ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

วิจัยพบสารสกัด “พญายอ” ทำลายเชื้อเริม งูสวัด ไม่มีผลข้างเคียง

by wanna @March,25 2009 17.05 ( IP : 118...167 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 200x254 pixel , 29,319 bytes.

วิจัยพบสารสกัด “ใบพญายอ” มีฤทธิ์ทำลายเชื้อโรคเริม งูสวัด ช่วยแผลตกสะเก็ด หายเร็ว ลดอาการปวด ไม่มีผลข้างเคียง เตรียมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ อภ.ผลิตขายทดแทนนำเข้าจากต่างประเทศ

        นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ทำการศึกษาวิจัยสมุนไพรพญายอ ตั้งแต่ พ.ศ.2535 โดยศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากใบเสลดพังพอน และใบพญายอต่อเชื้อโรคเริม ซึ่งเป็นไวรัสที่มีชื่อว่าเฮอร์ปีส์ ซิมเพลกซ์ ไวรัสชนิดที่ 2 หรือเอชเอสวี-2 เปรียบเทียบกับยามาตรฐานและกลุ่มควบคุม สารสกัดจากใบตำลึง พบว่าสารสกัดจากพญายอมีฤทธิ์ทำลายไวรัสเอชเอสวี-2ได้ แต่สารสกัดจากใบเสลดพังพอนและใบตำลึงไม่มีฤทธิ์ดังกล่าว
      “นอกจากนี้ ได้ทดลองทางคลินิกรักษาผู้ป่วยโรคเริมที่อวัยวะสืบพันธุ์ชนิดเอชเอสวี-2 ด้วยยาครีมที่พัฒนาจากสารสกัดจากใบพญายอ โดยทาบริเวณที่เป็นโรค พบว่าครีมพญายอมีประสิทธิภาพดี ทำให้แผลหายเร็วขึ้น ลดความเจ็บปวดได้ดี ครีมพญายอไม่ทำให้แสบระคายเคืองที่แผลพร้อมกันนี้ได้ทดลองทางคลินิกกับผู้ป่วย โรคงูสวัดจากเชื้อไวรัสวาริเซลล่า ซอสเตอร์ หรือวีแซดวีด้วยยาเดียวกัน พบว่าครีมพญายอ สามารถรักษาผู้ป่วยโรคงูสวัดได้ ทำให้แผลตกสะเก็ดหายเร็ว ลดอาการปวดได้ดี และไม่พบผลข้างเคียงใดๆ จากการใช้ครีมพญายอไม่ทำให้เกิดอาการแสบระคายเคืองทาแล้วรู้สึกเย็นสบาย”นพ.มานิตกล่าว
      นพ.มานิต กล่าวด้วยว่า กรมวิทยาสตร์ฯได้ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิต ครีมพญายอให้แก่องค์การเภสัชกรรมเพื่อผลิตออกจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนยารักษาโรคเริมและงูสวัดที่นำเข้าจากต่างประเทศ และยังมีโครงการวิจัยสมุนไพรพญายออย่างต่อเนื่อง เพื่อคัดเลือกส่วนสกัดจากพญายอที่บริสุทธิ์ที่มีฤทธิ์เพิ่มขึ้น และศึกษากลไกการออกฤทธิ์ของสารจากพญายอ เพื่อพัฒนาเป็นยาใช้ภายในต่อไป ซึ่งจะช่วยสนับสนุนส่งเสริมนโยบายการพึ่งพาตนเองด้านสาธารณสุขของประเทศ
      สำหรับสมุนไพรพญายอ หรือพญาปล้องทอง เป็นพืชที่หาได้ทั่วไป แพทย์พื้นบ้านใช้รักษาโรคผิวหนังจำพวกเริมและงูสวัด โดยใช้ใบสดประมาณ 1 กำมือ ตำผสมเหล้าใช้ทาบ่อยๆ หรือใช้ 2-10 ใบขยี้หรือตำให้แหลก นำมาทาหรือพอกแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ทั้งนี้ไม่สามารถใช้แก้พิษงูได้
ที่มา ผู้จัดการออนไลน์ 24 มีนาคม 2552 17:02 น.

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง