ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

เดินหน้าเสริมศักยภาพ อปท. เทศบาลนครหาดใหญ่และเมืองสตูล

by twoseadj @August,09 2008 17.57 ( IP : 222...67 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

หลังจากได้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ถ่ายโอนภารกิจงานคุ้มครอง ผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใน ปี 2548 ที่ผ่านมา โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 8 แห่งที่ได้รับการถ่ายโอนกรอบภารกิจ 4 ประการ ประกอบด้วย

      1. การผลิตสื่อ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ         2. การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคทั้งด้านความรู้ในการบริโภค เรียกร้องสิทธิอันชอบธรรม
        3. การสร้างและขยายเครือข่ายการมีส่วนร่วมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของผู้บริโภคในท้องถิ่น       4. การตรวจสอบ ควบคุม กำกับ ผลิตภัณฑ์ อาหาร ยา เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง และ วัตถุอันตราย ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการถ่ายโอนภารกิจเฉพาะการตรวจสอบอาหาร ณ สถานที่จำหน่ายคำอธิบายภาพ


        การระดมความคิดเห็นครั้งนี้จัดโดยสถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(สวรส.มอ.ภาคใต้)  สาขาหาดใหญ่ใน  เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2551 ระหว่างเวลา09.00 -12.00 นน. โดยมี ผศ.ดร.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการ สวรส.ภาคใต้เป็นประธาน พร้อมด้วยตัวแทนผู้บริหารจากเทศบาลนครหาดใหญ่และเมืองสตูล เภสัชกรจากกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาและสตูล เภสัชกรจากด่านอาหารและยาสะเดา จังหวัดสงขลา สำหรับประเด็นหารือหลักๆ ของการประชุมครั้งนี้คือ การระดมความคิดเห็นถึงปัญหาอุปสรรคที่ท้องถิ่นประสบจากการถ่ายโอนภารกิจ ประเมินศักยภาพของหน่วยงานเกี่ยวข้องคือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาและสตูล การกำหนดทิศทางการดำเนินงานต่อไป ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ กล่าวว่า โครงการศึกษาควาสำเร็จของการถ่ายโอนภารกิจด้าน อย. แก่ อปท. มิใช่เป็นการจับผิด แต่เป็นการศึกษาถึงจุดอ่ออน จุดแข็ง อุปสรรค ความสำเร็จของภารกิจที่อปท.ได้รับถ่ายโอนมา ซึ่งจะมาร่วมกันเรียนรู้และร่วมกันออกแบบรูปแบบกระบวน(Model)การทำงานด้านงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตสุขภาพชุมชนด้วยกัน

คำอธิบายภาพ

            ** คุณพรรณี  บัวจีน นักวิชาการสาธารณสุข เทศบาลนครหาดใหญ่ **ได้เล่าประสบการณ์การทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิภัณฑ์สุขภาพ กรณีโครงการอาหารปลอดภัยว่า เทศบาลนครหาดใหญ่ได้รับมอบภารกิจจาก อย. ทั้ง 4 ภารกิจ แต่ก็สามารถปฏิบัติได้จริงคงจะเป็นเรื่องของการอบรมความรู้แก่กลุ่มนักเรียนจากโรงเรียนในเขตความรับผิดชอบของเทศบาล แต่บทบาทของนักเรียนเหล่านั้นในการช่วยปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนยังมีน้อย ส่วนการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพในสถานที่จำหน่ายนั้น มีกิจกรรมตรวจสอบฉลากอาหารที่จำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ และในตลาดสด

ปัญหาสำคัญคือ การประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบยังไม่ดีพอ เช่น หากจะออกตรวจในพื้นที่ก็จะประสานเมื่อเวลากระชั้นชิด ขาดการนำข้อมูลที่ตรวจสารปนเปื้อนในอาหารไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนแก้ปัญหา








คำอธิบายภาพ นายพงศ์วิทย์  ทองอ่อน หัวหน้าบริหารสาธารณสุข เทศบาลเมืองสตูล ร่วมแลกเปลี่ยน เพิ่มเติมว่า ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสตูลนั้น เน้นการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารส่วนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ยังไม่มีการวางแผนและดำเนินงาน โดยมอบให้ประชาสัมพันธ์เป็นผู้ดำเนินการ แต่ยังขาดการวางแผนร่วมกัน ส่วนใหญ่เป็นหนังสือสั่งการณ์ ขาดบุคลากรที่จะมาปฏิบัติงานและศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ในส่วนของบทบาท อสม.นั้น ถือว่ายังมีบทบาทต่อกิจกรรมดังกล่าวน้อย ยังต้องการเพิ่มศักยภาพของอสม.ในพื้นที่ให้เข้ามามีส่วนร่วม

                 











สำหรับประเด็นการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคสำหรับเทศบาล ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ กล่าวต่ออีกว่า ขณะนี้ทางสวรส.ภาคใต้ มีการพัฒนาบทบาทของท้องถิ่น โดยกำลังประสานกับทาง เทศบาลตำบลปริก อบต.ควนรู และ อบต.ท่าข้าม มาร่วมกันพัฒนาบทบาท อสม.เป็นกลไกเฝ้าระวังปัญหาผู้บริโภคในชุมชน สร้างศูนย์รับเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภค ซึ่งรูปแบบดังกล่าวน่าจะสามารถ พัฒนาให้เกิดขึ้นในเทศบาลเมืองสตูลและเทศบาลนครหาดใหญ่  ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละท้องที่ โดยเทศบาลนครหาดใหญ่หากวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาผู้บริโภคแล้ว กรณี สินค้าหนีภาษี น่าจะเป็นเรื่องที่ต้องพัฒนากลไกการคุ้มครองผู้บริโภคได้ เนื่องจากเป็นสินค้าที่นักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่นิยมบริโภคกัน


คำอธิบายภาพ นายสุรศักดิ์  รัตนพิสิฐ เภสัชกรประจำด่านอาหารและยาสะเดา จังหวัดสงขลา กล่าวถึงประเด็นสินค้าหนีภาษีว่ามีสาเหตุจากมาเลเซียกำหนดมาตรฐานด้านผลิตภัณฑ์แตกต่างกันกับประเทศไทย สารบางชนิดสามารถใช้ได้ในมาเลเซีย ขณะนี้มีคณะกรรมการชายแดนด้านสุขภาพฺ(BHC:Border health commity)ระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งมีการประชุมหารือกันบ่อยครั้งในเรื่องดังกล่าว














คำอธิบายภาพ นายนพภดล  อัครนพหงส์ เภสัชกร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา อ้างข้อมูลจากการวิจัยเรื่อง สารปนเปื้อนในผลไม้และขนมขบเคี้ยวหนีภาษีที่ตรวจพบในตลาดกิมหยง หาดใหญ่ว่า ส่วนใหญ่มีสารแซคคาริน(ขันฑสกร) เกินกว่ามาตรฐานกำหนดมาก เคยนำข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่ BHC แล้วแต่ก็ไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด

คุณพรรณี  บัวจีน กล่าวอีกว่า  กรณีของสินค้าหนีภาษีนั้นก็มีความน่าสนใจที่จะต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา แต่ต้องใช้อนวทางเชิงบวกมากกว่า มาตรการทางกฎหมายและที่สำคัญคือ ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้บริหารของเทศบาล โดยแนวทางของเทศบาล คือ การจะจัดตั้งจุดตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร และคงต้องร่วมกับทาง สวรส.คิดกลไกการเฝ้าระวังและกลไกการทำงานด้วย อันจะสามารถก่อให้เกิดความร่วมมือที่ดี ร่วมเรียนรู้

พร้อมกันนี้มีการประเมินศักยภาพของกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาและสตูล โดย ตัวแทนเจ้าหน้าที่ผู้เข้าร่วมการประชุมระดมความคิดเห็นเภสัชกรหญิง สุขมาลย์  พัฒนศิริ เภสัชกร 7 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล และนายนพภดล  อัครนพหงส์ เภสัชกร ผลปรากฏดังนี้

ไฟล์ประกอบเอกสาร
  1. consumer decentralization - ดาวน์โหลด

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง