องตัวเอง จริงไหมครับ) ประกอบกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปมากทำให้การพิสูจน์จ ะต้องใช้ผู้ชำนาญการ เฉพาะด้าน ฉะนั้น จึงเป็นที่มาของการเกิดขึ้นของ พรบ.สินค้าที่ไม่ปลอดภัย ฉบับนี้

โดยความมุ่งหวังให้ การพิสูจน์ตัวสินค้าว่าเป็นสินค้าไม่ปลอดภัย ตกเป็นของผู้ผลิตแทนผู้บริโภค รวมถึงลดขั้นตอนต่างๆ ในด้านการฟ้องร้องให้เหลือน้อยที่สุด เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค (รายระเอียดจะนำเสนอในลำดับต่อไป)

สำหรับ ความคลอบคลุมของพรบ.นี้จะรวมถึงสินค้าทุกชนิดที่เป็น สังหาริมทรัพย์(ของที่ เคลื่อนที่ได้) ไม่ว่าจะเป็นของใช้หรือของกิน เช่น โทรศัพท์มือถือ, นมกล่อง, ปากกา,ยา ,เครื่องมือแพทย์ ฯลฯ แต่จะไม่คลอบคลุมอสังหาริมทรัพย์จำพวกตึก บ้าน หรือคอนโดมิเนียม

เงื่อนไขการเข้าองค์ประกอบที่จะใช้กฎหมายนี้

สำหรับเงื่อนไข ที่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถฟ้องร้อง “ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า” สินค้าได้จะต้องมีองค์ประกอบหลักครบตามเงื่อนไข 2 ประการคร่าวๆ คือ

1.ได้รับความเสียหายจริงกับบุคคล จากการใช้สินค้าชนิดนั้นๆ เช่น นาย ก. ขับรถชนแล้วถุงลมนิรภัยไม่ทำงาน ได้รับบาดเจ็บที่หน้าอก เช่นนี้จึงจะเข้าข่ายสามารถใช้สิทธิตามพรบ.สินค้าไม่ ปลอดภัยได้ แต่หากกรณี เป็นความรู้สึกว่า ไม่ปลอดภัย จะไม่เข้าเงื่อนไขของพรบ.นี้ เนื่องจากยังไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นกับบุคคล

2.ต้องพิสูจน์เบื้องต้นได้ว่า เป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย และได้ใช้งานตามปกติวิสัย เช่นกรณีขับรถชนแล้วถุงลมนิรภัย ไม่ทำงาน ก็จะต้องเตรียมหลักฐานอย่าง ภาพถ่ายของรถที่ชนหรือพยานที่สามารถบอกพิสูจน์เบื้อง ต้นได้ว่า ถุงลมไม่ทำงาน เข้าข่ายการเป็น สินค้าที่ไม่ปลอดภัย

ส่วน กรณีสินค้าที่ซื้อมีปัญหา หรือไม่ถูกใจ ไม่ชอบ ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆ เช่น กระจกหล่น แอร์เหม็นหรือเบรกไม่อยู่เมื่อขับด้วยความเร็ว (คือผู้ขับขี่ยังไม่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียหายอะไร) จะไม่เข้าเงื่อนไขของพรบ.นี้ ต้องไปฟ้องร้องกันตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เช่นเดิม

นั่นคือ หลักเงื่อนไขสำคัญของการใช้ พรบ.สินค้าที่ไม่ปลอดภัย หากไม่ครบองค์ประกอบ ก็จะไม่สามารถฟ้องร้องตามพรบ.นี้ได้ ทั้งนี้กว่าจะเข้าถึงส่วนของการฟ้องร้องดำเนินคดีจริ ง หลังจากผู้บริโภคเข้าไปร้องทุกข์ จะต้องผ่านด่านอีกสองด่านก่อนคือ 1. คณะกรรมการไกล่เกลี่ย ซึ่งถ้าไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ เรื่องก็จะส่งต่อไป หน่วยงานพิสูจน์ (ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นใหม่ตามพรบ.นี้ โดยหลักเพื่อความเป็นกลางในการพิสูจน์) เพื่อยืนยันว่าสินค้านั้นมีความไม่ปลอดภัยจริง (กระบวนการนี้เรียบเรียงขึ้นตามความเข้าใจของผู้เขีย นจากการฟังสัมมนานี้ ขณะที่ในทางปฏิบัติจริงจะเป็นอย่างไรนั้นคงต้องรอให้ พรบ.มีผลบังคังใช้)

ในส่วนของหน่วยงานพิเศษนี้ ตามความเห็นของผู้เขียนยังเป็นข้อถกเถียงถึงความเป็น กลางและองค์ความรู้ว่า จะรู้จริงมากน้อยเพียงไร เนื่องจากยังไม่ได้ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ และที่สำคัญข้อชี้ขาดของหน่วยงานนี้ ตามคำบอกของผู้บรรยาย ให้ถือว่า เป็นที่สิ้นสุดผู้บริโภคต้องยอมรับ เพราะหากไม่ยอมรับก็อาจจะไม่มีผลอะไรเกิดขึ้น (ถือว่าเป็นช่องว่างหนึ่งของพรบ.ฉบับนี้ที่ไม่มีผลบั งคับให้ผู้บริโภคต้อง ยอมรับแต่ก็เป็นข้อดีสำหรับผู้บริโภคหากการพิสูจน์ไม ่เป็นกลาง)

ข้อยกเว้น ที่ไม่ต้องรับผิด

นอกจากการให้สิทธิผู้บริโภคฟ้องร้องแล้ว แต่ก็มีการบัญญัติเกี่ยวกับข้อยกเว้นให้ผู้ผลิตหรือผ ู้นำเข้าไม่ต้องรับผิดด้วยภายใต้เงื่อนไข

  1. สินค้านั้นมิได้เป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย หมายความว่า สินค้านั้นปลอดภัย ซึ่งจะผ่านการพิสูจน์ 2 ขั้นตอนคือ เบื้องต้นโดยหน่วยงานกลางที่จะตั้งขึ้นมาดังที่ได้กล ่าวมาแล้ว(หากชี้ว่าไม่ ปลอดภัยจึงจะเข้าสู่กระบวนการของศาล) และเมื่อคดีเข้าสู่ศาลก็จะพิสูจน์โดย “ผู้ผลิตเอง” ตามเจตนารมณ์ของการเกิดขึ้นของพรบ.สินค้าที่ไม่ปลอดภ ัยนี้ ซึ่งในที่สุดศาลจะเป็นผู้ตัดสินว่า สินค้านั้นมีความปลอดภัยหรือไม่

  2. ผู้เสียหายได้รู้อยู่แล้วว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ ไม่ปลอดภัย หมายความว่า ผู้บริโภครู้แล้วว่าสินค้าไม่ปลอดภัยแต่ยังใช้ต่อไป ข้อนี้เป็นข้อต่อสู้ของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า เช่น กรณีหากเราขับรถยนต์ไปแล้วเกิดระบบเบรกมีปัญหา และได้จอดเพื่อแจ้งเหตุดังกล่าวกับผู้ผลิตแล้ว แต่กลับห่วงรถฝืนขับรถกลับบ้านแล้วกลับเกิดอุบัติเหต ุ เช่นนี้ถือว่า ผู้เสียหายรู้แล้วและยินดีเสี่ยงภัยเอง ผู้ผลิตไม่ต้องรับผิด

ส่วนประเด็นที่ว่า หากเกิดเหตุดังกล่าวจะต้องทำอย่างไร วิทยากรทั้ง 2 ท่านไม่ได้ตอบในประเด็นนี้ และยังเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการจะต้องประชุมเพื่อหา รือและกำหนดวิธีการ จัดการกับเหตุลักษณะดังกล่าวต่อไปอีกในอนาคต

  1. ความ เสียหายเกิดขึ้นจากการใช้หรือการเก็บรักษาสินค้าไม่ถ ูกต้องตามวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือน หรือข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ผู้ประกอบการได้กำหนดไว ้อย่างถูกต้องและชัดเจน ตามสมควรแล้ว หมายความว่า หากผู้บริโภคไม่ปฏิบัติตามคู่มือ หรือใช้ไปในทางผิดปกตินอกเหนือจากที่มีการระบุไว้หรื อฝ่าฝืนคำเตือน ผู้ผลิตสามารถยกขึ้นเป็นข้ออ้างสำหรับการไม่ต้องรับผ ิดได้ การพิสูจน์

นี่คือประเด็นสำคัญของพรบ.สินค้าที่ไม่ปลอดภัย โดยระบุให้การพิสูจน์ตัวสินค้าว่า ปลอดภัยหรือไม่ ซึ่งเดิมเป็นหน้าที่ของผู้บริโภค กลายเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการ อันหมายความรวมถึง ผู้ผลิตหรือผู้ว่าจ้างให้ผลิต, ผู้นำเข้า, ผู้ขายสินค้าที่ไม่สามารถระบุตัวผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิตหรือผู้นำเข้าได้และ ผู้ซึ่งใช้ชื่อ ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายข้อความหรือแสดงด้วยวิธีใดๆ อันมีลักษณะที่จะทำให้เกิดความเข้าใจได้ว่าเป็นผู้ผล ิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้า

หากกรณีเป็น ผู้ที่ขายสินค้ามือสอง หากระบุผู้ผลิตได้ก็ไม่ต้องรับผิด แต่หากระบุไม่ได้อาจจะเข้าข่ายต้องรับผิด

สำหรับการพิสูจน์ ดังที่ได้กล่าวไปบ้างแล้ว เบื้องต้นผู้บริโภคซึ่งเสียหาย จะต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ให้เห็นก่อนว่า ได้รับความเสียหายและสินค้านั้นไม่ปลอดภัย จากนั้นเมื่อศาลรับฟ้องแล้วจึงจะเป็นหน้าที่ของผู้ผล ิตหรือผู้นำเข้าในการ พิสูจน์ว่าสินค้านั้นปลอดภัยหรือไม่ ถือว่าเป็นข้อดีของพรบ.นี้ที่ช่วยลดภาระของผู้บริโภค ในการดำเนินคดี

การฟ้องคดี

พรบ.สินค้าที่ไม่ปลอดภัย กำหนดให้ คณะ กรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายแทนผู้บริโภคได้ หรือผู้บริโภคจะฟ้องเองโดยตรงกับศาล ก็สามารถกระทำได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในเบื้องต้น(ค่าฤชาธรรมเนียม) แต่หายสุดท้ายแล้วผู้บริโภคเป็นฝ่ายแพ้คดี ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายดังกล่าว

สำหรับการจะไปฟ้องเอง ผู้บริโภคต้องเตรียมข้อมูลและพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน ์เบื้องต้นดังที่เรา กล่าวไว้แล้วไปด้วย มิใช่แค่เดินไปตัวเปล่าแล้วจะฟ้องคดีได้ จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนไกล่เกลี่ยต่อไป

อายุความ

พรบ.สินค้าที่ไม่ปลอดภัย กำหนดอายุความฟ้องร้องไว้ไม่เกิน 3 ปีนับ ตั้งแต่เกิดความเสียหายและรู้ตัวผู้ประกอบการที่ต้อง รับผิด และไม่เกิน 10 ปีนับตั้งแต่มีการขายสินค้านั้น หมายถึงว่า หากเกิดความเสียหายขึ้นจะฟ้องได้ภายใน 3 ปีหลังเกิดความเสียหายและรู้ตัวผู้ผลิต ซึ่งหากไม่รู้ ก็มีเวลาหาตัวผู้รับผิดภายใน 10 ปีนับตั้งแต่ซื้อสินค้ามา

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง